ความดันออสโมซิส (Osmotic pressure)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 7 ธันวาคม 2560
- Tweet
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- รูปแบบยาเตรียม (Pharmaceutical Dosage Forms)
- อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug Reaction)
- วัตถุเจือปนในอาหาร (Food additive)
ความดันออสโมซิส หรือ แรงดันออสโมซิส หรือ ความดันออสโมติก หรือ แรงดันออสโมติก(Osmotic pressure)หมายถึง ความดัน/แรงดันตามธรรมชาติในสารละลาย(Solution)ที่ต้านการเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ต่างๆของตัวทำละลาย/สารทำละลาย(Solvent)ที่อยู่ในสารละลาย ประโยชน์คือเป็นการป้องกันไม่ให้มีตัวทำละลายเข้าไปในเซลล์จนก่ออันตรายต่อเซลล์ได้
เมื่อสารละลายมีความดันออสโมซิสสูงกว่าในเซลล์ เรียกว่า Hypertonicity หรือ Hypertonic solution จะส่งผลให้สารน้ำ/ของเหลวในเซลล์ซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกมานอกเซลล์เข้าไปอยู่ในสารละลายนั้น ซึ่งภาวะนี้จะทำให้เซลล์เกิดการเหี่ยว (Shrink)จนเซลล์อาจถึงตายได้ในที่สุด
เมื่อสารละลายมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าในเซลล์ เรียกว่า Hypotonicity หรือ Hypotonic solution จะส่งผลให้สารละลาย/ตัวทำละลายซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้ามาในเซลล์ ซึ่งภาวะนี้จะทำให้เซลล์เกิดการบวม จนเซลล์อาจแตกสลายจนตายได้ในที่สุด
เมื่อสารละลายมีความดันออสโมซิสเท่ากับในเซลล์ เรียกว่า Isotonicity หรือ Isotonic solution จะส่งผลให้ ไม่มีการซึมผ่านของสารละลาย/ตัวทำละลายผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าสู่ในเซลล์ หรือ สารน้ำในเซลล์ไม่สามารถซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกมานอกเซลล์ได้ เซลล์จึงอยู่ในภาวะเป็นปกติ
อนึ่ง ออสโมซิส (Osmosis)หมายถึง การซึมผ่านตามธรรมชาติของตัวทำละลายในสารละลายที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้เมื่อตัวทำลาย/สารละลายนั้นมีความเข็มข้นสูงหรือต่ำกว่าสารน้ำ/ของเหลวภายในเซลล์
บรรณานุกรม