คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลการรักษาหลอดลมอุดตันจากมะเร็งปอดด้วยรังสีรักษา

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง-349

มะเร็งที่ก่อให้เกิดการอุดตันที่หลอดลมจนส่งผลให้เกิดปอดแฟบ เกือบทั้งหมดของผู้ป่วยเกิดจากมะเร็งปอด ซึ่งมะเร็งระยะนี้มักเป็นระยะสุดท้าย ผู้ป่วยมักเสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้น การรักษาเป็นเพียงการรักษาบรรเทาอาการเพื่อช่วยลดการอุดตันในหลอดลมจากก้อนมะเร็ง เพื่อพยายามให้ปอดกลับมาขยายตัว เพื่อช่วยลดอาการเหนื่อยหอบรุนแรงของผู้ป่วย ซึ่งวิธีรักษาทั่วไปคือ การฉายรังสีรักษาตรงตำแหน่งหลอดลมที่อุดตัน อย่างไรก็ตามภาวะนี้พบได้น้อย

คณะแพทย์จากโรงพยาบาลมะเร็ง สหรัฐอเมริกา โรงพยาบาล Wake Rorest Baptist Medical Center นิวยอร์ค นำโดย นพ. A.G. Johnson แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ต้องการศึกษาเปรียบเทียบผลการขยายกลับคืนของปอดหลังฉายรังสีฯว่าเป็นอย่างไรในผู้ป่วย3กลุ่ม คือ ฉายรังสีเพียงครั้งเดียว ปริมาณรังสี8 Gy, ฉายรังสี2-5ครั้งรวมปริมาณรังสีที่กึ่งกลาง(median dose)16Gy, และฉายรังสี10ครั้งปริมาณรังสี30Gy ,รวมถึงระยะเวลารอดชีวิตของผู้ป่วย, และปัจจัยต่อการขยายกลับคืนของปอด

ผลการศึกษาคือ

  • เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังของผู้ป่วย 56ราย จากโรงพยาบาลนี้แห่งเดียวช่วงปี2014-2017 ผู้ป่วยฉายรังสีครั้งเดียว 38%, ผู้ป่วยฉายรังสี 2-5 ครั้ง 23% , ผู้ป่วยฉายรังสี10ครั้ง 39%
  • ซึ่งหลังการรักษา ผู้ป่วยทั้ง3กลุ่ม มีอัตรารอดระยะเวลากึ่งกลาง(median time) 1.9 เดือน
  • ผู้ป่วยที่ปอดขยายฟื้นตัว มีอัตรารอดระยะเวลากึ่งกลาง 3.7เดือน
  • เมื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยที่มีอัตรารอดระยะเวลากึ่งกลางมากกว่า 4 สัปดาห์ กับผู้ที่เสียชีวิติภายใน 4สัปดาห์ พบว่า ปัจจัยสำคัญทางสถิติที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดไม่เกิน 4สัปดาห์ คือ

      o มีสุขภาพร่างกายเลว (p=0.001)

      o ได้รังสีรักษาน้อยกว่า10ครั้ง(p<0.01)

      o เกิดหลอดลมอุดตันเฉียบพลัน ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์(p=0.07)

คณะผู้ศึกษาสรุปว่า ข้อมูลจากกการศึกษานี้ ใช้ช่วยการตัดสินใจในการรักษาได้ทั้งของ ผู้ป่วย ครอบครัว และแพทย์

อนึ่ง: การศึกษานี้ได้นำเสนอในที่ประชุมใหญ่สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา สหรัฐอเมริกา(ASTRO) เมื่อ 5-18กันยายน 2019, ณ นครชิคาโก

แหล่งข้อมูล:

  1. Proceeding of the ASTRO annual meeting, Chicago. September 15-18,2019 (abstract 1081)