ค่านี้มีความหมาย (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

ค่านี้มีความหมาย-1

      

  • ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (arterial oxygen saturation = SpO2) กรณีมีค่า SpO2 สูง อวัยวะต่างๆ ของร่างกายจะสามารถนำออกซิเจนในเลือดไปใช้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ แต่ถ้าค่า SpO2 ต่ำ อวัยวะต่างๆ ก็จะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและจะมีผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย ซึ่งในคนปกติค่านี้จะอยู่ที่ระดับ 95% -100% กรณีอยู่ที่ 92% จะถือว่ามีภาวะพร่องออกซิเจน (hypoxemia) ซึ่งทำให้มีออกซิเจนไม่พอไปหล่อเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย
  • อัตราการเต้นของหัวใจ (Pulse Rate = PR) ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุอัตราการเต้นของชีพจรจะอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้ง/นาที (เฉลี่ย 80 ครั้ง/นาที)
  • ค่าการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นๆ (Perfusion Index = PI) ซึ่งมีค่าได้ตั้งแต่ 0.02% - 20%

ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จะเที่ยงตรงหรือไม่นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของเครื่องแล้วยังมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นตัวแปรทำให้ค่าเปลี่ยนแปลงได้ด้วย เช่น

  • การไหลเวียนของเลือด
  • การเคลื่อนไหวขณะวัด
  • ระดับอุณหภูมิของผิว
  • ความหนาของผิว
  • การทาเล็บ (nail polish)
  • ระดับสีผิว (skin pigmentation) โดยผิวคล้ำอาจให้ผลที่บิดเบือนไปบ้าง

ดังนั้น ขณะที่ทำการวัดควรปฏิบัติดังนี้

  • ให้มืออุ่น ผ่อนคลาย
  • วางนิ้วในระดับที่อยู่ใต้หัวใจและไม่ขยับเขยื้อนขณะที่ทำการวัด
  • ควรรอสักเล็กน้อยเพื่อให้เครื่องแสดงค่าที่แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง
  • บันทึกค่าที่ได้เพื่อทำเป็นประวัติเพราะค่าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอาจมีความหมายต่อการรักษา

ส่วนการดูแลตัวเองที่บ้าน ควรทำการวัดระดับออกซิเจนเป็นระยะๆ หากเกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ใบหน้า ริมฝีปาก หรือเล็บมีสีคล้ำ (bluish coloring)
  • หายใจลำบาก หรือ ไอมากขึ้น
  • ไม่สบายตัว
  • เจ็บหน้าอกหรืออึดอัด
  • อัตราการเต้นของหัวใจเร็ว

อย่างไรก็ดี ในบางกรณีผู้ป่วยที่มีระดับออกซิเจนต่ำก็อาจจะไม่แสงดอาการอะไรก็ได้

แหล่งข้อมูล:

  1. Pulse Oximetry. https://www.healthline.com/health/pulse-oximetry [2021, June 18].
  2. Pulse Oximeter Accuracy and Limitations: FDA Safety Communication. https://www.fda.gov/medical-devices/safety-communications/pulse-oximeter-accuracy-and-limitations-fda-safety-communication [2021, June 18].