ผลการรักษามะเร็งเต้านมด้วยการให้ยาเคมีบำบัดนำก่อนการผ่าตัดและการฉายรังสีรักษา

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง-415

      

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลการรักษามะเร็งเต้านมด้วยการให้ยาเคมีบำบัดนำก่อนการผ่าตัดและการฉายรังสีรักษา

มะเร็งเต้านมระยะโรคลุกลามรุนแรงเฉพาะที่การรักษาเป็นมาตรฐาน คือ การให้ยาเคมีนำก่อนจนก้อนมะเร็งยุบแล้วจึงตามด้วยผ่าตัดและการฉายรังสีรักษา คณะแพทย์และนักวิทยาศาสตร์จากภาควิชารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา Radiation Medicine Program, University of Toronto, Department of Radiation Oncology, Princess Magaret Cancer Centre, University Health Network, Toronto, ON, Canada ประเทศแคนาดานำโดย Dana Keilty จึงต้องการศึกษาถึงอัตราโรคย้อนกลับเป็นซ้ำที่บริเวณรอยเต้านมและรักแร้หลังการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว และได้รายงานผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ด้านโรคมะเร็ง สหรัฐอเมริกา International Journal of Radiation Oncology Biology & Physics ฉบับ 1 พย. 2020

โดยเป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะ2,3ของโรงพยาบาลดังกล่าวในช่วง2008-2015, ทั้งหมด 416 ราย, มีระยะเวลากึ่งกลางในการติดตามโรค(median follow-up time)นาน4.7ปี, ผู้ป่วยก่อนรักษา 74%มีระยะโรคT2-T3, และ61%เป็นN1, โดยการรักษาเป็นการผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้านม(mastectomy)=75%, ร่วมกับผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองรักแร้ด้านเป็นโรค=84%, ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาก้อนมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองฯหลังผ่าตัดไม่พบเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่(pCR)=22%

เมื่อติดตามผู้ป่วยหลังรักษา: พบว่า

• มีโรคย้อนกลับเป็นซ้ำที่รอยเต้านมและ/หรือรักแร้=27ราย, 2รายเกิดหลังผ่าตัดภายใน 2เดือนก่อนได้รับรังสีรักษา

• มีรายงานตำแหน่งเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ 23ราย, 20รายเกิดในตำแหน่งที่เคยได้รับรังสีรักษา, 2รายเกิดนอกบริเวณที่เคยได้รังสีฯ, และอีก1รายเกิดทั้งบริเวณเคยได้รับรังสีฯร่วมกับนอกบริเวณที่เคยได้รับรังสีฯ

• 89ราย พบ โรคแพร่กระจายทางกระแสเลือด

• ที่ระยะ5ปี:

      o โรคย้อนกลับเป็นซ้ำที่บริเวณเต้านมและรักแร้(LRR)=6.4%

      o อัตราปลอดโรค(DFS)=77%

      o อัตรารอดชีวิต(OS)=90%

• การวิเคราะห์พหุตัวแปร(multivariate analysis) พบว่าตัวแปรที่สำคัญทางสถิติต่อผลการรักษา คือ

      o เซลล์มะเร็งเป็นชนิดมีตัวรับ ฮอร์โมนเอสโตรเจน, ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน, และ HER2เป็นลบ(Triple-negative breast cancer), (P น้อยกว่า 0.001)

      o เป็นมะเร็งระยะ3, (P =0.016),

      o ผลตรวจก้อนเนื้อทางพยาธิหลังผ่าตัด ยังตรวจพบเซลล์มะเร็ง, (P น้อยกว่า .001)

• อัตราปลอดโรคและอัตรารอดชีวิตที่แย่ลงอย่างสำคัญทางสถิติขึ้นกับ3ปัจจัย คือ

      o เซลล์มะเร็งเป็นชนิด ตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน, ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน, และ ตัวรับ HER2เป็นลบทั้งหมด, (P น้อยกว่า .001)

      o เป็นมะเร็งระยะ3, (P = .049)

      o ผลตรวจพยาธิหลังผ่าตัด ยังพบเซลล์มะเร็ง,(P=0.05)

คณะผู้ศึกษาสรุปว่า การศึกษานี้พบว่า การรักษามะเร็งเต้านมระยะ2-3ด้วยการให้ยาเคมีบำบัดนำก่อนแล้วจึงตามด้วยการผ่าตัดและการฉายรังสีรักษามีโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ บริเวณเต้านมและรักแร้ต่ำเมื่อประเมินที่5ปี โดยส่วนใหญ่เกิดบริเวณที่เคยฉายรังสีฯ, และพบว่า อัตราปลอดโรค, และ อัตรารอดชีวิตขึ้นกับ เป็น มะเร็งเต้านมชนิดเซลล์มะเร็งไม่มี ตัวรับทั้ง ฮอร์โมนเอสโตรเจน, ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน, และ HER2 คือ ตัวรับเป็นลบทั้งหมด, โรคระยะที่3, และผลตรวจพยาธิก้อนเนื้อหลังผ่าตัดยังพบเซลล์มะเร็ง

แหล่งข้อมูล:

  1. International Journal of Radiation Oncology Biology & Physics 2020;108(3):676-685 (abstract)