คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลการรักษามะเร็งปอดด้วยรังสีโปรตอนจากประเทศญี่ปุ่น
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 21 กันยายน 2563
- Tweet
การศึกษานี้ เป็นการศึกษาข้อมูลครั้งแรกรวมกัน 8 สถาบันการแพทย์หลักทั่วญี่ปุ่น และจัดเป็นการศึกษาระดับชาติเป็นครั้งแรกของญี่ปุ่นในเรื่องนี้ คือ ‘ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รังสีรักษาชนิดมีคุณสมบัติดีกว่าเอกซเรย์คือ รังสีโปรตอน(ประเทศไทยเราอยู่ในขั้นตอนศึกษาและเตรียมความเป็นไปได้ที่เราจะใช้รังสีประเภทนี้ในการรักษามะเร็งและเนื้องอก)ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวโตซึ่งเป็นชนิดพบบ่อยที่สุดของมะเร็งปอด โดยศึกษาในโรคระยะที่1/โรคจำกัดอยู่เฉพาะที่ปอด (การศึกษานี้ใช้ระยะโรคตาม UICC 7th ed, ศึกษาเฉพาะผู้ป่วยฯ ระยะ1A (โรคจำกัดเฉพาะปอดและก้อนมะเร็งโตน้อยกว่า 2 ซม.) , และระยะ IB (โรคจำกัดอยู่เฉพาะปอดและก้อนมะเร็งโตมากกว่า 2ซม.แต่ไม่เกิน3ซม.) และได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ International Radiation Oncology Biology and Physics ฉบับ 1 มกราคม 2020 ซึ่งการศึกษานี้นำโดย แพทย์รังสีรักษา นพ. Kayoko Ohnishi จาก Department of Radiation Oncology, Faculty of Medicine, University of Tsukuba, Tsukuba, Ibaraki, Japan
การศึกษานี้ เป็นการศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลการแพทย์ของโรงพยาบาลต่างๆ(Retrospective observational study)ในผู้ป่วยฯทั้งหมด 669รายในช่วง เมษายน 2004 ถึง ธันวาคม 2013 เป็นเพศชาย 486 คน, เพศหญิง 183 คน อายุกึ่งกลาง(median age= 76 ปี, ช่วง 42-94 ปี), ระยะ1A=470 คน, ระยะ 1B= 199 คน, ได้รับปริมาณรังสีโปรตอนที่ก้อนมะเร็งอยู่ในช่วง 74.4-131.3 biological effective dose/ GyE (ปริมาณรังสีกึ่งกลาง/median dose =109.6 biological effective dose/ GyE) , ติดตามผู้ป่วยได้ทุกคนในช่วง 0.6-154.5 เดือน(ระยะกึ่งกลาง=38.2 เดือน)
ผลการติดตามผลที่ระยะ3 ปี:
- อัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยทั้งหมด =79.5%
- ไม่พบมีโรคย้อนกลับเป็นซ้ำและ/หรือแพร่กระจายรวมทั้งหมด=64.1%
- ระยะ1A: อัตรารอดชีวิตของผู้ป่วย =82.8%, ไม่พบโรคย้อนกลับเป็นซ้ำและ/หรือแพร่กระจาย=70.6%
- ระยะ1B: อัตรารอดชีวิตของผู้ป่วย = 70.8%, ไม่พบโรคย้อนกลับเป็นซ้ำและ/หรือแพร่กระจาย= 47.3%
- ไม่พบการย้อนกลับเป็นซ้ำที่รอยโรคในปอดที่ระยะ3ปี ดังนี้
o ผู้ป่วยรวมทั้งหมด= 89.8%
o ผู้ป่วยระยะ1A= 93.5%
o ผู้ป่วยระยะ1B= 79.4%
- การเกิดผลข้างเคียงจากรังสีโปรตอน:
o เกิดปอดอักเสบจากรังสีฯ ความรุนแรงนับจากน้อยไปหามาก (ระดับ1 มักไม่มีอาการ) ระดับ2=9.8% , ระดับ3=1.0%, ระดับ4=0% , และระดับ5=0.7%
o ผลข้างเคียงต่อผิวหนังที่เท่ากับหรือมากกว่าระดับ 3=0.4%, ไม่พบผลข้างเคียงมากกว่า ระดับ3
o ผลข้างเคียงอื่นๆพบน้อยและความรุนแรงไม่เกินระดับ3
คณะผู้ศึกษาสรุปว่า การรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวโตโรคระยะ1(UICC 7th,ed) ด้วยการฉายรังสีโปรตอน สามารถควบคุมโรคได้ในเกณฑ์ยอมรับได้ โดยมีผลข้างเคียงจากการรักษาต่ำที่รวมถึงผลข้างเคียงในระดับรุนแรง
แหล่งข้อมูล:
- International Radiation Oncology Biology and Physics 2020; 106(1): 82-89