คุมได้ตามใจอยาก (ตอนที่ 7)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 1 เมษายน 2563
- Tweet
- ชัก
- ผิวหนังเป็นผื่นแพ้
- ปวดขาอย่างรุนแรงหรือขาบวม
- อารมณ์แปรปรวนรุนแรง
- ประจำเดือนขาด 2 เดือน
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Minipill / Progestin-only pills) เป็นยาเม็ดคุมกับเนิดที่มีแต่โปรเจสตินอย่างเดียว ไม่มีเอสโตรเจน จะทำงานด้วยการทำให้ของเหลวในช่องคลอดเหนียวตัวขึ้น และทำให้เยื่อที่บุผนังชั้นในของมดลูกซึ่งเป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสม (Endometrium) บางลง ดังนั้นโอกาสที่ไข่จะฝังตัวในมดลูกจึงยาก นอกจากนี้ ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวยังอาจช่วยป้องกันการตกไข่ด้วย
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวจะบรรจุในรูปแบบของ 28 เม็ด โดยกินยาวันละครั้งในเวลาเดียวกันทุกวัน เป็นทางเลือกของผู้หญิงที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร หรือมีปัญหาสุขภาพ หรือไม่สามารถรับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ด้วยเหตุผลอื่นๆ โดยยาคุมชนิดนี้จะออกฤทธิ์ทุกเม็ด ดังนั้นระหว่างที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้จะไม่มีประจำเดือน
มีการประเมินว่า ผู้หญิงร้อยละ 13 ที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวจะตั้งครรภ์ในปีแรกของการใช้ยา ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าการใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนแบบอื่น ทั้งนี้ หากมีการตั้งครรภ์ระหว่างกินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวจะมีโอกาสของการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy) โดยเฉพาะที่ท่อนำไข่ (Fallopian tube) แต่ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการพิการแต่กำเนิด
เช่นเดียวกันยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวไม่ได้เหมาะกับทุกคน แพทย์มักแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวในบุคคลต่อไปนี้
- มีประวัติโรคมะเร็งเต้านม
- เป็นโรคเกี่ยวกับตับ
- มีภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
- อยู่ระหว่างการกินยารักษาวัณโรค การติดเชื้อเฮชไอวี เชื้อเอดส์ หรือยากันชัก
- มีปัญหาเรื่องการกินยาให้ตรงเวลาเดิมทุกวันเนื่องจากปัจจัยต่างๆ
แหล่งข้อมูล:
- Birth Control Pills: Are They Right for You? https://www.healthline.com/health/birth-control-pills [2020, March 28].
- Minipill (progestin-only birth control pill). https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/minipill/about/pac-20388306 [2020, March 31].