คลอไดอะซิปอกไซด์ (Chlordiazepoxide)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 19 พฤษภาคม 2558
- Tweet
- บทนำ
- คลอไดอะซิปอกไซด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- คลอไดอะซิปอกไซด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- คลอไดอะซิปอกไซด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- คลอไดอะซิปอกไซด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- คลอไดอะซิปอกไซด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้คลอไดอะซิปอกไซด์อย่างไร?
- คลอไดอะซิปอกไซด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาคลอไดอะซิปอกไซด์อย่างไร?
- คลอไดอะซิปอกไซด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และโรคซึมเศร้า (Stress, Depression and Depressive disorder)
- โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)/
- โรคจิต (Psychosis)
- โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder หรือ MDD)/
- โยานอนหลับ (Sleeping pill)/
- ยาคลายเครียด ยากล่อมประสาท (Transquilizer Drugs)/
- ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxants drugs)/
- รักษาอาการวิตกกังวล
- ใช้เป็นยานอนหลับ
- รักษาอาการติดสุราเรื้อรัง
- ใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อ
- ใช้เป็นยาร่วมก่อนวางยาสลบกับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 5 และ 25 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาเม็ดที่ผสมร่วมกับยาอื่นเช่น Chlordiazepoxide HCl 5 มิลลิกรัม + Clidinium Bromide (ยาลดกรด) 2.5 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาแคปซูลขนาด 5, 10, 25 และ 100 มิลลิกรัม/แคปซูล
- สำหรับรักษาอาการวิตกกังวล :
- ผู้ใหญ่: รับประทานวันละ 30 มิลลิกรัม/วัน หากมีอาการรุนแรงแพทย์สามารถปรับขนาดรับ ประทานเป็น 100 มิลลิกรัม/วัน
- ผู้สูงอายุและเด็ก: แพทย์จะเป็นผู้ปรับ/ลดขนาดรับประทานตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละกรณีไป
- ใช้เป็นยานอนหลับ:
- ผู้ใหญ่: รับประทาน 10 - 30 มิลลิกรัมวันละครั้งก่อนนอน
- เด็ก: ยังไม่มีข้อมูลทางการศึกษาที่แน่ชัดถึงการใช้ยานี้ในเด็ก การใช้ยานี้ในเด็กจึงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาคลอไดอะซิปอกไซด์อาจส่ง ผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ให้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีระบบทางเดินหายใจขัดข้องหรืออุดตัน
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตประสาทชนิดเรื้อรัง
- ห้ามใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามปรับขนาดการรับประทานยานี้เอง
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้สูงอายุและเด็ก
- ห้ามรับประทานยานี้พร้อมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ด้วยจะก่อให้เกิดภาวะสงบ/กดประสาทอย่างมากจนถึงขั้นหมดสติและโคม่าได้
- ระวังการติดยา
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ โรคไต
- ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้เป็นเวลานานๆเพราะอาจติดยาจึงควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
- การใช้ยาคลอไดอะซิปอกไซด์ร่วมกับยา Cimetidine จะทำให้ปริมาณตัวยาคลอไดอะซิปอกไซด์ในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้นจนอาจส่งผลมากเกินต่อระบบประสาทของผู้ป่วย หากจำเป็น ต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
- การใช้ยาคลอไดอะซิปอกไซด์ร่วมกับยา Fentanyl, Hydrocodone (ยาแก้ปวดในกลุ่มยาฝิ่น) และ Chlorpheniramine อาจทำให้มีอาการข้างเคียง/ผลข้างเคียงตามมาเช่น ง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ ขาดสติสัมปชัญญะ หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยาคลอไดอะซิปอกไซด์ร่วมกับยา Disulfiram (ยารักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง) อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนอย่างมากจนถึงขั้นหายใจช้าและเบามากจนอาจหยุดหายใจ หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยาคลอไดอะซิปอกไซด์ร่วมกับยาชาเช่น Lidocaine จะทำให้เกิดผลข้างเคียงของยาคลอไดอะซิปอกไซด์ได้มากยิ่งขึ้นเช่น วิงเวียน ง่วงนอน และรู้สึกสับสน หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน ผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงการขับรถหรือการทำงานที่ต้องควบคุมเครื่องจักร
บทนำ
ยาคลอไดอะซิปอกไซด์ (Chlordiazepoxide) เป็นยากลุ่มเบนโซไดอะซิปีน (Benzodiaze pine) ชนิดสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ถูกนำมารักษาอาการวิตกกังวล ภาวะนอนไม่หลับ ตลอดจนรักษาการติดสุราเรื้อรัง ได้มีการค้นพบยานี้โดยบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) ในเวลาต่อมาก็เริ่มใช้ในวงการแพทย์มากขึ้น โดยยาชื่อการค้าที่รู้จักกันในต่างประเทศคือ “Librium”
รูปแบบของยาแผนปัจจุบันของยานี้จะเป็นยารับประทานและยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ โดยจัด เป็นยาที่มีระยะเวลาของการออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 5 - 30 ชั่วโมง การดูดซึมของยานี้จากทางเดินอาหารค่อนข้างดี หลังรับประทานยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายในระยะเวลาประมาณ 1 - 2 ชั่ว โมง ตัวยาส่วนใหญ่เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะเข้าจับกับพลาสมาโปรตีนได้ถึงประมาณ 96% จาก นั้นยาจะถูกลำเลียงส่งไปยังตับเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีอย่างต่อเนื่อง
ยาคลอไดอะซิปอกไซด์สามารถซึมผ่านรกและน้ำนมของมารดาได้ จึงมีข้อจำกัดของการใช้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ยานี้สามารถกำจัดออกจากร่างกายโดยผ่านไปกับปัสสาวะและอุจจาระ
สำหรับประเทศไทยโดยคณะกรรมการอาหารและยาได้บรรจุให้ยานี้อยู่ในบัญชียาหลักแห่ง ชาติ แต่ด้วยเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อการทำงานที่สมอง จึงกำหนดให้ยาคลอไดอะซิปอกไซด์เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 4 ดังนั้นก่อนการใช้ยากับผู้ป่วยจึงต้องมีใบสั่งจากแพทย์ ผู้รักษาทุกครั้ง
คลอไดอะซิปอกไซด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาคลอไดอะซิปอกไซด์มีสรรพคุณดังนี้เช่น
คลอไดอะซิปอกไซด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาคลอไดอะซิปอกไซด์คือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการส่งผ่านของสารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า GABA (Gamma-aminobutyric acid) ในส่วนต่างๆของสมอง จากนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของสมดุลเคมีตามมา นอกจากนี้ยังออกฤทธิ์ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อลาย และแสดงฤทธิ์ต้านอาการลมชักอีกด้วย จากกลไกดังกล่าวจึงทำให้เกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ
คลอไดอะซิปอกไซด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาคลอไดอะซิปอกไซด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้เช่น
คลอไดอะซิปอกไซด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
*อนึ่ง สามารถรับประทานยานี้ก่อนหรือพร้อมอาหารก็ได้
*****หมายเหตุ:
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาคลอไดอะซิปอกไซด์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรดังนี้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาคลอไดอะซิปอกไซด์สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้ เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
คลอไดอะซิปอกไซด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาคลอไดอะซิปอกไซด์ สามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้เช่น เกิดภาวะติดยา มีความรู้สึกก้าวร้าว ง่วงนอน ดีซ่าน ตับทำงานผิดปกติ รู้สึกสับสน คลื่นไส้ ตัวบวม มีผื่นคัน การทรงตัวของร่างกายผิดปกติ บางคนจะมีอาการคล้ายเป็นลม
สำหรับผู้ที่ได้รับยานี้เกินขนาดจะพบอาการหมดสติ ความดันโลหิตต่ำ วิงเวียน อ่อนแรง มีภาวะหายใจแผ่วเบา ไม่สามารถทรงตัวได้ บางรายอาจพบภาวะโคม่า หากพบอาการดังกล่าวควรรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที สำหรับยาที่ใช้ต้านพิษคลอไดอะซิปอกไซด์ได้แก่ ยา Flumazenil
มีข้อควรระวังการใช้คลอไดอะซิปอกไซด์อย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาคลอไดอะซิปอกไซด์ ดังนี้เช่น
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาคลอไดอะซิปอกไซด์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
คลอไดอะซิปอกไซด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาคลอไดอะซิปอกไซด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้เช่น
ควรเก็บรักษาคลอไดอะซิปอกไซด์อย่างไร?
ควรเก็บรักษายาคลอไดอะซิปอกไซด์ภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius) ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือรถยนต์
คลอไดอะซิปอกไซด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาคลอไดอะซิปอกไซด์ที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Benpine (เบนปีน) | Atlantic Lab |
Chlordiazepoxide Acdhon (คลอไดอะซิปอกไซด์ แอคฮอน) | Acdhon |
Chlordiazepoxide March Pharma (คลอไดอะซิปอกไซด์ มาร์ช ฟาร์มา) | March Pharma |
Chlordibrax (คลอดิแบรกซ์) | Utopian |
Chlordixide (คลอดิไซด์) | Lerd Singh |
Comoben (โคโมเบน) | A N H Products |
Chlordiazepoxide Acdhon (Cozep (โคเซพ) | Central Poly Trading |
Dirax (ดิแรกซ์) | Medicpharma |
Epoxide (อีปอกไซด์) | PP Lab |
Kenspa (เคนสปา) | Kenyaku |
Librax (ไลแบรกซ์) | A.Menarini |
บรรณานุกรม
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Chlordiazepoxide [2015,May9]
2. http://www.mims.com/usa/drug/info/chlordiazepoxide/?type=full&mtype=generic [2015,May9]
3. http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/medicine/essential/list/62#item-8475 [2015,May9]
4. http://www.drugs.com/drug-interactions/chlordiazepoxide-index.html?filter=3&generic_only= [2015,May9]
5. http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=chlordiazepoxide [2015,May9]