การวินิจฉัยโรค (Medical diagnosis) การวินิจฉัยทางคลินิก (Clinical diagnosis) การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory diagnosis) การวินิจฉัยทางรังสีวิทยา (Radiological diagnosis) การวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา (Pathological diagnosis) การวินิจฉัยสุดท้าย (Final diagnosis) การวินิจฉัยด้วยการรักษา (Therapeutic diagnosis)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 21 สิงหาคม 2556
- Tweet
“การวินิจฉัยโรค” (Medical diagnosis) หรือ “การตรวจวินิจฉัยโรค” โดยทั่วไป แพทย์เรียกย่อว่า Diagnosis เป็นกระบวนการซึ่งเป็นขั้นตอนในการตรวจโรคของแพทย์ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุการเกิดโรค อาการ หรือ ภาวะผิดปกติต่างๆ เพื่อการรักษา ติดตามผล การรักษาที่รวมทั้งผลข้างเคียงจากวิธีรักษา และเพื่อการประเมินสุขภาพผู้ป่วย หลักการวินิจฉัยโรค มี 2 วิธีคือ
- “การวินิจฉัยทางคลินิก หรือ การตรวจวินิจฉัยโรคทางคลินิก (Clinical diagnosis)” เป็นการวินิจฉัยโรคที่ได้จากการสอบถามอาการผู้ป่วย สอบถามประวัติทางการ แพทย์ต่างๆของผู้ป่วย และการตรวจร่างกาย ซึ่งจะช่วยการวินิจฉัยโรคทั่วไปที่ไม่รุนแรง ไม่ซับ ซ้อน ที่พบได้บ่อยๆ ได้สูงถึงประมาณ 80-90% ของผู้ป่วย (เช่น โรคหวัด ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ โรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ)
-
การสืบค้น (Medical investigation) อีกประมาณ 10-20% ของผู้ป่วยที่โรครุนแรง หรือเป็นโรคซับซ้อน หรือเป็นโรคพบได้น้อย ไม่ค่อยพบ โรคกลุ่มนี้แพทย์ต้องมีการตรวจต่างๆเพิ่มเติมจากการวินิจฉัยทางคลินิก ที่เรียกว่า “การสืบค้น (Investigation)” โดยการตรวจเพิ่มเติม/การสืบค้นเหล่านี้มีข้อบ่งชี้ที่ได้จาก อาการผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ต่างๆของผู้ป่วย ผลการตรวจร่างกาย และจากดุลพินิจของแพทย์
การสืบค้นที่ใช้บ่อย คือ
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ การตรวจที่ได้จากขั้นตอนทางวิทยา ศาสตร์ที่ให้การตรวจในห้องตรวจที่เรียกว่าห้องปฏิบัติการ หรือ เรียกย่อว่า ห้องแลบ (Lab/ Laboratoty) เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจน้ำไขสันหลังจากการเจาะน้ำไขสันหลัง การตรวจเชื้อ การตรวจเพาะเชื้อ ซึ่งเรียกการวินิจฉัยโรคด้วยวิธีนี้ว่า “การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory diagnosis)”
- ซึ่งถ้าเป็นการตรวจจากสารเคมี เรียกย่อยได้ว่า “การวินิจฉัยทางชีวเคมี (Biochemical diagnosis)”
- และถ้าเป็นการตรวจทางภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เรียกย่อยได้ว่า “การวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกันต้านทานโรค (Immunology diagnosis)”
- การตรวจภาพภาวะอวัยวะที่ผิดปกติทางรังสีวิทยา เช่น เอกซเรย์ อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือเอมอาร์ไอ ซึ่งเรียกการวินิจฉัยโรคที่ได้จากทางรังสีวิทยาว่า “การวินิจฉัยโรคทางรังสีวิทยา หรือ การวินิจฉัยทางรังสีวิทยา (Radiological diagnosis)” และ
-
การตัดชิ้นเนื้อ การตรวจเซลล์จากรอยโรค และ/หรือ การตรวจศพ (Autopsy) ซึ่งเรียกการวินิจฉัยโรคที่ได้จากการตรวจวิธีนี้ว่า “การวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา (Pathological diagnosis)”
- โดยถ้าเป็นการวินิจฉัยจากการตัดชิ้นเนื้อ เรียกย่อยลงไปอีกว่า “ การวินิจฉัยด้วยชิ้นเนื้อ (Histologic diagnosis)”
- แต่ถ้าเป็นการวินิจฉัยจากเซลล์ เรียกย่อยได้ว่า “การวินิจฉัยด้วยเซลล์ (Cytologic diagnosis)”
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ การตรวจที่ได้จากขั้นตอนทางวิทยา ศาสตร์ที่ให้การตรวจในห้องตรวจที่เรียกว่าห้องปฏิบัติการ หรือ เรียกย่อว่า ห้องแลบ (Lab/ Laboratoty) เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจน้ำไขสันหลังจากการเจาะน้ำไขสันหลัง การตรวจเชื้อ การตรวจเพาะเชื้อ ซึ่งเรียกการวินิจฉัยโรคด้วยวิธีนี้ว่า “การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory diagnosis)”
ทั้งนี้ เมื่อได้ผลตรวจรวมทั้งหมดจาก อาการ อาการแสดง การตรวจร่างกาย และ/หรือ การสืบค้น จนแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยได้ว่า เป็นโรคอะไร หรือ ความผิดปกตินั้นๆมีสาเหตุจากอะไร จะเรียกว่า “การวินิจฉัยสุดท้าย หรือ Definitive diagnosis หรือ Final diagnosis”
นอกจากนั้น บางครั้งแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุโรคที่แน่ชัดได้ แต่ได้การวินิจฉัยจาก การวินิจฉัยแยกโรค แพทย์อาจให้การรักษาตามดุลพินิจของแพทย์ว่า น่าเกิดจากโรค/สาเหตุอะไรมากที่สุด ซึ่งเมื่อให้การรักษาตามนั้นแล้ว ผู้ป่วยหายได้ เรียกการวินิจฉัยโรคด้วยวิธีการนี้ว่า “การวินิจฉัยด้วยการรักษา (Therapeutic diagnosis)” เช่น ในโรคมะเร็งต่อมน้ำ เหลืองของสมอง ที่บ่อยครั้งไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคมาตรวจได้ แต่ถ้าการวินิจฉัยทางคลินิก บ่งชี้ว่า น่าจะเป็นโรคนี้มากที่สุด แพทย์จะให้ยาสเตียรอยด์กับผู้ป่วย เพื่อเป็นทั้งการวินิจ ฉัยโรค (การวินิจฉัยด้วยการรักษา) และการรักษา ซึ่งถ้าโรคเกิดจากสาเหตุนี้จริง อาการผู้ป่วยจะดีขึ้นมากร่วมกับรอยโรคในสมองจะยุบลง หรือหายไปได้ เป็นต้น
บรรณานุกรม
- Medical diagnosis https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_diagnosis [2013,Aug12].