คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน รังสีรักษาหลังผ่าตัดในมะเร็งต่อมหมวกไต

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน รังสีรักษาหลังผ่าตัดในมะเร็งต่อมหมวกไต

มะเร็งต่อมหมวกไตชนิด Adenocortical carcinoma (ย่อว่าโรค ACC) เป็นมะเร็งพบทั่วโลก แต่พบน้อย มีรายงานในสหรัฐอเมริกาในแต่ละปีพบ 0.5-2 รายต่อประชากร 1 ล้านคน ทั่วไปเป็นมะเร็งของผู้ใหญ่ มักพบในวัย 40-50 ปี แต่พบได้ทุกอายุรวมถึงในเด็ก(พบน้อยมากๆ)  เพศหญิงพบบ่อยกว่าเพศชายเล็กน้อย เป็นมะเร็งมีความรุนแรงโรคสูง/การพยากรณ์โรคไม่ดีจากโรคกลับเป็นซ้ำสูง ซึ่งการพยากรณ์โรคที่แย่/การกลับเป็นซ้ำฯขึ้นกับหลายปัจจัยสำคัญ คือ ระยะของโรคที่สูง, ขนาดก้อนมะเร็งที่ใหญ่,  มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง,เซลล์มะเร็งเป็นชนิดแบ่งตัวสูง (G/Grade3), อายุผู้ป่วยที่มากกว่า 55 ปี, และการผ่าตัดออกได้ไม่หมด,

ซึ่งถ้ามีปัจจัยดังกล่าว 'เพียงปัจจัยเดียว' จัดอยู่ในกลุ่ม 'การพยากรณ์โรคอยู่ในระดับดีกว่าถึงปานกลาง' โดยมีโอกาสกลับเป็นซ้ำต่ำถึงปานกลาง  มีอัตราตายจากมะเร็ง ACC ต่ำกว่า

แต่ถ้ามีปัจจัยการพยากรณ์โรคแย่ คือ ตั้งแต่ 2 ปัจจัยขึ้นไป โอกาส 'โรคกลับเป็นซ้ำและอัตราตายฯจะสูง'

ทั้งนี้การรักษาหลักของมะเร็งชนิดนี้ คือ การผ่าตัดใหญ่แบบถอนรากถอนโคน(Radical surgery) บางรายอาจได้รับรังสีรักษาและ/หรือยาเคมีบำบัดร่วมด้วยหลังผ่าตัดซึ่งกรณีได้รับรังสีรักษาร่วมด้วยยังไม่มีการศึกษาในผู้ป่วยจำนวนมาก ผลการศึกษาจึงยังไม่ชัดเจน

คณะแพทย์จากประเทศจีน นำโดย นพ. Kan WU แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะจาก Department of Urology, Institute of Urology, West China Hospital, Sichuan University, Chengdu, ประเทศจีน จึงต้องการศึกษาในปริมาณคนไข้ที่สูงพอทางสถิติเพื่อศึกษาว่า การฉายรังสีฯร่วมด้วยหลังผ่าตัดจะช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยหรือไม่ และได้รายงานผลการศึกษาในวารสารการแพทย์สหรัฐอเมริกา Journal of the National Comprehensive Cancer Network (J Natl Compr Canc Netw: JNCCN) ฉบับเดือนธันวาคม 2021

โดยเป็นการศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลทะเบียนมะเร็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (Surveillance, Epidemiology, and End Results: SEER) ช่วง 1 มกราคม ค.ศ. 2004 ถึง 31 ธันวาคม 2016 พบมีผู้ป่วยผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปโรค ACC ระยะยังไม่มีมะเร็งแพร่กระจายทางกระแสเลือด 365 ราย, 55 รายได้รับการฉายรังสีฯหลังผ่าตัดฯ (=15.1%ของผู้ป่วยทั้งหมด) ที่เหลือได้รับการผ่าตัดฯวิธีเดียว, โดยผู้ป่วยกลุ่มได้รังสีฯมีระยะโรคสูงกว่ากลุ่มได้ผ่าตัดฯวิธีเดียว

ผลการศึกษาพบว่า:

  • อัตรารอดที่3ปีในผู้ป่วยได้ผ่าตัดฯ+รังสีฯมีแนวโน้มสูงกว่ากลุ่มผ่าตัดฯวิธีเดียว  1% : 52.8%;P<0.062
  • แต่หลังจากเปรียบเทียบตามตัวแปรต่างๆพบว่า การได้รังสีฯเป็นปัจจัยลดอัตราตายจากมะเร็งACC ลงได้ 48% ซึ่งมีความสำคัญทางสถิติ, HR=0.52, 95% CI, 0.29–0.91; P=0.023
  • *กลุ่มได้รังสีฯที่พบว่าสามารถลดอัตราตายลงได้อย่างสำคัญทางสถิติ คือ กลุ่มมี ปัจจัยเสี่ยงสูงต่อโรคกลับเป็นซ้ำ โดยอัตรารอดที่ 3 ปี=1%:40.0%; P=.048
  • แต่การได้รับรังสีฯในกลุ่มไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกลับเป็นซ้ำต่ำ ไม่ช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิตที่3ปีอย่างสำคัญทางสถิติ

คณะผู้ศึกษาสรุปว่า การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การได้รับรังสีฯหลังผ่าตัดแบบถอนรากถอนโคนในผู้ป่วยมะเร็ง ACC ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ระยะโรคยังไม่แพร่กระจายทางกระแสเลือด  อาจช่วยเพิ่มอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อโรคกลับเป็นซ้ำหลังผ่าตัดฯ 

 บรรณานุกรม

  1. Kan Wu, et al. J Natl Compr Canc Netw 2021; 19(12):1425-1432. https://jnccn.org/view/journals/jnccn/19/12/article-p1425.xml  [2022,Sept26]    
  2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6031252/  [2022,Sept26]