คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน อัตราเกิดมะเร็งแพร่กระจายทางกระแสเลือดของมะเร็งไส้ตรงที่รักษาด้วยการเฝ้าติดตามโรค
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 9 พฤศจิกายน 2563
- Tweet
บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมะเร็งไส้ตรงไม่สามารถรับการรักษาแต่แรกด้วยวิธีผ่าตัดซึ่งเป็นวิธี หลักของมะเร็งไส้ตรง กรณีนี้แพทย์จะใช้วิธีเฝ้าติดตามโรค (The watch-and-wait ย่อว่า w&w) แพทย์จึงต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า การรักษาโดยการเฝ้าติดตามโรคนี้จะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดมะเร็งแพร่กระจายทางกระแสเลือดหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลช่วยแพทย์และผู้ป่วยเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุด
การศึกษานี้มาจากคณะแพทย์ด้านโรคมะเร็งจากประเทศโปแลนด์ นำโดย พญ.Joanna Socha จาก Department of Radiotherapy, Military Institute of Medicine, Warsaw และได้รายงานการศึกษาในวารสารการแพทย์ของประเทศกลุ่มยุโรป(EU), Radiotherapy and oncology ฉบับเดือนมีนาคม 2020
การศึกษานี้ ศึกษาแบบการวิเคราะห์อภิมาน(Meta-analysis)จากSystemic review ซึ่งผลการศึกษาในทางสถิติพบว่า การชะลอการผ่าตัดรักษามะเร็งไส้ตรงออกไปโดยใช้การเฝ้าระวังแทน พบปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งแพร่กระจายทางกระแสเลือดอยู่ในช่วง 0-6.5% ในระยะเวลา 5 ปี
คณะผู้ศึกษาสรุปว่า ตัวเลขนี้จัดว่าโอกาสเกิดการแพร่กระจายทางกระแสเลือดค่อนข้างต่ำ แต่การนำไปใช้ต้องตระหนักว่า การศึกษาด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดที่ทำให้ผล การศึกษาผิดพลาดได้
แหล่งข้อมูล:
- Radiotherapy and oncology 2020; 144:1-6 (abstract)