ความดันในกะโหลกศีรษะ ความดันในโพรงกะโหลกศีรษะ (Intracranial pressure)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 16 พฤศจิกายน 2556
- Tweet
ความดันในกะโหลกศีรษะ เป็นความดันตามปกติของสิ่งของ/อวัยวะทุกชนิดที่มีรูปคล้ายถุง หรือทรงกลม หรือทรงกระบอกที่ปิดโดยรอบ และมีโพรง/ช่องว่างอยู่ภายในนั้น ซึ่งกะโหลกศีรษะก็เช่นเดียวกัน ที่ประกอบกระดูกหลายชิ้น เป็นรูปเกือบกลมมีโพรงอยู่ภายใน โดยในโพรงนี้คือที่อยู่ของสมอง
ความดันของกะโหลกศีรษะจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ความดันโล หิต, ปริมาณน้ำ/ของเหลวในโพรงน้ำที่อยู่ในสมอง (Ventricle), การไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ที่ย่อว่า ซีเอสเอฟ (CSF, Cerebrospinal fluid), โรค/ภาวะผิดปกติต่างๆของเยื่อหุ้มสมอง และ/หรือของสมอง โดยเฉพาะการมีเนื้องอกหรือมะเร็งสมอง, หรือ การมีเลือดออกในกะโหลก (ในสมอง หรือใต้เยื่อหุ้มสมอง)
ภาวะปกติ ร่างกายจะมีกลไกปรับให้ความดันกะโหลกศีรษะไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยความดันกะโหลกศีรษะปกติจะอยู่ประมาณ 7-15 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) และความดันฯที่ขึ้นสูงถึง 20-25 มิลลิเมตรปรอท จึงจะก่อให้เกิดอาการ ซึ่งทั่วไป แพทย์วัดความดันกะโหลกศีรษะได้จากการเจาะหลัง
ทั้งนี้ ภาวะผิดปกติที่พบได้บ่อยของความดันในกะโหลกศีรษะ คือ ภาวะความดันในกะ โหลกศีรษะสูง ที่จะทำให้ผู้ป่วย ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ และอาเจียน (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com ในบทความเรื่อง ความดันในกะโหลกศีรษะสูง)
บรรณานุกรม
- Intracranial pressure http://en.wikipedia.org/wiki/Intracranial_pressure [2013,Nov8].