คลื่นเหียน (Nausea)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 25 กุมภาพันธ์ 2557
- Tweet
คลื่นเหียน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง มีอาการคลื่นไส้ จะอาเจียน
ทางการแพทย์ อาการคลื่นเหียน คือ อาการคลื่นไส้ คือ เป็นความรู้สึกที่ไม่สุขสบายของกระเพาะอาหาร ต้องการที่จะอาเจียนเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารออกมา
สาเหตุของอาการคลื่นเหียนมีมากมาย ทั้งจาก
- โรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ ตับอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ
- โรคทางระบบประสาท เช่น ไมเกรน
- ทางสูตินรีเวช เช่น แพ้ท้อง เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
- จากโรคมะเร็งต่างๆโดยเฉพาะในโรคระยะสุดท้าย
- จากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมนต่างๆ ยาปฏิชีวนะต่างๆ
- และอื่นๆอีกมากมาย
การดูแลตนเองเบื้องต้น เมื่อคลื่นเหียน คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ กินอาหารอ่อนครั้งละน้อยๆ แต่กินให้มากมื้อขึ้น
ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล ถ้าอาการคลื่นเหียนไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน หรือเมื่ออาการเลวลง หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น กินไม่ได้ น้ำหนักตัวลดลง มีไข้ อาเจียนรุนแรง อา เจียนเป็นเลือด ปวดท้องมาก และ/หรือ เมื่อกังวลในอาการ
บรรณานุกรม
- Nausea and vomiting http://www.mayoclinic.com/health/nausea/MY00572 [2014,Feb14].