คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ปัจจัยเสี่ยงฆ่าตัวตายของผู้ป่วยมะเร็ง

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง-313

      

      ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นกลุ่มมีปัจจัยเสียงสูงที่จะฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะในช่วง 1 ปีหลังได้รับการวินิจฉัยโรค แพทย์และนักวิทยาศาสตร์จากไต้หวันจึงต้องการทราบว่า มะเร็งชนิดใด และช่วงระยะเวลาไหนใน1ปีแรกหลังวินิจฉัยโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออัตราฆ่าตัวตายของผู้ป่วยมะเร็ง

      การศึกษานี้ เป็นการศึกษาจากคณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยในประเทศไต้หวัน Department of Biotechnology and Pharmaceutical Technology, Yuanpei University of Medical Technology, Hsinchu, ไต้หวัน โดยศึกษาผู้ป่วยมะเร็งไต้หวันที่มีประวัติฆ่าตัวตายภายใน 1 ปีหลังวินิจฉัยมะเร็งในช่วง ค.ศ. 2002 ถึง 2012 ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีทั้งหมด 2907 ราย และได้รายงานผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ชื่อ IJC (International Journal of Cancer) เมื่อ 15พฤษภาคม 2018

      ผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มในช่วง 13เดือนก่อนฆ่าตัวตาย พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่ฆ่าตัวตายภายใน 1 ปีหลังการวินิจฉยมะเร็ง มักเป็นผู้ป่วย มะเร็งช่องปาก และ มะเร็งคอหอย

      และพบว่า อัตราฆ่าตัวตายจะสูงในช่วง6เดือนแรกหลังการวินิจฉัยฯ โดยการฆ่าตัวตายจะเกิดสูงสุดในช่วง 1เดือนหลังวินิจฉัยฯ จากนั้นอัตราฆ่าตัวตายจะค่อยๆลดลง

      คณะผู้ศึกษา สรุปว่า การศึกษานี้ สนับสนุนให้ ครอบครัว แพทย์ พยาบาล และผู้ดูแลผู้ป่วย ควรดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดและต้องคอยสังเกตอาการผิดปกติในช่วง6เดือนแรกหลังวินิจฉัยมะเร็ง โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกหลังการวินิจฉัยฯ เช่น อาการ ซึมเศร้า และการแยกตัวของผู้ป่วย เพื่อรีบนำผู้ป่วยพบจิตแพทย์ เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

แหล่งข้อมูล:

  1. IJC 2018;142(10):1986-1993(abstract)