คีโตน (Ketone)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 22 ตุลาคม 2559
- Tweet
- โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disease)
- กายวิภาคและสรีรวิทยาระบบต่อมไร้ท่อ (Anatomy and physiology of endocrine system)
- เบาหวาน (Diabetes mellitus)
- รู้ทันโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
- เบาหวานกับการตั้งครรภ์ (Diabetes mellitus and pregnancy)
- เบาหวานในเด็กและวัยรุ่น (Juvenile diabetes mellitus)
คีโตน(Ketone) เป็นสารเคมีปลายทางที่เกิดจากร่างกายเผาผลาญไขมันเพื่อให้ได้เป็นน้ำตาล ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นในภาวะที่ร่างกายใช้พลังงานจากน้ำตาล/คาร์โบไฮเดตไม่ได้ ได้แก่ ภาวะที่ร่างกายมีความผิดปกติในฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งคือ ในผู้ป่วยโรคเบาหวานนั่นเอง โดยเมื่อมีคีโตนในเลือดมากขึ้น เลือดจะเกิดภาวะเลือดเป็นกรด(Acidosis) ซึ่งถ้าเกิดในผู้ป่วยเบาหวาน จะเรียกภาวะนี้ว่า “Diabetic ketoacidosis หรือ Ketoacidosis ย่อว่า DKA” ที่ผู้ป่วยจะมีอาการสำคัญ ดังนี้คือ ปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย สับสน หายใจมีกลิ่นของคีโตน(กลิ่นผลไม้) คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และหายใจลำบาก และถ้าอาการรุนแรงจะเกิดภาวะสมองบวม โคม่า และเสียชีวิตได้ ดังนั้นเมื่อเกิดอาการดังกล่าว โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวาน ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
อนึ่ง:
- ค่าปกติของคีโตนในเลือด คือ น้อยกว่า 0.6 millimoles per liter (mmol/L)
- ค่าปกติของคีโตนในปัสสาวะ คือ จะตรวจไม่พบ คีโตนในปัสสาวะ(Negative) โดยถ้าตรวจพบคีโตนในปัสสาวะจะถือเป็นภาวะผิดปกติ(Positive) ซึ่งแบ่งตามความรุนแรงเป็น รุนแรงน้อย(Small positive) รุนแรงปานกลาง(Moderate positive) และรุนแรงมาก(Large positive)
- เมื่อเกิด Diabetic ketoacidosis ค่าน้ำตาลในเลือดจะสูงมากกว่ากว่า 250 mg/dL(มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
บรรณานุกรม