คนขี้แพ้ (ตอนที่ 2)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 1 สิงหาคม 2563
- Tweet
หรือบางทีอาจไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด (Idiopathic anaphylaxis) ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะช็อคและมีอาการดังต่อไปนี้
- ความดันโลหิตลดต่ำลง (Hypotension) ทันทีทันใด
- มีปฏิกิริยาที่ผิวหนัง เช่น ผิวหนังเป็นผื่นคัน เป็นลมพิษ ผิวแดงหรือซีด
- ทางเดินหายใจแคบลง ลิ้นหรือคอบวม ทำให้หายใจเป็นเสียงหวี้ด หายใจลำบาก
- ชีพจรเต้นอ่อนเร็ว
- คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
- เวียนศีรษะหรือเป็นลม
- หมดสติ
ทั้งนี้ ออนาฟัยแลกซิสจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน และอาการจะแย่ลงอย่างรวดเร็ว จนอาจเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดออนาฟัยแลกซิสอาจได้แก่
- เคยเป็นออนาฟัยแลกซิสมาก่อน – การเป็นอีกอาจมีอาการรุนแรงมากกว่าครั้งก่อน
- โรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืด
- ภาวะบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรค Mastocytosis
ส่วนการป้องกันนั้น เนื่องจาก ออนาฟัยแลกซิสอาจเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การหลีกเลี่ยงสารที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงนั้น นอกจากนี้ควร
- สวมอุปกรณ์ที่ระบุว่าตนเองแพ้ยาหรือสารอะไรเป็นพิเศษ เช่น สร้อยคอ คอมือ เป็นต้น
- พกอุปกรณ์ฉุกเฉินที่สามารถหยิบใช้ได้ทุกเมื่อ เช่น ยาอะดรีนาลินแบบพกชนิดสาเร็จรูปพร้อมใช้งาน (Epinephrine autoinjector) โดยปฏิบัติดังนี้
- พกยาอะดรีนาลินแบบพกชนิดสาเร็จรูปพร้อมใช้งานอย่างน้อย 2 หลอด
- หลีกเลี่ยงการเก็บยาอะดรีนาลินในที่ร้อนเพราะจะทำให้ยาเสื่อมประสิทธิภาพได้
- ตรวจสอบวันหมดอายุของยาอยู่เสมอ
- มีการเติมยาอยู่เสมอ
ทั้งนี้ มี Epinephrine autoinjector หลักๆ อยู่ 3 ชนิด ได้แก่
- EpiPen
- Jext
- Emerade
แหล่งข้อมูล:
- Anaphylaxis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/anaphylaxis/symptoms-causes/syc-20351468 [2020, July 31].
- Anaphylaxis. https://www.nhs.uk/conditions/anaphylaxis/ [2020, July 31].