คัน คัน คัน (ตอนที่ 4 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 8 มีนาคม 2562
- Tweet
นอกจากนี้แพทย์อาจจ่าย
- ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) หรือยาแก้แพ้ เช่น Diphenhydramine
- ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ
- ยาสเตียรอยด์เพื่อลดอาการบวมและคัน
และแม้จะมีการใช้ยาแล้วก็ยังอาจมีอาการคันอยู่ ดังนั้นจึงอาจบรรเทาอาการคันด้วยการ
- ล้างด้วยน้ำเย็นหรือประคบด้วยผ้าเย็น
- ทาคาลาไมน์โลชั่น (Calamine lotion)
สำหรับการป้องกันโรคหิดทำได้ด้วยการ
- ทำความสะอาดเสื้อผ้าและเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนและทำให้แห้งด้วยความร้อนสูง เพราะตัวหิดจะตายด้วยการใช้ความร้อนที่ 50°C (122°F) เป็นเวลานาน 10-30 นาที
- ไม่ให้อาหารตัวหิดด้วยการเก็บสิ่งของที่ไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้ในถุงพลาสติกหรือสูญญากาศ แล้วแยกวางไว้นาน 2 สัปดาห์ ตัวหิดจะตายเองเพราะอดอาหาร
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหิด
- เนื่องจาก หิดที่เกิดในสัตว์จะเป็นคนละชนิดกับหิดที่เกิดในคน ดังนั้นคนจะไม่เป็นโรคหิดจากสัตว์ และหิดที่เกิดในสัตว์จะอยู่ในผิวคนได้นานประมาณ 2 วันจึงตาย แต่จะไม่สามารถแพร่เชื้อให้คนได้ อย่างไรก็ดี ควรทำการรักษาสัตว์ให้หายเพื่อไม่ให้หิดมาฝังอยู่ในร่างกายคน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคันชั่วคราว
- หิดไม่สามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายมนุษย์ได้มากกว่า 2-3 วัน ดังนั้นข้าวของเครื่องใช้ เช่น ผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าห่ม เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ของผู้ติดเชื้อ ควรได้รับการซักล้างในน้ำร้อนและทำให้แห้งด้วยความร้อน ส่วนสิ่งของที่ไม่สามารถซักหรือล้างได้ควรนำใส่ถุงพลาสติกหรือทำให้เป็นสูญญากาศ และไม่ควรสัมผัสเป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง หิดจะตายเอง
- ไม่ค่อยพบการติดโรคหิดจากการว่ายน้ำในสระ แต่มักพบจากการใช้ผ้าเช็ดตัวหรือเสื้อผ้าร่วมกับผู้ติดเชื้อมากกว่า
- อาการผื่นคันอาจคงนาน 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าจะมีการฆ่าตัวหิดหมดแล้ว โดยอาการที่คงอยู่อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น
- การติดเชื้อไปมา (Reinfestation) ระหว่างคนติดเชื้อ เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาในเวลาเดียวกัน
- เชื้อดื้อยาเพราะใช้ยาไม่ถูกวิธี หรือไม่มีการใช้ยาครั้งที่สองเมื่อเกิดอาการอีก ทั้งนี้ไม่ควรมีโพรงหรือร่องลึกใหม่เกิดอีกภายใน 24-48 ชั่วโมง หากใช้ยาได้ผล
- กรณีมีสะเก็ดทั่วตัวและรักษาไม่ได้ผล เป็นเพราะยาฆ่าหิดไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังที่หนาซึ่งมีตัวหิดอยู่เป็นจำนวนมากได้
- ยิ่งอยู่ใกล้ชิดกับคนเป็นหิดมากเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสในการติดเชื้อมากเท่านั้น เช่น การนอนด้วยกัน โดยเฉพาะคนที่เป็นสะเก็ดทั่วตัวจะแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเพราะมีหิดจำนวนมากอยู่ใต้ผิวหนังที่หนา
แหล่งข้อมูล:
- Scabies. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/scabies/symptoms-causes/syc-20377378 [2019, March 7].
- Scabies Frequently Asked Questions (FAQs). https://www.cdc.gov/parasites/scabies/gen_info/faqs.html [2019, March 7].
- Scabies. https://www.healthline.com/health/scabies [2019, March 7].