คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน มะเร็งกับแอลกอฮอล์

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน  มะเร็งกับแอลกอฮอล์

IARC (International Agency for Research on Cancer) คือ หน่วยงานระหว่างชาติที่อยู่ภายใต้องค์การอนามัยโลก มีสถานที่ทำงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Lyon ประเทศ ฝรั่งเศส โดยมีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือด้านโรคมะเร็งระหว่างชาติต่างๆในด้านเกี่ยวกับการศึกษาต่างๆของมะเร็งที่ไม่เกี่ยวโดยตรงกับการรักษา เช่น ด้านระบาดวิทยา, สาเหตุ, สารก่อมะเร็ง, การป้องกัน

คณะนักวิทยาศาสตร์จากIARC นำโดย Harriet Rumgay ต้องการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลต่างๆตระหนักถึงภาระที่แอลกอฮอล์ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งสำคัญสำหรับมะเร็งพบบ่อยของโลกที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2020, เพื่อให้ประเทศต่างๆได้ตระหนักและร่วมมือ, มีกติกาที่จะช่วยกันลดภาระนี้, ซึ่งผลการศึกษาได้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ด้านโรคมะเร็ง The Lancet Oncology ฉบับ 13 กรกฎาคม 2021

โดยศึกษาจากประชากรทั่วโลกแบบ Population-based study ใช้สถิติโรคมะเร็งจาก  GLOBOCAN 2020 และศึกษาถึงอัตราเกิดมะเร็งที่มีแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงและที่เกี่ยวกับปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ ซึ่งข้อมูลมีระยะเวลาติดตาม 10 ปีระหว่างการบริโภคแอลกอฮอล์จนถึงวันวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง, ชนิดมะเร็งครอบคลุมทุกชนิดยกเว้นมะเร็งผิวหนังชนิด‘ไม่ใช่มะเร็งไฝ/มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา,’ โดยมะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงจากการบริโภคแอลกอฮอล์ คือ มะเร็งคอหอย, มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งไส้ตรง, มะเร็งตับ, มะเร็งกล่องเสียง, และมะเร็งเต้านม, ทั้งนี้ปัจจัยเกิดมะเร็งยังขึ้นกับปริมาณแอลกอฮอล์ที่บริโภค, คณะผู้ศึกษาจัดผู้บริโภคฯเป็น  3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มบริโภคฯปริมาณปานกลางคือ น้อยกว่า 20 กรัม/วัน, บริโภคฯระดับหนัก คือ บริโภค 20-60 กรัมต่อวัน, บริโภคฯระดับหนักมาก คือ มากกว่า 60 กรัม/วัน,  ซึ่งปริมาณบริโภคฯในกลุ่มศึกษาทั้งหมดอยู่ในช่วงตั้งแต่ 10 กรัม/วัน ไปจนถึง 150 กรัม/วัน

ผลศึกษา: พบว่าผู้ป่วยมะเร็งใหม่ที่ตรวจพบในปี 2020:

  • 1% ดื่มสุรา
  • ในมะเร็งที่เกิดจากบริโภคสุราเป็นปัจจัยเสี่ยง 741,300 ราย, เป็นเพศชาย 7%
  • มะเร็งที่แอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งตับ, และมะเร็งเต้านม
  • มะเร็งในผู้บริโภคแอลกอฮอล์หนักมาก = 46.7% (346,400ราย), ระดับหนัก = 39.4% (291,800 ราย), ระดับปานกลาง = 13.9% (103,100 ราย, ซึ่งที่ดื่มไม่เกิน 10 กรัม/วัน พบมะเร็งทั้งหมด 41,300 ราย)

คณะผู้ศึกษาสรุปว่า ผลจากการศึกษา บอกถึงความจำเป็นที่ทั่วโลกจะต้องร่วมมือ  หามาตรการที่จะลดการบริโภคแอลกอฮอล์ของประชากรโลกลง เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่มีแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เพิ่มขึ้นอย่างสอดคล้องกับการบริโภคแอลกอฮอล์ที่รวมถึงปริมาณที่บริโภคด้วย

บรรณานุกรม

  1. Harriet Rumgay et al. Lancet Oncology 2021; 22: 1071-1080
  2. https://www.iarc.who.int/wp-content/uploads/2018/07/WCR_2014_Chapter_2-3.pdf   [2022,Aug29]