คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลข้างเคียงจากรังสีรักษาและยาเคมีบำบัดต่อประสาทหูในเด็กเนื้องอกสมองหรือศีรษะและลำคอ

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง-01

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลข้างเคียงจากรังสีรักษาและยาเคมีบำบัดต่อประสาทหูในเด็กเนื้องอกสมองหรือศีรษะและลำคอ

เด็ก เป็นวัยที่เซลล์ปกติไวต่อรังสีรักษาและยาเคมีบำบัดเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ในผู้ใหญ่ คณะแพทย์จากประเทศแคนาดาจึงต้องการศึกษาอัตราเกิดและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงต่อเซลล์ประสาทหูของเด็กเนื้องอกสมองหรือของอวัยวะส่วนศีรษะและลำคอที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีฯ ทั้งนี้ผลข้างเคียงที่ผู้ป่วยเด็กอาจได้รับ คือ การสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร  โดยผู้นำในการศึกษานี้ คือ นักศึกษาปริญญาเอกทางการแพทย์  ชื่อ Dana Keilty จาก Radiation Medicine Program, Princess Margaret Cancer Centre, University Health Network, Toronto, ON แคนาดา และได้รายงานผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ Journal of Clinical Oncology ฉบับ 1 ธันวาคม 2021

โดยเป็นการศึกษาในผู้ป่วยเด็กเนื้องอกสมองหรืออวัยวะในส่วนศีรษะและลำคอทั้งหมด 171 ราย (340 หู) ที่มีข้อมูลด้านการตรวจประเมินการทำงานของประสาทหูต่อเนื่องตาม International Society of Pediatric Oncology-Boston grades และได้รับการฉายรังสีรักษา+/-ยาเคมีบำบัด

ผลการศึกษาพบว่า

  • ปัจจัยสำคัญทางสถิติที่มีผลกระทบต่อประสาทหูชั้นในที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน (Cochlea) ได้แก่
  • ปริมาณรังสีที่หูชั้นในได้รับ: ยิ่งได้รับสูง ผลกระทบต่อการได้ยินยิ่งสูง
  • ระยะเวลาที่เริ่มมีการได้ยินลดลง: เด็กยิ่งโตขึ้น การได้ยินยิ่งลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • ปริมาณของยาเคมีบำบัด ชนิด Cisplatin หรือ ชนิด Carboplatin: ยิ่งได้ปริมาณยาสูง ผลกระทบต่อการได้ยินยิ่งสูง
  • ผลกระทบต่อการได้ยิน/ไม่ขึ้นกับการเป็นปัจจัยเสริมกันระหว่างรังสีฯกับยา Cisplatin หรือยา Carboplatin
  • อัตราเกิดความผิดปกติในการได้ยินสูงตั้งแต่50%ขึ้นไปในช่วง 5ปีหลังได้รับรังสีฯถ้าปริมาณรังสีที่ Cochlea ได้รับค่าเฉลี่ยมากกว่า 30Gyขึ้นไป, และอัตราเกิดยังสูงขึ้นเรื่อยๆหลัง5ปีหลังได้รังสีฯไปแล้ว

คณะผู้ศึกษาสรุปว่า:

  • อัตราเกิดการสูญเสียการได้ยินในผู้ป่วยเด็กเนื้องอกสมองหรือเนื้องอกระบบศีรษะและลำคอพบได้สูง และจะสูงขึ้นเรื่อยๆเมื่อโตขึ้น
  • อัตราเกิดปัญหาการได้ยิน มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญทางสถิติ คือ ได้รับยาเคมีบำบัดชนิดCisplatin, ชนิดCarboplatin ในปริมาณยาที่สูง, และได้รับค่าเฉลี่ยปริมาณรังสีฯที่ Cochlea มากกว่า 30Gy ขึ้น
  • ดังนั้นเพื่อลดโอกาสเกิดการสูญเสียการได้ยิน
  • ปริมาณค่าเฉลี่ยรังสีฯที่ Cochlea ได้รับไม่ควรเกิน 30Gy กรณีได้รังสีรักษาอย่างเดียว
  • แต่ถ้าได้ยาเคมีฯร่วมด้วย ปริมาณค่าเฉลี่ยรังสีฯที่Cochlea ควรลดลงเหลือไม่ควรเกิน 20-25Gy

 บรรณานุกรม

  1. Dana Keilty, et al. JCO 2021; 39(34):3813–3821(abstract) .
  2. https://ascopubs.org/doi/full/10.1200/JCO.21.00899  [2022,Aug8]