จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 192 : สู่ชีวิตวัยเกษียณ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-192

      

      อาจมีแนวโน้ม (Tempting) ที่จะโต้แย้งว่า ปัญหาสุขภาพและความสัมพันธ์ คงเกิดขึ้นอยู่แล้วไม่ว่าจะเกษียณจากการทำงานหรือไม่ ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal study) นักวิจัยพบผลกระทบในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อทั้งสุขภาพกาย (Physical) และสุขภาพจิต (Mental) ของการเกษียณอย่างไม่สมัครใจ (Involuntarily)

      ในการเปรียบเทียบ (Contrast) ผู้ทำงานที่สูงวัยมักเป็นส่วนเกิน (Redundant) และเมื่อโชคดีที่ได้กลับเข้ามาทำงานใหม่ (Re-employed) จะแสดงออกซึ่งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่า เขาได้ออกจากงานมานานแค่ไหน การค้นพบเหล่านี้ เป็นจริงแม้จะมีการควบคุมตัวแปรของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ก่อนหน้านี้

      นักวิจัยศึกษาตัวอย่างของชาวออสเตรเลียที่เกษียณแล้ว พบว่าในบรรดาปัจจัยที่เป็นไปได้ จุดเด่นที่สุด (Salient) ดูเหมือนจะระดับของการควบคุมที่ผู้เกษียณรู้สึกเกี่ยวกับกระบวนการ (Process) เกษียณ ตัวอย่างเช่น เมื่อเขาได้วางแผนช่วงเวลา (Timing) ของการออกจากงาน และวิธีที่ดำเนินการ ความเป็นอยู่ยังอาจดีอยู่ แม้ 3 เดือนหลังจากเกษียณอายุ

      ผลวิจัยนี้ได้รับการสะท้อน (Echo) โดยนักวิจัยที่ศึกษาคนงานชาวดัตช์ (Dutch) ซึ่งพบว่าประเภทของงานก่อนวัยเกษียณ มิได้มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสุขภาพ แต่มีผลกระทบอย่างมาก หากถูกบังคับให้เกษียณจากการทำงาน ยังมีนักวิจัยที่พบว่าในบรรดาตัวพยากรณ์ (Predictor) ที่สำคัญของความพึงพอใจของผู้หญิงในวัยเกษียณ คือการประเมินคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) และความช่ำชอง (Mastery) [ทักษะความเชี่ยวชาญ]

      นักวิจัยได้ศึกษาผู้สูงวัยที่ยังคงทำงานหรือกึ่งเกษียณ (Semi-retirement) พบว่า ความเป็นอยู่มิได้สัมพันธ์กับปริมาณงานที่ทำ แต่สัมพันธ์กับข้อเท็จจริงว่า งานที่ทำเป็นสิ่งที่เขาต้องการหรือไม่? ซึ่งเป็นการค้นพบในกลุ่มคนทำงานที่มีอายุน้อยกว่าไม่มาก (55 – 64 ปี)

      การค้นพบเหล่านี้แสดง (Demonstrate) ว่า ความพึงพอใจของวัยเกษียณได้รับการหล่อหลอม (Shape) โดยระดับ (Degree) ของความสมัครใจและความรู้สึกว่าบุคคลนั้นสามารถควบคุมชีวิตของตนเองได้ แต่นี่มิได้หมายความว่า ปัจจัยอื่นๆ มิได้มีบทบาทสำคัญ

      ประจักษ์หลักฐานจากปัจจัยอื่น ตัวอย่างเช่น จะเป็นการดีกว่าไหมถ้าเปลี่ยนจากทำงานวันหนึ่งแล้วเกษียณในอีกวันหนึ่ง ไปเป็นการเกษียณโดยค่อยๆ ลดวันทำงานลงในแต่ละสัปดาห์ แต่ยังเป็นประเด็นที่กำกวม (Equivocal) นักวิจัยบางคนไม่ไยดี (Dismissive) ต่อความแตกต่างดังกล่าว เพราะเชื่อว่าสิ่งสำคัญมิได้อยู่ที่รูปแบบของการเปลี่ยนแปลง (Transition) ว่า ค่อยๆ เกษียณหรือเกษียณฉับพลัน (Cold turkey) แต่อยู่ที่ผู้คนหยั่งรู้ (Perceive) ว่า เขาเกษียณแบบมีทางเลือกหรือถูกบังคับ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Retirementhttps://en.wikipedia.org/wiki/Retirement [2018, December 18].