คนขี้แพ้ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

คนขี้แพ้-3

      

การป้องกัน (ต่อ)

  • แจ้งแพทย์ทุกครั้งว่าตนเองแพ้ยาอะไร
  • กรณีที่แพ้แมลงสัตว์กัดต่อย ให้ระวังด้วยการสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว ไม่เดินเท้าเปล่าบนหญ้า ไม่ใส่น้ำหอม โคโลญน์ หรือทาโลชั่นที่มีกลิ่น
  • กรณีที่แพ้อาหารให้อ่านฉลากอย่างระมัดระวังก่อนซื้อหรือกิน
  • ให้ระวังว่าอาหารบางชนิดที่อาจมีส่วนประกอบของสารที่ทำให้แพ้ได้ เช่น ซอสบางประเภทที่มีส่วนผสมของแป้งสาลีและถั่วลิสง

ทั้งนี้ ให้คอยสังเกตตัวเองทันทีที่มีอาการและรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคด้วยการคำถามถึงคำถามเกี่ยวกับอาการแพ้ว่าเกิดจากอะไร เช่น อาหารบางชนิด ยา น้ำยาง แมลงต่อย เป็นต้น และเพื่อยืนยันถึงการวินิจฉัย แพทย์อาจให้ทำการตรวจดังต่อไปนี้เพื่อหาว่าปฏิกิริยาแพ้มีอะไรเป็นสาเหตุ

  • การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด (Skin prick test)
  • การตรวจเลือด (Blood test)

สำหรับการรักษา กรณีฉุกเฉินที่ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น อาจได้รับการปั๊มหัวใจ (Cardiopulmonary resuscitation = CPR) และอาจได้รับ

  • ยาอะดรีนาลีนเพื่อลดอาการแพ้ ซึ่งหากอาการไม่ดีขึ้น ใน 5-15 นาที ให้ฉีดเข็มที่ 2 ได้
  • การให้ออกซิเจนเพื่อช่วยเรื่องการหายใจ
  • การให้ยาต้านฮิสทามีน (Antihistamines) และ คอร์ติโซน (Cortisone) ทางหลอดเลือดเพื่อลดอาการอักเสบของทางเดินหายใจและทำให้หายใจได้ดีขึ้น
  • การให้สารในกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์ (Beta-Agonist) เพื่อใช้บรรเทาอาการโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม

ส่วนกรณีฉุกเฉินให้ปฏิบัติดังนี้

  • เรียก รถพยาบาลฉุกเฉิน
  • ฉีด Epinephrine ที่ต้นขา เพื่อลดอาการแพ้
  • ให้ผู้ป่วยนอนราบยกขาสูง
  • กรณีที่หายใจไม่ออก ให้อยู่ในท่านั่งจะช่วยให้หายใจสะดวกกว่าท่านอน
  • ตรวจชีพจรและการหายใจ ถ้าจำเป็นให้ปั๊มหัวใจ CPR

แหล่งข้อมูล:

  1. Anaphylaxis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/anaphylaxis/symptoms-causes/syc-20351468 [2020, July 31].
  2. Anaphylaxis. https://www.nhs.uk/conditions/anaphylaxis/ [2020, July 31].