ของของข้า ใครอย่าแตะ (ตอนที่ 2)

ของของข้าใครอย่าแตะ-1

      

โดยรายการของที่เก็บอาจจะเป็น

  • หนังสือพิมพ์ แมกกาซีน
  • หนังสือ
  • เสื้อผ้า
  • แผ่นพับ จดหมาย
  • กล่องใส่ของ
  • ถุงพลาสติก
  • ขวดน้ำพลาสติก
  • ของใช้ในครัวเรือน
  • สัตว์เลี้ยง (ที่มากจนไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง)

เรายังไม่ทราบสาเหตุของโรคเก็บสะสมของที่ชัดเจน แต่อยู่ระหว่างการศึกษาว่ามีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ การทำงานของสมอง และความเครียดในชีวิตหรือไม่ ทั้งนี้ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคนี้ ได้แก่

  • บุคลิกภาพ – มักเป็นคนที่ไม่กล้าตัดสินใจ
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็น
  • ความเครียด
  • ได้รับบาดเจ็บที่สมอง

สำหรับอาการแทรกซ้อนของโรคเก็บสะสมของที่เกิดขึ้นอาจได้แก่

  • ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม ของหล่นทับ
  • เกิดความขัดแย้งในครอบครัว
  • มีความโดดเดี่ยว เหงา
  • ไม่รักษาความสะอาด มีสุขอนามัยที่ไม่ดี

นอกจากนี้อาจมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ เช่น

  • หดหู่ ซึมเศร้า (Depression)
  • วิตกกังวล (Anxiety disorders)
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder = OCD)
  • โรคสมาธิสั้น (Attention-deficit/hyperactivity disorder = ADHD)
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)

แหล่งข้อมูล:

  1. Hoarding disorder. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hoarding-disorder/symptoms-causes/syc-20356056 [2021, October 22].
  2. Hoarding disorder. https://www.nhs.uk/mental-health/conditions/hoarding-disorder/[2021, October 22].
  3. Hoarding Disorder. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17682-hoarding-disorder [2021, October 22].
  4. What is hoarding disorder? https://www.medicalnewstoday.com/articles/326369 [2021, October 22].