การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์ (Preparing for your doctor’s visit)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 27 ตุลาคม 2554
- Tweet
ในการพบแพทย์ทุกๆคนและทุกๆครั้งของการพบแพทย์ ผู้ป่วยและ/หรือครอบครัว ควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเสมอ เพื่อให้สามารถพูดคุยซักถามแพทย์ได้อย่างที่อยากทราบ ลดโอ กาสเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาย้อนกลับไปกลับมาโดยไม่จำเป็น และเมื่อใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐบาล ต้องเข้าใจและยอมรับสภาพความแออัดของปริมาณผู้ป่วย ซึ่งจะก่อให้เกิดความล่า ช้าในการให้บริการเป็นอย่างมาก
การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์ที่สำคัญคือ
- วันที่พบแพทย์ ไม่ควรมีการนัดหมายงานสำคัญ อย่างน้อยๆก็ครึ่งวัน เพราะจะกำหนดเวลาแล้วเสร็จได้ไม่แน่นอน การมีนัดอื่นๆจะส่งผลให้หงุดหงิดและเกิดอารมณ์ได้ง่าย
- เตรียมเอกสารต่างๆที่ต้องใช้ให้พร้อม วางไว้ในที่ที่จะไม่ลืม เช่น บัตรประชาชน เอกสารการใช้สิทธิรักษาพยาบาลต่างๆและจดหมายส่งตัว
- เตรียมผลการตรวจต่างๆโดยเฉพาะตัวเอกซเรย์ (รวมทั้งใบอ่านผล) เพราะบ่อยครั้งแพทย์ต้องทบทวนเอกซเรย์ด้วยตนเองร่วมกับใบอ่านผล อ่านเพียงใบอ่านผลอย่างเดียว อาจแปลผลการตรวจผิดพลาดได้ วางไว้ที่เดียวกับเอกสารที่ต้องนำไปด้วย
- เตรียมหรือจดชื่อยาต่างๆที่กินอยู่หรือใช้อยู่ไปด้วย พร้อมนับเม็ดยาที่เหลืออยู่ เพื่อแจ้งแพทย์ ซึ่งจะช่วยการวินิจฉัยโรคของแพทย์ให้ถูกต้องขึ้น เพราะอาการบางอย่างอาจมาจากผลข้าง เคียงของยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ และแพทย์จะสั่งยาได้ถูกต้องทั้งจำนวนของยา รวมทั้งไม่สั่งยาซ้ำ ซ้อน ถ้าเขียนชื่อยาไม่ถูก (ชื่อยา มักเขียนอยู่บนซองยา โดยทั่วไปมักเป็นภาษาอังกฤษ) นำยาที่เหลือมาทั้งซองยา
- อย่าลืมแว่นตา ถ้าต้องอ่านเขียนโดยต้องใช้แว่นตา
- จัดกระเป๋าถือ แว่นตา พร้อมเอกสารต่างๆ ผลตรวจต่างๆ เอกซเรย์ต่างๆให้พร้อม วางไว้ที่เดียว กัน
- ควรมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลานัดเสมอ เพราะต้องพบเจ้าหน้าที่อื่นๆก่อน เพื่อเตรียมเอกสารในการพบแพทย์ตามขั้นตอนของโรงพยาบาล
- ทบทวนถึงอาการของตนเอง โดยเฉพาะอาการที่ต้องการปรึกษาแพทย์ รวมทั้งข้อมูลและเรื่องต่างๆที่ต้องการปรึกษาแพทย์ เช่น การปฏิบัติตน อาหาร ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เป็นต้น พร้อมจดบันทึก (เขียนเป็นลำดับ 1, 2 ,3,---จะเพิ่มความสะดวกในการถามให้เร็วขึ้น) เพื่อแจ้งแพทย์ได้ถูกต้องครบถ้วน
- เมื่อมีปัญหาในการรักษาพยาบาล ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา เช่น ไม่มีที่พัก ไม่มีค่ารักษาพยาบาล หรือมีโรคประจำตัวร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น
- มีสมุดบันทึก ปากกาหรือดินสอ มาด้วยเสมอ เพื่อจดคำอธิบายและคำแนะนำของแพทย์
- ถ้ามีหนังสือหรือสามารถใช้อินเทอร์เนตเป็น ควรอ่านเรื่องอาการของตนเองมาบ้าง เพื่อมีประ เด็นถามแพทย์ตามที่ต้องการ
- แต่งตัวรวมทั้งรองเท้า ควรให้สวมถอดและใส่ได้ง่ายรวดเร็ว เพื่อความคล่องตัวในการตรวจร่าง กาย
- ถ้าอดอาหารและน้ำดื่มได้ ควรอดอาหารและน้ำดื่ม เพื่อมีการตรวจเลือด หรือถ้าอดไม่ได้ให้กินอาหารเช้าแต่เช้ามืด ที่เป็นอาหารอ่อนปริมาณไม่มากเพียงพอประทังความหิว เพื่อมีการตรวจเลือดจะได้สามารถตรวจได้ในวันนั้นในช่วงบ่าย ไม่ต้องย้อนกลับมาตรวจใหม่อีกวัน (โดยทั่วไป การเจาะเลือดมักต้องงดอาหารก่อนเจาะประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง)
- ในการพบแพทย์ครั้งแรก ควรมีเพื่อนหรือญาติที่บรรลุนิติภาวะแล้วมาด้วยเสมอ เพื่อช่วยฟังคำ แนะนำและจดบันทึกคำแนะนำของแพทย์
- ในการรักษาโรคที่มีความรุนแรงสูง เช่น โรคมะเร็งหรือการผ่าตัด ญาติที่มาด้วยต้องเป็นญาติสายตรง (บิดา มารดา สามี ภรรยา หรือบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว) เพื่อการร่วมตัดสินใจในการรัก ษา และเพื่อการเซ็นต์ยินยอมรักษาหรือเซ็นต์ปฏิเสธการรักษา
Updated 2014, July 19