ขี้แมวขึ้นสมอง (ตอนที่ 5 และตอนจบ)

ขี้แมวขึ้นสมอง-5

      

สำหรับการป้องกันทำได้ด้วยการ

  • สวมถุงมือเมื่อทำสวนหรือสัมผัสดิน และล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
  • กินอาหารที่ปรุงสุก ไม่กินเนื้อสดหรือเนื้อที่ไม่สุก
  • ล้างภาชนะเครื่องครัวให้สะอาดหลังการเตรียมเนื้อสดเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
  • ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด
  • ดื่มนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น

ส่วนผู้ที่ชอบเลี้ยงแมวหรือผู้ตั้งครรภ์ให้ระวังดังนี้

  • ดูแลแมวให้อยู่ในบ้านและเลี้ยงด้วยอาหารแห้งหรืออาหารกระป๋องไม่ใช่เนื้อสด เพราะแมวสามารถติดเชื้อหลังจากกินเหยื่อที่ติดเชื้อหรืออาหารที่ไม่สุกและมีเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการเล่นกับแมวเร่ร่อน
  • ทำความสะอาดกรงแมวทุกวัน โดยก่อนทำความสะอาดกรงแมวให้สวมถุงมือและหน้ากาก และหลังทำความสะอาดล้างมือให้สะอาด

การวินิจฉัยโรคนี้ทำได้ยาก เนื่องจากโรคนี้จะมีอาการคล้ายโรคหวัดและโรคโมโนนิวคลิโอสิส (Mononucleosis) อย่างไรก็ดี กรณีที่แพทย์สงสัยอาจให้ผู้ป่วยทำการตรวจเลือดเพื่อหาสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี (Antibody) ซึ่งอาจต้องทำการตรวจหลายครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีเชื้อแน่นอน

กรณีหญิงตั้งครรภ์และมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดโดยการ

  • เจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) หลังครรภ์อายุ 15 สัปดาห์
  • อัลตราซาวด์

อย่างไรก็ดีหลังคลอดและช่วงระหว่าง 1 ปีแรก ก็ควรทำการตรวจด้วยเช่นกัน

ด้านการรักษา ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่ต้องรักษายกเว้นกรณีที่มีอาการเฉียบพลัน โดยแพทย์อาจจ่ายยาดังต่อไปนี้

  • Pyrimethamine - ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย (กรณีที่ใช้ปริมาณสูงเป็นระยะเวลานานมีผลข้างเคียง คือ ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมโฟเลตหรือวิตามินบี 9 กดการทำงานของไขกระดูก (Bone marrow suppression) และเป็นพิษต่อตับ
  • Sulfadiazine - เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ร่วมกับยา Pyrimethamine เพื่อรักษาโรคท็อกโซพลาสโมซิส
  • Folinic acid

แหล่งข้อมูล:

  1. Toxoplasmosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pityriasis-rosea/symptoms-causes/syc-20376405 [2020, Jul 22].
  2. Parasites - Toxoplasmosis (Toxoplasmo infection). https://www.cdc.gov/parasites/toxoplasmosis/gen_info/faqs.html [2020, Jul 22].