คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง: อายุ, พันธุกรรม, สุรา
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 17 เมษายน 2566
- Tweet
คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง: อายุ, พันธุกรรม, สุรา
ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หลีกเลี่ยงได้ กับ กลุ่มที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือ หลีกเลี่ยงได้อยากมากในทางปฏิบัติ ทั่วไปจึงจัดว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงฯที่หลีกเลี่ยงไม่ได้:
ปัจจัยที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ คือ อายุ และพันธุกรรม
ก. อายุ: มะเร็งพบได้ทุกอายุ ตั้งแต่เป็นทารกในครรภ์มารดาจนถึงผู้สูงอายุ อายุที่ มากขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็ง ยิ่งอายุมาก ค่าความเสี่ยงยิ่งสูงขึ้น, การศึกษาจากประชากรสหรัฐอเมริกาพบว่า ในประชากร 1 แสนคน, ในช่วงอายุที่ต่ำกว่า20ปี จะพบมะเร็งประมาณ 25ราย, อายุ29-45ปี พบได้ประมาณ 350ราย, แต่ตั้งแต่อายุ60ปีขึ้นไป พบได้มากกว่า1,000รายขึ้นไป, ซึ่งอายุกึ่งกลาง(median age)ของผู้ป่วยที่เกิดมะเร็ง คือ 66 ปี (หมายความว่า50%เกิดมะเร็งในช่วงอายุตั้งแต่66ปีขึ้นไป, และ50%เกิดในช่วงอายุต่ำกว่า66ปี
ข. พันธุกรรม: จากผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด พบปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุจากพันธุกรรมประมาณ 5-10% รวมทั้งที่เกิดจากพันธุกรรมที่ถ่ายทอดภายในครอบครัว, เชื้อชาติ, และพันธุกรรมผิดปกติที่เกิดเฉพาะตัวคนๆนั้นเอง เช่น อาจจากมารดาได้รับสารก่อมะเร็งต่อเนื่องหรือปริมาณสูงขณะตั้งครรภ์(เช่น ยาเสพติด)จนส่งผลถึงการบาดเจ็บของดีเอ็นเอ/DNA(พันธุกรรม/จีน/ยีน)ที่กระตุ้นให้เซลล์ทารกกลายพันธ์เป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักพบโรคเฉลี่ยอายุน้อยกว่าโรคเดียวกันแต่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม เช่น ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่พันธุกรรมผิดปกติ มักพบใน อายุ30-40ปี ในขณะที่ทั่วไปจะพบในอายุตั้งแต่45ปีขึ้นไป
ปัจจัยเสี่ยงฯที่หลีกเลี่ยงได้:
ปัจจัยเสี่ยงฯพบบ่อยในกลุ่มหลีกเลี่ยงได้ คือ สุรา, บุหรี่, การอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อ,สารก่อมะเร็ง, อาหาร, ฮอร์โมน, การมีภูมิคุ้มกัน/ภูมิต้านทานโรคผิดปกติ, การติดเชื้อบางชนิด, โรคอ้วน และ น้ำหนักตัวเกิน, รังสีต่างๆ, และแสงแดด
อนึ่ง: ตอนที่ 507 นี้ ขอเล่าเฉพาะเรื่อง สุรา,
สุรา: เป็นสารก่อมะเร็งในคน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดมะเร็งหลายชนิด ที่พบบ่อย คือ มะเร็งระบบศีรษะและลำคอ, มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งไส้ตรง, มะเร็งตับ, มะเร็งเต้านม,ฯลฯ, ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ถ้าบริโภคทั้งสุราและบุหรี่ โอกาสเกิดมะเร็งจะยิ่งสูงขึ้นมากไม่ใช่ในลักษณะเป็นผลบวก แต่ในลักษณะที่เสริมกันทวีคูณ(Synergistic effects),ในภาพรวม ทั่วโลกพบผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดประมาณ4%ที่สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงมาจากสุรา, ทั้งนี้การดื่มสุราต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นในปริมาณเท่าใด เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งทุกปริมาณ เพราะสุราในร่างกาย จะถูกเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็ง(เช่น Acetyldehyde)ที่ทำลายดีเอ็นเอจนก่อให้เซลล์เกิดกลายพันธ์, นอกจากนั้น ปัจจัยเสี่ยงฯยังเกิดจาก สุรายังรบกวนการดูดซึมวิตามินต่างๆที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสสระ เช่น วิตามิน เอ บี ซี ดี อี, และจากผู้ติดสุรามักขาดอาหาร ภูมิคุ้มกันต้านทานร่างกายจึงต่ำกว่าภาวะปกติ
ทั้งนี้ สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าอัตราเสี่ยงที่พอยอมรับได้ของการดื่มสุรา คือ ในเพศชาย=2ดริ้ง(Drink)/วัน, ส่วนเพศหญิง=1ดริ้ง/วัน
*หมายเหตุ: หัวข้อใหญ่เรื่อง’ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง’มีทั้งหมด 7 ตอนย่อย (506-512), ตอนต่อไป (508) จะเล่าถึงปัจจัยเสี่ยงฯจาก บุหรี่, การอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อ
บรรณานุกรม