คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน อัตราการมีงานทำของผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูกที่รอดชีวิต
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 7 กันยายน 2563
- Tweet
การศึกษาในเรื่องอัตราการมีงานทำของผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูกที่รอดชีวิตหลังการรักษาด้วยรังสีรักษาที่รายงานในวารสารการแพทย์ด้านโรคมะเร็งของสหรัฐอเมริกา ชื่อ Journal of Radiation Oncology Biology and Physics ฉบับ 1 มกราคม ค.ศ. 2020 เป็นการศึกษาจากประเทศแคนาดา โดยคณะนักวิทยาศาสตร์และแพทย์จากแผนกรังสีรักษา Department of Radiation Oncology, Princess Margaret Cancer Centre/University of Toronto, Toronto, Ontario นำโดยนักวิทยาศาสตร์ ชื่อNathaniel So
เป็นการศึกษาแบบ Cross-sectional study ในผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูกที่อยู่ในวัยทำงานทั้งหมด 73 คน อายุช่วง 32-64 ปี (อายุกึ่งกลาง/median age=53ปี) เพศหญิง 21 คน เพศชาย 52 คน ได้รับการรักษามะเร็งฯโดยการฉายรังสีแบบ3มิติชนิดIMRT และระยะกึ่งกลางหลังครบการรักษาคือ 7.3 ปี (ช่วง 4.2-11.1ปี)
ผลการศึกษาพบว่า
- ขณะศึกษา ผู้ป่วยกำลังมีงานทำ 62%(45ราย), แต่ 14 ราย (31%) ทำงานไม่เต็มเวลา
- ปัจจัยที่ทำให้มีงานทำที่มีนัยสำคัญทางสถิติคือ
o มีอายุน้อย(p=0.017)
o มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง(P=0.013)
o มีคุณภาพชีวิตที่ดี(p=0.04)
o ไม่มีผลข้างเคียงที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทหรือความประพฤติ (p=0.008)
- ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องอย่างสำคัญทางสถิติ คือ
o อายุ
o ความวิตกกังวล
o ความรู้สึกซึมเศร้า
o อาชีพ
o รายได้
คณะผู้ศึกษาสรุปว่า ควรศึกษาเพิ่มเติมโดยเป็นการศึกษาแบบล่วงหน้า เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสำคัญที่แน่ชัด เพื่อหาปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสกลับมามีงานทำหลังรอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งโพรงหลังจมูก
แหล่งข้อมูล:
- International Journal of Radiation Oncology Biolgy and Physics 2020; 106(1):134-145