คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ประสิทธิผลของรังสีรักษาในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดเซลล์รุนแรงระยะต้น
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 30 มีนาคม 2563
- Tweet
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ชนิดเซลล์รุนแรง(DLBCL)ในสหรัฐอเมริกา มีวิธีรักษาหลักคือ การให้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกันและร่วมกับยารักษาตรงเป้า(R-CHOP)/ขอเรียกสั้นๆว่ายาเคมีฯ หลังจากนั้นจะให้รังสีรักษาตรงตำแหน่งรอยโรค แต่ปัจจุบันมีการประเมินผลการรักษาหลังยาเคมีฯด้วยการใช้ PET-scan/ เพทสะแกนซึ่งสามารถบอกได้ว่ารอยโรคหมดไปหลังยาเคมีฯอย่างมีประสิทธิภาพ
คณะแพทย์จากโรงพยาบาลMassey Cancer Center, Richmond, เวอร์จิเนียร์ นำโดย นพ. C. McLaughlin ต้องการทราบว่า ในยุคเพทสะแกน การฉายรังสีฯในผู้ป่วยโรคนี้หลังครบเคมีบำบัดยังมีประโยชน์หรือไม่
เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง DLBCL ระยะ1,2 ของโรงพยาบาลนี้ช่วงปี1998-2017, ผู้ป่วยทั้งหมด 144 ราย, 96 รายได้ยาเคมีฯอย่างเดียว, 48รายได้รังสีฯร่วมด้วย
- อัตรารอดชีวิตที่10ปีของผู้ได้เพียงยาเคมีฯคือ 44%,ต่ำกว่า ผู้ได้ยาเคมีฯ+รังสีฯคือ 60.1% อย่างสำคัญทางสถิติ(p=0.0.24)
- อัตราปลอดโรคที่5ปีของผู้ได้เพียงยาเคมีฯคือ 81.1%, ต่ำกว่าผู้ได้ยาเคมีฯ+รังสีฯคือ 97.6% อย่างสำคัญทางสถิติ (p=0.087)
คณะผู้ศึกษาสรุปว่า ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด DLBCL ระยะ1,2 ที่ประเมินผลการให้ยาเคมีฯด้วย เพท สะแกน การได้รับรังสีรักษาร่วมด้วย ยังคงให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการรักษาด้วยยาเคมีฯเพียงอย่างเดียวตราบใดที่ยังไม่มีการศึกษาที่เป็นการศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่มตัวอย่าง
อนึ่ง: การศึกษานี้ได้นำเสนอในที่ประชุมใหญ่สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา สหรัฐอเมริกา(ASTRO) เมื่อ 5-18กันยายน 2019, ณ นครชิคาโก
แหล่งข้อมูล:
- Proceeding of the ASTRO annual meeting, Chicago. September 15-18,2019 (abstract 1287)