คาวาซากิกับโควิด-19 (ตอนที่ 3)

คาวาซากิกับโควิด-19-3

      

โดยปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคคาวาซากิในเด็ก ได้แก่

  • อายุ – เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีจะมีความเสี่ยงมาก
  • เพศ – เด็กผู้ชายมีโอกาสในการเกิดโรคมากกว่าเด็กผู้หญิง 1.5 เท่า
  • เชื้อชาติ – เด็กชาวเอเชียหรือเกาะแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี มีโอกาสเกิดโรคมากกว่า

โรคคาวาซากิสามารถเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับโรคหัวใจในเด็กซึ่งมักพบในสัปดาห์ที่ 1-2 โดยภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ได้แก่

  • หัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
  • เยื่อหุ้มหัวใจมีน้ำขัง (Pericardial effusion)
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
  • ผนังหลอดเลือดแดงโป่งพอง(Aneurysms)
  • ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation)

ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถทำลายหัวใจเด็ก และหากรุนแรงก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้ มีเด็กประมาณร้อยละ 25 ที่เป็นโรคคาวาซากิแล้วไม่ได้รับการรักษาเนื่องจากไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง จึงทำให้เด็กมีอาการแทรกซ้อนของโรคเกี่ยวกับหัวใจได้ในภายหลัง เช่น ภาวะหัวใจวาย

เนื่องจากยังไม่มีการวินิจฉัยที่เฉพาะโรค ดังนั้นแพทย์จึงใช้วิธีการทดสอบโรคอื่นๆ เพื่อตัดความเป็นไปได้ของโรคที่มีลักษณะอาการคล้ายกันออกไป เช่น

  • ไข้อีดำอีแดง (Scarlet fever) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Streptococcal) และทำให้เกิดอาการเป็นไข้ ผื่นแดง หนาวสั่น และเจ็บคอ
  • ข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก (Juvenile rheumatoid arthritis)
  • กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome) ที่เป็นความผิดปกติของผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิว (Mucous membranes)
  • กลุ่มอาการท็อกซิกช็อก (Toxic shock syndrome)
  • โรคหัด (Measles)
  • กลุ่มโรคที่เกิดจากเห็บ (Tick-borne illnesses) บางชนิด เช่น โรคไข้พุพองเทือกเขาร็อกกี (Rocky Mountain spotted fever)
  • โรคลูปัส (Lupus)

แหล่งข้อมูล:

  1. Kawasaki disease. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kawasaki-disease/symptoms-causes/syc-20354598 [2020, May 21].
  2. Kawasaki disease. https://www.nhs.uk/conditions/kawasaki-disease/ [2020, May 21].
  3. Kawasaki Disease. https://www.webmd.com/children/what-is-kawasaki-disease#1 [2020, May 21].