คลอร์เพน็อกซามีน (Chlorphenoxamine)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 18 กรกฎาคม 2560
- Tweet
- บทนำ
- คลอร์เพน็อกซามีนมีสรรพคุณ(คุณสมบัติ)อย่างไร?
- คลอร์เพน็อกซามีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- คลอร์เพน็อกซามีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- คลอร์เพน็อกซามีนมีขนาดการบริหารยาอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมทายาควรทำอย่างไร?
- คลอร์เพน็อกซามีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้คลอร์เพน็อกซามีนอย่างไร?
- คลอร์เพน็อกซามีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาคลอร์เพน็อกซามีนอย่างไร?
- คลอร์เพน็อกซามีนมีชื่ออื่นอีกไหม?ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแอนติฮิสตามีน (Antihistamine drug)
- Anticholinergics
- ตุ่มแพ้แมลงกัด (Insect bite reaction)
- ตุ่มมดกัด (Ant bites)
- ผึ้ง ต่อ มด กัดต่อย: การปฐมพยาบาล การรักษาและการป้องกัน (Bee, Wasp, Hornet, and Ant stings)
- การปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงกะพรุนต่อย (Jellyfish stings)
บทนำ
ยาคลอร์เพน็อกซามีน (Chlorphenoxamine หรือ Chlorphenoxamine hydrochloride หรือ Chlorphenoxamine HCl หรือ Phenoxene )ถูกใช้เป็นยาต้านฮีสตามีน(Antihistamine) และยังแสดงฤทธิ์เป็นสาร/ยาประเภทแอนตี้โคลิเนอจิก(Anticholinergics)อีกด้วย ยาคลอร์เพน็อกซามีนยังมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับยาไดเฟนไฮดรามีน(Diphenhydramine) ทางคลินิกจึงนำยานี้มาบำบัดรักษาอาการทางผิวหนังเช่น ผื่นคัน ลมพิษ แมลงกัด/ต่อย อาการผิวถูกแดดเผา ผิวหนังอักเสบจากพิษแมงกะพรุน/แมงกะพรุ่นต่อย รูปแบบเภสัชภัณฑ์ของยาคลอร์เพน็อกซามีนเป็นยาทาผิวภายนอกทั้งประเภทยาครีมและยาขี้ผึ้ง
สำหรับข้อจำกัดการใช้ยาคลอร์เพน็อกซามีนบางประการที่ผู้บริโภค/ผู้ป่วยควรทราบ เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้ หรือแพ้ส่วนประกอบในสูตรตำรับของยาคลอร์เพน็อกซามีน
- ห้ามใช้ยานี้ทารักษาผิวหนังอักเสบจาก เชื้อซิฟิลิส เชื้อวัณโรค เชื้อรา โรคฝีดาษ แผลผิวหนังอักเสบจากการฉีดวัคซีน แผลจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และสิวที่มีสาเหตุจากการใช้ยาประเภทสเตียรอยด์
ผู้ป่วยสามารถใช้ยาคลอร์เพน็อกซามีนทาผิวหนังได้บ่อยตามอาการแพ้ที่เกิดขึ้น โดยต้องทายาบริเวณผิวหนังที่มีอาการแพ้เท่านั้น ห้ามทายาเป็นบริเวณกว้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กเล็ก ด้วยเป็นการป้องกันมิให้เกิดการดูดซึมตัวยานี้จากทางผิวหนังเข้าสู่ร่างกายซึ่งอาจทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย รู้สึกสับสน รูม่านตาขยาย สำหรับผู้ใหญ่ หากทายานี้เป็นปริมาณมากจนเกินไป อาจทำให้รู้สึกอ่อนแรงและปากแห้งตามมา *กรณีพบเห็นอาการเหล่านี้หลังใช้ยานี้ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ควรรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อให้แพททย์ตรวจดูแลอาการ
ยาคลอร์เพน็อกซามีนเป็นยาทาภายนอก การใช้ยาอย่างถูกต้องมักจะไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียง(ผลข้างเคียง)ต่อระบบอวัยวะต่างๆในร่างกาย ดังนั้น เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการใช้ยานี้ ผู้บริโภคควรศึกษารายละเอียดการใช้ยาได้ จากแพทย์หรือจากเภสัชกร รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำของเอกสารกำกับยาที่แนบมากับตัวผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ในบ้านเราจะพบเห็นการจัดจำหน่ายยานี้ภายใต้ชื่อการค้าว่า “Systral”
คลอร์เพน็อกซามีนมีสรรพคุณ(คุณสมบัติ)อย่างไร?
ยาคลอร์เพน็อกซามีนมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เพื่อ
- ใช้ทาผิวหนังภายนอกที่เกิดอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน ลมพิษ หรือผื่นผิวหนัง อักเสบจากสาเหตุ แมลงกัด แพ้แมงกะพรุน อาการแพ้แสงแดด
คลอร์เพน็อกซามีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาคลอร์เพน็อกซามีนมีกลไกการออกฤทธิ์ต่อต้านสารฮีสตามีน(Antihistamine) และแสดงฤทธิ์เป็นแอนตี้โคลิเนอจิก(Anticholinergic) จึงใช้บรรเทาอาการแพ้ทางผิวหนัง เช่น ขึ้นผื่น อาการแสบคัน อักเสบ โดยสามารถใช้ยานี้ทาบรรเทาอาการแพ้ได้บ่อยตามความเหมาะสมของอาการแพ้ที่เกิดขึ้น
คลอร์เพน็อกซามีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาคลอร์เพน็อกซามีนมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
- ยาครีม หรือยาขี้ผึ้ง ทาผิวภายนอก ที่ประกอบด้วย Chlorphenoxamine hydrochloride ขนาด 15 มิลลิกรัม/กรัม
คลอร์เพน็อกซามีนมีขนาดการบริหารยาอย่างไร?
ยาคลอร์เพน็อกซามีน มีขนาดการบริหารยา/ใช้ยา เช่น
- ผู้ใหญ่: ทายาในบริเวณผิวหนังที่มีอาการแพ้ อักเสบ เพียงบางๆ โดยความถี่ การทายานี้ ทายานี้ได้บ่อยตามอาการ หรือ ให้เป็นไปตามคำสั่งแพทย์
- เด็ก: การใช้ยานี้กับเด็กให้ใช้เท่าที่จำเป็น และทายาเฉพาะตรงรอยโรคเท่านั้น หรือ เป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์
อนึ่ง:
- ไม่ควรใช้ยานี้ต่อเนื่อง นานเกิน 3 วัน
*****หมายเหตุ: ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมยา คลอร์เพน็อกซามีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ อย่างเช่น โรคติดเชื้อทางผิวหนัง รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาคลอร์เพน็อกซามีน อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมทายาควรทำอย่างไร?
กรณีที่ลืมทายาคลอร์เพน็อกซามีน สามารถทายาทันทีที่นึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการใช้ยาในครั้งถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า ให้ทายาในขนาดปกติ
แต่อย่างไรก็ดี การใช้ยาคลอร์เพน็อกซามีนอย่างถูกต้องตามคำสั่งแพทย์ จะทำให้อาการแพ้ทางผิวหนังดีขึ้นเป็นลำดับ
คลอร์เพน็อกซามีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
การใช้ยาคลอร์เพน็อกซามีนต่อเนื่องเป็นเวลานานเกินไป อาจทำให้เกิดผลไม่พึงประสงค์จากยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)จากยานี้ได้ เช่น ทำให้ผิวหนังที่สัมผัสยานี้ฝ่อ/บาง เส้นเลือดดำฝอยบริเวณผิวหนังที่สัมผัสยานี้ขยายตัวผิดปกติ (Telangiectasia)
มีข้อควรระวังการใช้ไดเอทิลโพรพิออนอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาไดเอทิลโพรพิออน เช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามปรับขนาดการใช้ยาด้วยตนเองและใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ
- ห้ามใช้ยาที่มีสภาพเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น สียา/กลิ่นยาเปลี่ยน ตัวยาเหลวเป็นน้ำ
- ห้ามใช้ยานี้ต่อเนื่องนานเกิน 3 วัน
- ห้ามใช้ยานี้บำบัดอาการแพ้ทางผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อวัณโรค ซิฟิลิส การติดเชื้อรา เช่น กลาก
- การใช้ยานี้กับสตรีมีครรภ์/ตั้งครรภ์ สตรีในภาวะให้นมบุตร และเด็ก ต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์
- กรณีที่ใช้ยานี้แล้วไม่ได้ผล ให้รีบกลับมาปรึกษาแพทย์/มาโรงพยาบาล
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา”ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาคลอร์เพน็อกซามีนด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด(อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอ
คลอร์เพน็อกซามีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ด้วยยาคลอร์เพน็อกซามีนเป็นยาทาผิวหนังใช้ภายนอก จึงยังไม่พบรายงานทางคลินิกว่า ยานี้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยารับประทานชนิดใดๆ
ควรเก็บรักษาคลอร์เพน็อกซามีนอย่างไร?
ควรเก็บยาไดเอทิลโพรพิออนภายใต้อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส(Celsius) ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งตู้เย็น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์ และเก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อน และความชื้น
คลอร์เพน็อกซามีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาไดเอทิลโพรพิออน มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Allergex (แอลเลอร์เจ็กซ์) | Egyptian Int. Pharmaceutical. |
Systral (ซิสทรัล) | SIDEFARMA |
บรรณานุกรม
- http://www.sidefarma.pt/sidefarma/produtos_otc_systral.asp?Language=EN[2017,July1]
- http://pharmacia1.com/wp-content/uploads/2016/02/ALLERGEX-CREAM-PATIENT-INFORMATION-LEAFLET.pdf[2017,July1]
- http://www.mims.com/thailand/drug/info/chlorphenoxamine/?type=brief&mtype=generic[2017,July1]
- https://en.wikipedia.org/wiki/Chlorphenoxamine[2017,July1]