คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน มะเร็งกับปัญหามลพิษในอากาศ

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง-429

      

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน มะเร็งกับปัญหามลพิษในอากาศ

คณะนักวิทยาศาสตร์และแพทย์จากยุโรปและสหรัฐอเมริกาหลายสถาบันด้านสาธารณสุข นำโดย ดร. Michelle C. Turner จากหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศสเปน ได้ร่วมกันเขียนบทความเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายของฝุ่นละอองในอากาศที่เป็นสารก่อมะเร็งสำคัญเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันอย่างจริงระหว่าง รัฐ เอกชน ประชาชน ทั่วโลกเพื่อลดปัญหามลพิษในอากาศเพื่อ สุขภาพ ป้องกันโรคมะเร็ง ของประชากรโลก และได้ตีพิมพ์บทความนี้ในวารสารการแพทย์ด้านโรคมะเร็งสำหรับแพทย์ทุกคนในสหรัฐอเมริกา CA: Cancer Journal for Clinicians ฉบับเดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม ค.ศ. 2020

คณะผู้เขียน ระบุว่า มลพิษในอากาศ เช่น มลพิษที่เกิดจากการคมนาคม , มลพิษจากการเผาไหม้สิ่งต่างๆ, มลพิษทางการเกษตร, ปศุสัตว์, อุตสาหกรรมต่างๆ, การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน เช่น การสูบบุหรี่, การหุงต้ม, กิจกรรมทางศาสนา, เมื่อเราสูดดมเข้าปอดและร่างกาย สารเคมีต่างๆในมลพิษซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเพราะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมสำคัญของเซลล์ทุกชนิดซึ่งคือสาร ดีเอนเอ ซึ่งเมื่อได้รับมลพิษอย่างต่อเนื่องดีเอนเอที่เกี่ยวข้องสำคัญกับการเจริญเติบโต/การแบ่งตัวเพิ่มปริมาณของเซลล์ต่างๆ ในกระบวนการแบ่งตัวเหล่านั้นเซลล์จะมีโอกาสกลายพันธ์ไปเป็นเซลล์มะเร็งได้สูง ซึ่งปัจจัยสำคัญต่อการกลายพันธ์ คือ ชนิด, ปริมาณ, และการได้รับมลพิษอย่างต่อเนื่อง, รวมถึงภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของแต่ละคน, อายุ, และปัจจัยเสียงอื่นๆ เช่น โรคประจำตัวต่างๆ, ยาต่างๆ, สารเสพติด, อาหาร, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ปัจจุบัน ที่มีหลักฐานทางการศึกษาที่จัดเจนว่า มลพิษเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญเกิดมะเร็ง คือ มะเร็งปอด และนอกจากเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญยังเป็นปัจจัยเสี่ยงเพิ่มอัตราตายของผู้ป่วยมะเร็งปอดอีกด้วย ส่วนมะเร็งชนิดอื่น หลักฐานยังไม่ชัดเจน เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

คณะผู้เขียน จึงสรุปเรียกร้องให้ทุกคน ทุกส่วนของภาครัฐ เอกชน ประชาชน ทั้งโลกตระหนักถึงอันตรายของมลพิษในอากาศ และร่วมมือกันอย่างจริงจริงเพื่อช่วยกันลดมลพิษทางอากาศที่ปัจจุบันกระจายเกิดไปทั่วโลก

แหล่งข้อมูล:

  1. J Clin 2020;70(6):460-479