การทำหมันชาย (Vasectomy) - Update

การทำหมันชาย (Vasectomy) - Update

  • เกริ่นนำ
  • ประโยชน์ทางการแพทย์
    • ประสิทธิผล
  • ภาวะแทรกซ้อน
    • อาการเจ็บปวดหลังทำหมัน
    • ผลทางจิตใจ
    • ภาวะสมองเสื่อม
  • กระบวนการการทำหมัน
    • วิธีหลักๆ ที่ใช้ในการทำหมัน
    • วิธีการอื่นๆ  
    • การฟื้นตัว
  • การมีลูกหลังการทำหมัน
    • การแก้หมันชาย
  • ความนิยมในการทำหมันชาย
  • ความเป็นมา
  • สังคมและวัฒนธรรม
    • ความเหมาะสมและการรับรองทางกฎหมาย
    • การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
    • คดีการยิงอันดรูว์ ไรน์

เกริ่นนำ

การผ่าตัดท่อนำอสุจิ (Vasectomy) หรือ การผูกปิดท่อนำอสุจิ (Vasoligation) เป็นกระบวนการผ่าตัดประเภทรอได้(Elective surgical procedure) เพื่อทำหมันผู้ชายหรือคุมกำเนิดอย่างถาวร ในระหว่างกระบวนการผ่าตัด ท่อนำอสุจิของผู้ชาย(Male vasa deferentia) จะถูกตัดและผูกหรือปิดเพื่อป้องกันอสุจิเข้าสู่ท่อปัสสาวะซึ่งจะป้องกันการปฏิสนธิในครรภ์ของผู้หญิงผ่านการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual intercourse) การทำหมันผู้ชายส่วนใหญ่จะดำเนินการในห้องผ่าตัดเล็ก (Physician's office), คลินิกทางการแพทย์ (Medical clinic) หรือในคลินิกสัตวแพทย์สำหรับการทำหมันสัตว์ (Non-human animal) ไม่จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากกระบวนการไม่ซับซ้อน ก่อบาดแผล (Incisions) เล็กและอุปกรณ์ที่จำเป็นก็เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในคลินิกทั่วไป

มีหลายวิธีที่ศัลยแพทย์ (Surgeon)ใช้ทำหมันชาย โดยทุกวิธีจะอุด (หรือปิดกั้น) ท่อนำอสุจิ (Vas deferens) ด้านหนึ่งเป็นอย่างน้อย ในการช่วยลดความวิตกกังวลและเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ถูกผ่าตัด ผู้ที่มีไม่ชอบเข็มอาจพิจารณาใช้การให้ยาชา (Aanesthesia)แบบ “ไม่ใช้เข็” ในขณะที่เทคนิค “การทำหมันเจาะ” (No-scapel techniques) หรือ “การทำหมันแผลเล็ก” (Open-ended techniques) ช่วยเร่งความเร็วในการฟื้นตัวและเพิ่มโอกาสในการฟื้นตัวอย่างแข็งแรงของผู้ป่วย

เนื่องจากกระบวนการผ่าตัดนี้มีความง่าย การทำหมันผู้ชายส่วนใหญ่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที หลังจากนั้นผู้ป่วยพักฟื้นสักครู่ที่สถานที่รับการรักษา (โดยทั่วไปใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง) แล้วจะส่งผู้ป่วยกลับบ้านให้พักผ่อน เนื่องจากกระบวนการนี้เป็นกระบวนการผ่าตัดที่มีแผลเล็ก ผู้ป่วยหลายคนพบว่าพวกเขาสามารถกลับไปกระทำพฤติกรรมทางเพศปกติของพวกเขาภายในหนึ่งสัปดาห์ และกระทำโดยมีปัญหาเล็กน้อยหรือไม่มีปัญหาเลย

เนื่องจากการทำหมันถือเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ถาวรและไม่สามารถแก้ไขกลับได้ง่าย ผู้ป่วยจึงได้รับการให้คำปรึกษาและได้รับคำแนะนำให้พิจารณาว่าการทำหมันอาจมีผลต่อทั้งด้านอารมณ์และร่างกายในระยะยาว ไม่ส่งเสริมการทำหมันให้แก่คนที่ยังเป็นโสดและไม่มีลูก เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเสียดายในภายหลังสูงขึ้นเนื่องจากโอกาสในการมีบุตรทางชีวภาพ (Biological parenthood) จะถูกลดลงถาวร บ่อยครั้งจะลดลงอย่างสมบูรณ์

การทำหมันโดยที่ไม่ได้รับการยินยอมหรือขาดความรู้เกี่ยวกับการทำหมันของผู้ป่วยถือว่าเป็นการบังคับทำหมัน(Forced sterilization)

ประโยชน์ทางการแพทย์  

การทำหมันชายเป็นการป้องกันการมีบุตรในผู้ชาย ซึ่งมั่นใจได้ว่าผู้ที่ทำหมันส่วนใหญ่จะไม่สามารถสืบพันธุ์ได้หลังจากทำหมันเสร็จเรียบร้อย เมื่อได้รับการยืนยันความสำเร็จหลังผ่าตัด กระบวนการนี้ถือทำให้เป็นหมันถาวร เพราะการแก้หมัน (Vasectomy reversal) มีค่าใช้จ่ายสูงและบ่อยครั้งไม่สามารถทำให้ปริมาณอสุจิและความสามารถในการเคลื่อนตัวของอสุจิในผู้ชายกลับมาสู่ระดับก่อนทำหมันได้

ผู้ที่ทำหมันมีโอกาสทำให้ผู้หญิงเกิดการตั้งครรภ์สำเร็จในระดับต่ำมาก (เกือบศูนย์) แต่การทำหมันไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections: STIs)

หลังจากการทำหมัน อัณฑะที่ยังอยู่ในถุงอัณฑะซึ่งมีเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศชาย (Leydig cells) ทำการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) และฮอร์โมนผู้ชาย (Male hormones) อื่น ๆและถูกปล่อยลงในกระแสเลือดอย่างต่อเนื่อง

เมื่อการทำหมันเสร็จสมบูรณ์ อสุจิจะไม่สามารถออกจากร่างกายผ่านทางองคชาต (Penis) ได้ อสุจิยังถูกผลิตโดยอัณฑะแต่จะถูกทำลายและถูกดูดซึมโดยร่างกาย สิ่งที่เป็นเนื้อเยื่อเหลวส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมโดยเยื่อบุในท่อเก็บอสุจิ (Epididymis) ส่วนสิ่งที่เป็นเนื้อเยื่อแข็งก็ถูก มาโครฟาจ (Macrophage : เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่จับกินสิ่งแปลกปลอมที่หลุดเข้าไปในร่างกาย) และถูกดูดซึมกลับคืนผ่านทางกระแสเลือด (Bloodstream) อสุจิจะเจริญเติบโตในท่อเก็บอสุจิเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนก่อนที่จะออกจากอัณฑะ

หลังจากการทำหมัน เยื่อบุ (Eembranes) ในท่อเก็บอสุจิจะเพิ่มขนาดเพื่อดูดซึมและกักเก็บของเหลว (Fluid) มากขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันนี้ทำให้ใช้เซลล์มาโครฟาจมากขึ้นเพื่อทำลายและดูดซึมเนื้อเยื่อแข็ง (Solid content) มากขึ้น

ภายในหนึ่งปีหลังจากการทำหมัน ผู้ที่ได้ทำหมันชายเป็นจำนวน 60-70 เปอร์เซ็นต์จะพัฒนาภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิ (Antisperm antibody) ในบางกรณีการทำหมันอาจทำให้เกิด การอักเสบของท่อนำอสุจิ (Vasitis nodosa) ซึ่งเกิดจากการเพิ่มปริมาณที่ไม่ใช่มะเร็งของเนื้อเยื่อบุผิวของท่อเก็บอสุจิ การสะสมของอสุจจะเพิ่มความดันในท่อนำอสุจิ (Vas deferens) และท่อเก็บอสุจิ (Epididymis) ทำให้อสุจิเข้าสู่ถุงอัณฑะ ซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบแบบเป็นก้อนจากอสุจิ (Sperm granulomas) ที่สร้างจากร่างกาย เพื่อให้ร่างกายกักเก็บและดูดซึมอสุจิซึ่งร่างกายจะมองมันเป็นสารชีวภาพแปลกปลอม(Foreign biological substance) เหมือนกับไวรัสหรือแบคทีเรีย

  • ประสิทธิผล

การตัดท่อนำอสุจิเป็นวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและถาวรที่สุดสำหรับผู้ชาย การเอาท่อนำอสุจิออกทั้งหมดน่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ไม่ใช่วิธีที่ทำบ่อย เมื่อเปรียบเทียบกับการทำหมันหญิงหรือการผ่าตัดปิดท่อนำไข่ในผู้หญิง (Tubal ligation) การทำหมันชายสะดวกกว่าการทำหมันหญิงในเรื่องหลายๆ ด้าน การทำหมันชายมีราคาประหยัดกว่า เจ็บน้อยกว่าและมีเทคนิคที่กำลังค่อยๆถูกค้นพบ ที่อาจทำให้การแก้หมันเป็นไปได้ง่ายขึ้น และมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากการผ่าตัดต่ำกว่าการทำหมันหญิงมาก

อัตราของสาเหตุการล้มเหลวในการทำหมันชายอันดับแรกๆ เช่น การที่ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไม่กี่เดือนหลังจากการทำหมันชาย มักเกิดขึ้นเนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันเร็วเกินไปหลังจากกี่ทำหมันซึ่งอสุจิยังคงเคลื่อนตัวผ่านท่อนำอสุจิ แพทย์และศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ที่ทำการผ่าตัดหมันชาย แนะนำให้ผู้ที่ผ่านการทำหมันชายตรวจสอบตัวอสุจิในน้ำเชื้อสักครั้งหนึ่ง (หรือสองครั้ง) ก่อนมีเพศสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบผลลัพธ์ของการทำหมัน อย่างไรก็ตาม ผู้หลายคนไม่ได้กลับมาทำการทดสอบการตรวจตัวอสุจิในน้ำเชื้อโดยอ้างว่าไม่สะดวก อับอาย ลืมหรือมั่นใจในการทำหมัน

ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ.2008 องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา(FDA) อนุมัติอุปกรณ์ทดสอบการทำหมันด้วยตนเองได้ที่บ้านชื่อ SpermCheck Vasectomy ซึ่งทำให้ผู้ป่วยทำการทดสอบยืนยันผลหลังจากการทำหมันได้เอง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์ผลการทำหมันชาย (Postvasectomy semen analysis) โดยทั่วไปยังคงต่ำ

อัตราของสาเหตุการล้มเหลวในการทำหมันชายอันดับท้ายๆมา เช่น การตั้งครรภจากการที่ท่อนำอสุจิถูกเปิดช่องทางกลับมาอีกครั้งหลังการทำหมันก็เคยถูกบันทึกไว้เช่นกัน สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะเนื้อเยื่อบุ (Epithelium) ของท่อนำอสุจิ(ซึ่งคล้ายกับเยื่อบุของส่วนอื่นๆ ของร่างกายมนุษย์บางส่วน) ที่สามารถฟื้นตัวสร้างท่อใหม่ได้หากท่อนำอสุจิได้รับความเสียหายหรือถูกตัด แม้ว่าท่อนำอสุจิจะถูกตัดออกจนถึง 5 เซนติเมตร (หรือ 2 นิ้ว) ก็ตาม ท่อนำอสุจิก็ยังสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้และต่อกันอีกครั้งทำให้อสุจิสามารถผ่านและไหลผ่านท่อนำอสุจิอีกครั้งโดยการกู้คืนฟื้นความสามารถสืบพันธุ์(Fertility) ของผู้ผ่านการทำหมัน

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย (The Royal College of Obstetricians and Gynaecologists) ระบุว่าอัตราสาเหตตความุล้มเหลวในการทำหมันชายอันดับท้ายๆ นั้นที่เห็นทั่วไปมีประมาณ1 ใน 2000 จากผู้ทำหมันชาย ซึ่งดีกว่าการผ่าตัดปิดท่อนำไข่ในผู้หญิง (Tubal ligation) ที่มีอัตราการล้มเหลวเป็น 1 ในทุก 200 ถึง 300 กรณี จากการตรวจสอบในปี ค.ศ. 2005 ที่รวมอัตราของสาเหตุการล้มเหลวในการทำหมันชายอันดับแรกๆและอันดับท้ายๆ ได้บ่งบอกว่าผู้ที่ท่อนำอสุจิถูกเปิดช่องทางกลับมาอีกครั้งมี 183 คน จากผู้ทำหมันชายจำนวน 43,642 คน (คิดเป็น0.4%) และมีการตั้งครรภ์ของฝ่ายหญิง 60 ครั้ง จากผู้ทำหมันชาย 92,184คน (คิดเป็น 0.07%)

ภาวะแทรกซ้อน 

ภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้น ได้แก่ การติดเชื้อ (Infection) การบวมช้ำ (Bruising) และ การมีเลือดออก(Bleeding) บริเวณถุงอัณฑะ (Scrotum) ซึ่งทำให้เลือดคั่งที่เรียกว่า ห้อเลือด (Hematoma) การศึกษาในปี ค.ศ. 2012 พิสูจน์อัตราการติดเชื้อหลังทำการทำหมันชายจำนวน 2.5%เกิดจากการเย็บแผลเล็ก ทำให้มีแนวโน้มจะเกิดการระคายเคือง แต่สามารถลดการติดเชื้อลงได้โดยการพันแผลด้วยผ้ากอซ (Gauze) หรือผ้าพันแผลแบบมีกาวขนาดเล็ก (Small adhesive bandages) ปัญหาหลักในระยะยาวคือโรค หรือ อาการเจ็บปวดเรื้อรัง(Chronic pain conditions) ที่มีผลต่อถุงอัณฑะ (Scrotal), อุ้งเชิงกราน (Pelvic) หรือบริเวณล่างของท้อง (Lower-abdominal regions) อาการเหล่านี้เป็นที่รู้กันว่าเป็นกลุ่มอาการเจ็บปวดหลังการทำหมันชาย (Post-vasectomy pain syndrome)

แม้การทำหมันชายจะทำให้เพิ่มการหมุนเวียนของระบบภูมิคุ้มกัน (Circulating immune complexes) แต่เป็นการเพิ่มขึ้นเพียงชั่วคราว ข้อมูลจากการศึกษาในสัตว์และมนุษย์ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ทำให้การเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอัณฑะไม่ได้มีผลเกิดจากการทำหมันชาย

ในปี ค.ศ. 2014 สมาคมภาควิชาโรคระบบทางเดินปัสสาวะแห่งสหรัฐอเมริกาได้ยืนยันอีกครั้งว่าการทำหมันชายไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยงสำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากและ แพทย์จึงไม่จำเป็นต้องพูดถึงมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) ในการให้คำปรึกษาผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดทำหมันชาย (Preoperative counseling of vasectomy patients) แต่ก็ยังคงมีการโต้แย้งว่าการทำหมันชายมีความเกี่ยวข้องกับมะเร็งต่อมลูกหมาก

จากการวิเคราะห์ทางสถิติในปี ค.ศ. 2017 พบว่าการทำหมันชายไม่ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Statistically significant)

การศึกษาในปี ค.ศ. 2019 ในชายเดนมาร์ก 2.1 ล้านคนพบว่าการทำหมันเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากของพวกเขาถึง 15%

การวิเคราะห์ทางสถิติในปี ค.ศ. 2020 พบว่าการทำหมันเพิ่มอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก 9% การศึกษาล่าสุดอื่นๆยอมรับเรื่องการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก 15% แต่ก็ค้นพบเช่นกันว่าผู้ที่ทำการทำหมันไม่ได้มีความเป็นไปได้ที่จะเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าผู้ที่ไม่ทำหมัน

  • อาการเจ็บปวดหลังทำหมัน

กลุ่มอาการเจ็บปวดหลังการทำหมันเป็นโรคเรื้อรัง (Chronic) ที่อาจเกิดขึ้นทันทีหรือหลายปีหลังการทำหมัน การศึกษาที่ลงลึกที่สุดเกี่ยวกับความเจ็บปวดหลังการทำหมัน ตามคำแนะนำการทำหมัน ปี ค.ศ. 2012 ของสมาคมภาควิชาโรคระบบทางเดินปัสสาวะแห่งสหรัฐอเมริกา (แก้ไขเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 2015) สำรวจคนก่อนที่จะทำหมันและอีกครั้งในช่วง 7 เดือนหลังทำหมัน ในบรรดาผู้ที่ตอบกลับและยืนยันว่าพวกเขาไม่มีความเจ็บปวดใดๆบริเวณถุงอัณฑะก่อนการทำหมัน 7%บรรยายว่า “เจ็บไม่รุนแรง, ระคายเคืองเล็กน้อย” 1.6% มีความเจ็บปวดที่ “ปานกลาง, ต้องใช้ยาแก้ปวด” และ 0.9% มีความเจ็บปวดที่ “รุนแรงและมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขา” ความเจ็บปวดหลังการทำหมันอาจเป็นได้ทั้งอาการเจ็บปวดลูกอัณฑะอย่างต่อเนื่อง (Constant orchialgia) หรือเจ็บปวดท่อเก็บอสุจิ (Epididymal pain หรือ epididymitis) เฉพาะในช่วงเวลาบางครั้ง เช่น เมื่อมีเพศสัมพันธ์ การหลั่งน้ำอสุจิ (Ejaculation) หรือการออกกำลังกาย

  • ผลทางจิตใจ

ประมาณ 90% มักจะรายงานในการสัมภาษณ์ว่าพอใจกับการทำหมัน ในขณะที่ 7-10% ของคนที่ทำหมันรู้สึกเสียใจในการตัดสินใจของตนเอง สำหรับผู้ที่อยู่ในความสัมพันธ์ การเสียใจนั้นมักจะน้อยลงเมื่อทั้งสองฝ่ายในความสัมพันธ์เห็นด้วยกับการทำหมัน

คนที่อายุน้อยกว่าที่ทำหมันมักจะรู้สึกเสียใจและมักจะหาทางแก้หมัน โดยงานวิจัยหนึ่งระบุว่าคนที่อายุยี่สิบที่ทำหมัน มีจำนวนคนที่ไปทำแก้หมันหลังจากทำหมันมากกว่าที่ไม่ไปแก้เป็นจำนวนถึง 12.5 เท่า (รวมถึงบางคนที่เลือกการหมันในวัยหนุ่ม) การให้คำปรึกษาก่อนการทำหมันจึงมักมีไว้สำหรับคนวัยหนุ่มที่จะมาทำหมัน

การทำหมันสามารถทำให้เกิด

  1. ภาวะซึมเศร้า (Depression)
  2. ความเจ็บปวดทางใจ (Mental pain)
  3. ความเข้าใจผิดกับคู่สามีภรรยาหรือคู่รักใหม่ (Misunderstandings with partners or new partners)
  4. เพิ่มความคิดเกี่ยวกับชายเป็นใหญ่ (Increased thoughts about masculinity)
  5. ความคิดเรื่องการแก้หมัน (Thinking about a revasectomy)
  • ภาวะสมองเสื่อม

มีการรายงานความสัมพันธ์ระหว่างการทำหมันและภาวะเสียการสื่อความ (Primary progressive aphasia) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของโรคสมองส่วนหน้าเสื่อมที่หาได้ยาก อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่ามีความสัมพันธ์แบบเป็นสาเหตุหรือไม่ กลไกที่เป็นไปได้ (Putative mechanism) คือการมีปฏิกิริยาการแพ้ข้ามกัน (Cross-reactivity) ระหว่างสมองและอสุจิ รวมถึงการมีแอนติเจน (สารประกอบของเชื้อโรค) ที่พบบนผิวของระบบประสาทตัวเดียวกัน นอกจากนี้ พบว่าสารโครงร่างของเซลล์ ที่ชื่อโปรตีนเทา (Tau protein - โปรตีนในระบบสนับสนุนและขนส่งภายในของเซลล์ประสาทเพื่อนำพาสารอาหารและวัสดุที่จำเป็นอื่นๆ ในโรคอัลไซเมอร์) ไม่ได้ถูกพบอยู่ในระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system: CNS) แต่อยู่ในส่วนหางของอสุจิเท่านั้น

กระบวนการการทำหมัน 

วิธีการผ่าตัดแบบเดิมในการทำหมันชนิดของการทำหมันจะเป็นการให้ยาชาเฉพาะบริเวณถุงอัณฑะ (แม้ว่าสรีระของบางคนจะยากต่อการให้ยาชาเฉพาะบริเวณท่อเก็บน้ำอสุจิ ซึ่งในกรณีนั้นแพทยอาจใช้ยาสลบแทน) หลังจากนั้นจะใช้มีดสำหรับทำการผ่าเปิดสองแผลเล็กๆที่แต่ละด้านของถุงอัณฑะตรงจุดที่ศัลยแพทย์สามารถนำท่อเก็บอสุจิแต่ละท่อขึ้นมายังบริเวณพื้นผิวเพื่อทำการตัดออก

ท่อนำอสุจินั้นจะถูกตัดออกแยกกัน (บางครั้งอาจต้องเอาออกส่วนหนึ่งออกไปทั้งหมด) และจากนั้นอย่างน้อยหนึ่งด้านจะถูกปิดซึ่งอาจทำโดยการเย็บหรือการผูก (Suturing), การจี้แผลด้วยไฟฟ้า (Electrocauterization), หรือการหนีบห้ามเลือด (Clamping) มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปสำหรับวิธีที่กล่าวมาซึ่งอาจเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา, ประสิทธิผล, และช่วยวยบรรเทาความเจ็บปวดระยะยาวเช่น อาการเจ็บปวดหลังทำหมันหรือท่อเก็บอสุจิอักเสบ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่สนับสนุนวิธีการใดดีกว่าอีกวิธีหนึ่งนั้นมีจำกัด

  • วิธีการหลักๆ ที่ใช้ในการทำหมัน
    1. การผ่าตัดเพื่อแทรกแซงด้วยพังผืด (Fascial interposition) - เป็นที่ทราบกันดีว่าการฟื้นตัวของท่อเก็บอสุจิเป็นสาเหตุของความล้มเหลวในการทำหมัน การตัดผ่าเพื่อแทรกแซงในระดับพังผืด, ที่มีการใช้เนื้อเยื่อเป็นตัวกั้นระหว่างปลายของท่อนำอสุจิแต่ละด้านที่ถูกตัด อาจช่วยลดอุัตราความล้มเหลวประเภทนี้ ซึ่งเพิ่มโอกาสในการทำหมันที่ประสบความสำเร็จโดยรวมขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปล่อยส่วนปลายของลูกอัณฑะไว้ภายในพังผืดนั้น พังผืดสิ่งห่อหุ้มที่มีโครงสร้างเส้นใยป้องกันซึ่งล้อมท่อนำอสุจิเช่นเดียวกับเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้ออื่นๆในร่างกาย วิธีนี้เมื่อผสมกับการผ่าตัดโดยจี้ไฟฟ้าปิดแผล (Intraluminal cautery) โดยแต่ละด้านของท่อนำอสุจิที่ถกตัดออกจากกันจะถูกเผาด้วยไฟฟ้า เพื่อป้องกันกระบวนการฟื้นฟู (ที่สร้างความร้อนในลำตัวของท่อนำน้ำอสุจิด้วยการใช้ไฟฟ้าเพื่อปิดการต่อใหม่) จะถูกใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำหมัน
    2. การวางยาชาแบบไม่ใช้เข็ม - อาการกลัวเข็มซึ่งใช้ฉีดยาชาเฉพาะที่เป็นสิ่งที่หลายคนรู้จักกันดี เมื่อปี ค.ศ.2005 เสนอวิธีการวางยาชาเฉพาะที่ให้ศัลยแพทย์ใช้ได้อย่างไม่เจ็บปวดด้วยการนำส่งยาโดยใช้เครื่องฉีดด้วยลำพุ่งความเร็วสูง (Special jet-injection tool) ซึ่งต่างจากการใช้เข็มฉีดยาปกติ ยาชาจะถูกกดหรือพุ่งเข้าไปลึกเพียงพอในเนื้อเยื่อถุงอัณฑะเพื่อให้สามารถทำการผ่าตัดได้โดยไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย ยาชาลิโดเคน (Lidocaine) ที่ ใช้วิธีนี้สามารถทำให้เกิดการชาในเวลา 10 ถึง 20 วินาที จากสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีอัตราความพอใจสูงมากในผู้เข้ารับการทำหมัน เมื่อผลของการวางแบบไม่ใช้เข็มเกิดขึ้นแล้ว กระบวนการทำหมันจะดำเนินไปตามปกติ อย่างไรก็ตามการใช้ยาชาแบบใช้เข็มตามปกติซึ่งใช้ที่ฉีดและเข็มพียง1ครั้งต่อผู้เข้ารับทำหมัน1คนแล้วก็ทิ้ง ทว่าเครื่องฉีดที่กล่าวมาไม่ได้ใช้เพียงครั้งเดียว และต้องถูกฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันไอน้ำเท่านั้น (Autoclaving)
    3. การทำหมันโดยไม่ผ่าตัด (No scapel Vasectomy: NSV) หรือที่รู้จักกันด้วยนาม “หมันเจาะ” (Key-hole vasectomy), คือการทำหมันโดยใช้เครื่องมือห้ามเลือดเจาะถุงอัณฑะ วิธีนี้ได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายเนื่องจากการสร้าง "แผลเล็ก" หรือแผลจากการเจาะที่มีขนาดเล็กน้อยซึ่งทำให้การเลือดไหลและอาการห้อเลือดถูกจำกัดลง นอกจากนี้แผลที่เล็กยังมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าแผลที่มีขนาดใหญ่ ส่งผลให้ฟื้นฟูได้ดีกว่าใช้มีดผ่าตัด การทำแผลด้วยวิธีที่ไม่ผ่าตัดไม่จำเป็นต้องมีฝีเย็บ เป็นวิธีการทำหมันที่เป็นที่นิยมที่สุดเป็นการทำหมันที่เจ็บน้อยที่สุด ซึ่งการทำหมันเจาะและการทำหมันแบบตัดผ่าจะถูกพูดถึงในฐานะ2วิธีหลักในการทำหมันในท่อนำอสุจิ
    4. การทำหมันแบบเปิดปลาย - ในกระบวนการนี้ ปลายของท่อนำอสุจิที่อยู่ตรงถุงอัณฑะจะไม่ถูกผูกปิด ซึ่งทำให้น้ำอสุจิยังคงไหลเข้ามาในถุงอัณฑะต่อไปได้ วิธีนี้อาจช่วยหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดในอัณฑะซึ่งเกิดจากความดันต้านกลับที่สูงขึ้นในท่อเก็บอสุจิเมื่อทำการผูกปิดท่อเก็บอสุจิตรงลูกอัณฑะ จากการศึกษาได้ชี้ว่าวิธีนี้อาจช่วยลดอาการแทรกซ้อนระยะยาวอย่างเช่น กลุ่มอาการปวดหลังการทำหมัน
    5. การชะล้างท่อนำอสุจิ - การฉีดน้ำกลั่นทางการแพทย์ หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อ (Euflavine - ซึ่งน้ำยาที่ใช้จะเป็นแบบเน้นทำลายอสุจิ) ไปยังส่วนปลายของท่อนำอสุจิในช่วงที่ทำการผ่าตัด ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะที่ไม่มีน้ำเชื้อในน้ำอสุจิแบบฉับพลัน (Near-immediate sterile /azoospermatic) ซึ่งการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อนั้นมักจะลดเวลา (หรือจำนวนการหลั่ง) เพื่อให้เกิดภาวะที่ไม่มีน้ำเชื้อในน้ำอสุจิเมื่อเทียบกับการใช้น้ำกลั่นทางการแพทย์ กระบวนการเพิ่มเติมในการทำหมันนี้ (และคล้ายกับการผ่าตัดเพื่อแทรกแซงด้วยพังผืด) ได้แสดงผลลัพธ์ที่ดี แต่ไม่ได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายและมีศัลยแพทย์เพียงเล็กน้อยที่ใช้วิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำหมันของพวกเขา
  • วิธีอื่น ๆ

วิธีการทำหมันต่อไปนี้เป็นวิธีที่ถูกกล่าวอ้างว่ามีโอกาสในการแก้หมันได้ดีกว่าวิธีข้างต้น แต่มีการใช้งานน้อยลงเนื่องจากอัตราความล้มเหลวที่สูงมาก (เช่น การฟื้นตัวของท่อนำอสุจิ) อุปกรณ์แรกๆ เช่น VasClip (การใช้คลิปหนีบโลหะแบบพิเศษปิดกั้นเส้นทางลำเลียงอสุจิระหว่างอัณฑะและองคชาต) ไม่ได้จัดจำหน่ายอีกต่อไปเนื่องจากอัตราความล้มเหลวที่สูงมาก

ถึงแม้จะถือว่าวิธีการ VasClip  สามารถแก้หมันได้ง่าย แต่มีค่าใช้จ่ายสูงและผลลัพธ์ที่อัตราความสำเร็จในการเป็นหมันน้อย เพราะว่าท่อนำอสุจิไม่ได้ถูกตัดหรือผูกด้วยวิธีนี้ ดังนั้นอาจจะถูกจัดให้เป็นวิธีอื่นนอกเหนือจากการทำหมัน การแก้หมัน (และอัตราความสำเร็จในการแก้หมัน) คาดว่าจะมีความสำเร็จสูงเนื่องจากการแก้หมันVasClip ก็เพียงแค่ถอด VasClip ออกเท่านั้น แต่วิธีนี้มีการใช้งานน้อยส่งผลให้ข้อมูลเรื่องการแก้หมันมีน้อยมากวิธีการปิดเส้นทางลำเลียงอสุจิแบบง่ายต่อการแก้หมัน (Vas occlusion techniques) เป็นการทำให้เกิดภาวะเป็นหมันชั่วคราวซึ่งจะทำให้แก้หมันได้ง่าย

  1. การใช้หัวเสียบ (Injected plugs) - มีหัวเสียบสองประเภทซึ่งสามารถใช้ในการอุดท่อนำอสุจิ สารพอลิเมอร์(Medical-grade polyurethane) หรือ ยางซิลิโคน(Medical-grade silicone rubber) ซึ่งทั้งคู่เป็นระดับที่ใช้ในทางการแพทย์ เริ่มต้นจากฉีดพอลิเมอร์เหลวลงท่อนำอสุจิ หลังจากนั้นพอลิเมอร์เหลวนั้นจึงถูกบีบให้เข้าที่จนกระทั่งมันแข็งตัวเสร็จ (โดยปกติจะแข็งตัวในเวลาไม่กี่นาที)
  2. เครื่องในท่อนำอสุจิ (Intra-vas device: IVD) - การปิดท่อนำอสุจิทำได้โดยการใช้เครื่องมือในท่ออสุจิ โดยจะทำการผ่าตัดเล็กๆช่วงช่องท้องส่วนล่าง หลังจากนั้นจึงสอดหัวเสียบซิลิโคนหรือสารพอลิเมอร์ลงในท่อนำอสุจิแต่ละท่อเพื่อปิดกั้นอสุจิ วิธีนี้ช่วยให้ท่อนำอสุจิยังคงอยู่ในสภาพเดิม การใช้เครื่องในท่อนำอสุจินี้ทำกับผู้ป่วยนอกด้วยการวางยาชาเฉพาะที่แบบเดียวกับการทำหมันแบบดั้งเดิม การแก้หมันจากการใช้เครื่องในท่อนำอสุจิ สามารถทำได้ด้วยวิธีเดียวกับที่ติดตั้ง ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการต่อหลอดนำอสุจิ (Vasovasostomy - เป็นวิธีแก้หมันแบบหนึ่ง) ซึ่งอาจจะต้องใช้ยาสลบและใช้เวลาผ่าตัดยาวนานกว่า

ทั้งสองวิธีการปิดท่ออสุจิต้องใช้ขั้นตอนขั้นพื้นฐานเดียวกันคือ: การใช้ยาชาเฉพาะที่ (Local anesthesia) การเจาะถุงอัณฑะ (Puncturing of the scrotal sac) เพื่อเข้าถึงท่อนำอสุจิ และจากนั้นก็ใช้หัวเสียบหรือหัวเสียบแบบฉีดมากั้นการลำเลียงอสุจิ (Injected plug occlusion) ความสำเร็จของวิธีการปิดเส้นทางลำเลียงอสุจิที่กล่าวถึงข้างต้นยังไม่ชัดเจนและข้อมูลยังคงจำกัด การศึกษามีการแสดงว่าเวลาในการเป็นหมันนั้นนานกว่าเทคนิคที่เป็นที่รู้จักมากกว่าที่ได้กล่าวถึงในตอนแรกของบทความนี้ อัตราความพึงพอใจของผู้ป่วยที่ทำหมันโดยวิธีเครื่องในท่อนำอสุจิ มีอัตราความพึงพอใจสูงเกี่ยวกับประสบการณ์การผ่าตัด

  • การฟื้นตัว

การมีเพศสัมพันธ์สามารถทำได้ปกติภายในระยะเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัว) อย่างไรก็ตามการตั้งครรภ์ยังเป็นไปได้ตลอดเวลาตราบใดที่จำนวนอสุจิ (Sperm count) ยังมากกว่าศูนย์ การคุมกำเนิดแบบอื่นจึงต้องขึ้นอยู่กับจำนวนอสุจิที่นับได้หลังจากช่วงเวลา 2เดือนหลังจากทำหมัน หรือหลังจากหลั่งน้ำอสุจิ 10-20ครั้ง

หลังจากการทำหมัน ควรระวังในการคุมกำเนิดจนกว่าจะได้รับการยืนยันว่าไม่มีอสุจิในน้ำเชื้อ โดยปกติแล้วจำเป็นต้องตรวจคุณภาพน้ำเชื้อสัก 2 ครั้งซึ่งก็คือช่วงระยะเวลาสามและสี่เดือนหลังทำหมัน เพื่อยืนยันว่าไม่มีอสุจิในน้ำเชื้อ สมาคมการรักษาเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพการเจริญพันธุ์ของผู้ชาย (British Andrological Society) แห่งประเทศอังกฤษได้แนะนำว่าตรวจอสุจิครั้งเดียวหลังจากทำหมัน 16 สัปดาห์ก็เพียงพอในการยืนยันว่าจะไม่มีน้ำเชื้อ

หลังการทำหมัน ลูกอัณฑะจะยังคงผลิตอสุจิต่อไปเช่นเดียวกับก่อนการทำหมัน ซึ่งอสุจิที่ไม่ได้ใช้จะถูกดูดซึมโดยร่างกาย

การมีลูกหลังการทำหมัน 

เพื่อให้ผู้ทำหมันมีโอกาสมีลูกหลังจากทำหมันโดยการผสมเทียม (Artificial insemination) มีทางเลือกให้ผู้เข้ารับการทำหมันได้เก็บรักษาอสุจิโดยการแช่แข็ง (Cryopreservation of sperm) ดร. แอลแลน เพซีย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิชาด้านการรักษาเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพการเจริญพันธุ์ของผู้ชาย (Andrology) ณ มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ และเลขาธิการสมาคมวิชาการเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ของสหราชอาณาจักร ได้บอกว่าผู้ที่แก้หมันไม่สำเร็จที่เขาได้พบเจอ มักแสดงออกชัดเจนว่าพวกเขาควรจะรู้ก่อนว่าสามารถเก็บรักษาอสุจิไว้ได้  ดร. เพซีย์ ยังกล่าวอีกว่า “ปัญหาอยู่ที่คุณกําลังขอให้ผู้ชายทํานายอนาคตซึ่งเขาอาจไม่ได้อยู่กับคู่ปัจจุบันของเขาก็ได้ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากในตอนนี้ที่จะตัดสินใจ (เก็บรักษาน้ำอสุจิไว้) เมื่อคู่รักคุณยังนั่งอยู่ข้างๆ คุณ”

ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาอสุจิโดยการแช่แข็ง (ธนาคารอสุจิ) อาจมีมูลค่าน้อยกว่ากระบวนการแก้หมันแบบทางเลือกเป็นอย่างมาก และรวมถึงเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในกระบวนการทำเด็กในหลอดแก้ว (in-vitro fertilization: IVF) ซึ่งมักมีราคาตั้งแต่ $12,000 ถึง $25,000

น้ำอสุจิสามารถถูกดูดออกจากลูกอัณฑะหรือหลอดเก็บอสุจิและ ถึงแม้จะมีจํานวนไม่เพียงพอที่จะทำให้การผสมเทียมสําเร็จ แต่ก็มีเพียงพอที่จะผสมเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ด้วยการฉีดอสุจิ 1 ตัวเข้าไปในเซลล์ไข่ (Intracytoplasmic sperm injection : ICSI) ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาภูมิต้านทานต่อตัวอสุจิ และอาจทําให้มีการตั้งครรภ์ได้เร็วขึ้น การทำเด็กหลอดแก้ว(In-vitro Fertilization: IVF - เป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย) อาจมีค่าใช้จ่ายต่อรอบต่ำกว่าการแก้หมันในระบบการดูแลสุขภาพบางระบบ แต่ว่าการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) มักไม่เพียงพอต่อการตั้งครรภ์ ข้อเสียได้แก่การที่จําเป็นต้องทํากระบวนการนี้กับฝ่ายหญิง และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในทั้งมารดาและเด็ก

  • การแก้หมัน

ถึงแม้ว่าผู้ที่พิจารณาจะทำหมันไม่ควรคิดว่ามันสามารถแก้หมันได้ และคนส่วนมากกับคู่ของพวกเขาก็พอใจกับการทำหมัน พฤติการณ์และทัศนคติของชีวิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และมีกระบวนการผ่าตัดเพื่อกลับสู่สภาวะเดิมโดยใช้วิธีการต่อท่อนำน้ำเชื้อเข้ากับท่อนำน้ำเชื้อ (Vasovasostomy) (รูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดเล็กๆ ที่เริ่มใช้งานครั้งแรกโดย Earl Owen เมื่อปี ค.ศ. 1971) การต่อท่อนำน้ำเชื้อเข้ากับท่อนำน้ำเชื้อเป็นการผ่าตัดที่มีประสิทธิผลเป็นตัวแปรระดับเปอร์เซนต์ในการทำให้เกิดการตั้งครรภ์ และค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายของผู้รับการแก้หมันในสหรัฐอเมริกามักมีมูลค่าตั้งแต่ $10,000 ขึ้นไป อัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์หลังแก้หมันมักอยู่ที่ 55% ถ้าทำในระยะเวลา 10 ปีหลังทำหมัน และลดลงเหลือประมาณ 25% ถ้าทำหลังจากทำหมันไปแล้ว 10 ปี หลังจากแก้หมันจำนวนอสุจิและความสามารถในการเคลื่อนตัวของอสุจิมักต่ำกว่าช่วงก่อนทำหมัน มีหลักฐานว่าคนที่ทำหมันแล้วอาจจะผลิตอสุจิที่ผิดปกติมากขึ้น ซึ่งทำให้อธิบายได้ว่าทำไมการแก้หมันที่ประสบความสำเร็จมักไม่สามารถเรียกคืนความสามารถในการสืบพันธุ์ได้เสมอไป อัตราที่สูงขึ้นของการเพิ่มหรือลดของโครโมโซม และการซ้ำซ้อนของโครโมโซในอสุจิของผู้ที่ผ่านการแก้หมันจะนำไปสู่การผิดปกติโดยกำเนิดของทารกในอัตราที่สูง

ประมาณ 2% ของผู้ชายที่ทำหมันแล้วจะกลับมาแก้หมันภายใน 10 ปีนับจากวันที่ทำหมัน เหตุผลที่คนต้องการทำการแก้หมัน ได้แก่ ต้องการมีครอบครัวกับคู่ใหม่หลังจากการเกิดปัญหาในความสัมพันธ์หรือการหย่าร้าง, คู่สมรสเดิมของพวกเขาเสียชีวิตแล้วตามมาด้วยการมีคู่ใหม่อีกครั้งและต้องการมีลูกที่สืบสายเลือดของตน, การเสียชีวิตของลูกอย่างไม่คาดคิด หรือคู่สมรสที่อยู่ด้วยกันมานานเกิดเปลี่ยนความคิดในภายหลัง โดยมักจะถูกกระตุ้นด้วยสถานการณ์เช่นการเงินดีขึ้น หรือลูกของตนมีอายุเข้าสู่วัยเรียนไม่ก็ถึงวัยออกจากบ้าน ผู้เข้ารับการทำหมันบอกว่าพวกเขาไม่เคยคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ของการเกิดปัญหาในความสัมพันธ์หรือคู่ครองจะเสียชีวิต หรือว่ามันจะมีผลต่อสถานการณ์ของพวกเขาในช่วงเวลาที่ทำการทำหมัน มีจำนวนน้อยของการกลับแก้หมันที่ทำเพื่อพยายามแก้ไขอาการปวดที่เกิดหลังการทำหมัน

ความนิยมในการทำหมันชาย  

ในระดับนานาชาติ อัตราการทำหมันแตกต่างกันอย่างมาก ในขณะที่การทำหมันเพศหญิงเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุดทั่วโลก โดยมีผู้หญิง 223 ล้านคนต้องพึ่งพาการทำหมัน มีเพียงผู้หญิง 28 ล้านคนที่ให้คู่สมรสของพวกเขาเป็นฝ่ายทำหมัน ในประเทศที่เป็นหนึ่งใน 69 ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในโลก มีผู้ชายน้อยกว่า 0.1% ที่ทำหมัน จาก 54 ประเทศในทวีปแอฟริกา มีเพียงสิบประเทศที่รายงานประมาณการการทำหมัน และมีเพียง ประเทศสวาซิแลนด์ ประเทศบอตสวานา และแอฟริกาใต้ที่ผู้ชายทำหมันเกินกว่า 0.1%

ในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป อัตราการทำหมันอยู่ที่ 10% โดยบางประเทศมีอัตรามากถึง 20% ถึงแม้ว่ามีประสิทธิภาพสูง แต่การทำหมันชายในสหรัฐอเมริกาก็น้อยกว่าครึ่งของผู้หญิงที่เลือกทำหมันปิดท่อรังไข่ จากการวิจัย การทำหมันชายในในกลุ่มคนแอฟริกัน-อเมริกันและชาวละตินในสหรัฐอเมริกามีอัตราน้อยที่สุด แต่เป็นกลุ่มที่มีอัตราการทำหมันหญิงสูงที่สุด

ต่างจากในนิวซีแลนด์มีระดับการทำการหมันชายสูงกว่าการทำหมันหญิงอยู่ที่ 18% ของชายทั้งหมด และ 25% ของชายที่แต่งงานทั้งหมดได้มีการทำหมัน กลุ่มอายุที่มีการทำหมันสูงสุดคือ ช่วงวัย 40-49 ปี ซึ่ง 57% ของชายวัยนี้จะทำหมัน ส่วนในประเทศแคนาดา, สหราชอาณาจักร, ภูฏาน, และเนเธอร์แลนด์มีระดับความรู้เรื่องการทำหมันพอๆกัน

ความเป็นมา 

การทำหมันในมนุษย์ครั้งแรกที่ได้รับการบันทึกไว้ถกทำช่วงปลายคริสศตวรรษที่19 การทำหมันคนแรกในมนุษย์ถูกดำเนินการเพื่อรักษาโรคต่อมลูกหมากขยายตัว (Prostate enlargement) ตามในฐานะวิธีการของวิชาสุพันธุศาสตร์(Eugenic) เพื่อคุมกำเนิดพวก “คุณภาพต่ำ” (Degenerates) เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบสมัครใจ (Voluntary birth control) เริ่มใช้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

การทำหมันครั้งแรกที่ถูกบันทึกไว้ทำในสุนัขช่วงปี ค.ศ. 1823 การตัดหรือวาสก์ทอมี่ครั้งแรกที่ทำขึ้นบนมนุษย์ใช้เพื่อรักษาโรคต่อมลูกหมากโต หรือ ต่อมลูกหมากขยายตัว การตอนอัณฑะบางครั้งถูกใช้เป็นการรักษาสำหรับอาการนี้ในช่วงปี ค.ศ. 1880 แต่เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่รุนแรง แพทย์จึงต้องหาวิธีการทางเลือกแบบอื่น ผู้แรกที่มีความเห็นเสนอการทำหมันเป็นทางเลือกในการอื่นนอกจากการตอนอวัยวะเพศคือ James Ewing Mears (ในปี ค.ศ. 1890) หรือ Jean Casimir Félix Guyon ส่วนมนุษย์คนแรกที่ดำเนินการทำหมันด้วยวิธีการตัดและผูกท่อนำอสุจิ คือ Reginald Harrison เมื่อปี ค.ศ. 1900 โดย Harrison รายงานว่าเขาได้ดำเนินการทำหมันด้วยวิธีนี้มากกว่า 100 กรณี โดยไม่มีผลเสีย

ในช่วงปลายทศวรรษค.ศ. 1890 การทำหมันด้วยวิธีการตัดและผูกท่อนำอสุจิก็เริ่มถูกเสนอเป็นมาตรการทางสุพันธุศาสตร์ (Eugenic measure) สำหรับการทำหมันเหล่าผู้ชายที่ถูกพิจารณาว่าไม่เหมาะสมในการสืบพันธุ์ รายงานกรณีการทำหมันชายคนแรกในสหรัฐอเมริกาอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1897 โดย A. J. Ochsner ศัลยแพทย์แห่งชิคาโก ในบทความชื่อ “การผ่าตัดรักษาลักษณะนิสัยของอาชญากร” เขาเชื่อว่าการำหมันด้วยวิธีการตัดและผูกท่อนำอสุจเป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิผลสำหรับการยับยั้งการเสื่อมของเชื้อชาติที่เชื่อกันอย่างแพร่หลายว่ากำลังเกิดในปี ค.ศ. 1902 ซึ่ง Harry C. Sharp ศัลยแพทย์แห่งกลุ่มปฏิรูปอินเดียน่า (Indiana Reformatory) รายงานว่า เขาได้ทำการทำหมันนักโทษ 42 คนเพื่อลดพฤติกรรมทางอาชญากรรมในบุคคลเหล่านั้นและป้องกันการเกิดของอาชญากรรมในอนาคต

Eugen Steinach (ค.ศ.1861–1944) แพทย์ชาวออสเตรียเชื่อว่าการทำหมันโดยตัดหรือผูกปิดท่อนำอสุจิเพียงข้างเดียว (Unilateral vasectomy) ในบุคคลที่มีอายุมากสามารถช่วยฟื้นฟูความแข็งแรงของร่างกาย (Restore general vigor) และสมรรถภาพทางเพศ (Sexual potency) แก้ไขอาการต่อมลูกหมากขยายตัว (Shrink enlarged prostates) และรักษาโรคภัยต่างๆ และด้วยเหตุบางประการยังกระตุ้นผลของฮอร์โมนของลูกอัณฑะข้างที่ถูกตัดผูกท่ออสุจิด้วย การผ่าตัดนี้เป็นที่นิยมในปี ค.ศ.1920 ถูกใช้โดยบุคคลที่มั่งคั่งหลายคน ได้แก่ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ และ W. B. Yeats เนื่องจากการดำเนินการผ่าตัดเหล่านี้ขาดการทดลองควบคุมที่เข้มงวด ผลจากการรักษา (Rejuvenating effect) ที่ถูกกล่าวถึงในข้างต้นก็น่าจะเป็นผลจากการหลอกตัวเองเช่นเดียวกับหลักการของยาหลอก (Placebo effect)  และหลังจากพัฒนาฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ฉีดเข้าร่างกายได้(Synthetic injectable hormones) การทำหมันผูกปิดลูกอัณฑะข้างเดียวเหล่านี้จึงถูกเลิกไปตามสมัย

การทำหมันเริ่มถูกมองว่าเป็นวิธีการควบคุมการสืบพันธุ์โดยสมัครใจ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการทำหมันระดับประเทศครั้งแรกได้เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1954 ในประเทศอินเดีย

การดำเนินการนี้น้อยที่จะถูกดำเนินการบนสุนัข โดยการตอนอวัยวะเพศยังคงเป็นวิธีการควบคุมการสืบพันธุ์ที่เป็นที่นิยมสำหรับสุนัข การทำหมันโดยตัดหรือผูกปิดท่อนำอสุจิมักทำในวัว

สังคมและวัฒนธรรม

  • ความเหมาะสมและการรับรองทางกฎหมาย

ค่าการทำการตัดหรือวาสก์ทอมี่อาจเป็นสวัสดิการในบางประเทศ ในฐานะที่เป็นวิธีการที่ใช้ในการควบคุมการสืบพันธุ์หรือควบคุมประชากร โดยบางประเทศอาจจะมีการเสนอเป็นส่วนหนึ่งของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การทำหมันโดยทั่วไปถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในประเทศฝรั่งเศสจนถึงปี ค.ศ. 2001 เนื่องจากมีข้อบังคับในประมวลกฎหมายนโปเลียนที่ห้าม "การทำร้ายตนเอง" ซึ่งไม่มีกฎหมายของฝรั่งเศสที่กล่าวถึงการทำหมันโดยเฉพาะจนกระทั่งมีกฎหมายในปี ค.ศ. 2001 เกี่ยวกับการคุมกำเนิดและการทำแท้งได้อนุมัติกระบวนการดังกล่าว

กฎหมายด้านประกันสุขภาพ์ในสหรัฐอเมริกาชื่อ U.S. Affordable Care Act (ซึ่งได้รับการลงชื่ออนุมัติลงในกฎหมายในปี ค.ศ. 2010) ไม่ครอบคลุมการทำหมัน แม้ว่ารัฐแปดแห่งจะกำหนดให้แผนประกันสุขภาพของรัฐครอบคลุมค่าใช้จ่ายการทำหมัน ซึ่งรัฐทั้ง8ได้แก่: อิลลินอยส์, เมอริแลนด์, นิวเจอร์ซีย์, นิวเม็กซิโก, นิวยอร์ก, ออริกอน, เวอร์มอนต์ และวอชิงตัน

ในปี ค.ศ. 2014 รัฐสภาของอิหร่านได้ลงมติเพื่อห้ามการทำหมัน

  • การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

การท่องเที่ยวทางการแพทย์ ซึ่งผู้เข้ารับการผ่าตัดเดินทางไปยังสถานที่ที่ด้อยพัฒนากว่าเพื่อทำหมันในราคาถูก ซึ่งประหยัดเงินและเป็นการฟื้นฟูกับการหยุดพักผ่อนไปในตัว ไม่ค่อยใช้ในการทำหมันเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการทำหมันนั้นต่ำ แต่ใช้บ่อยในการแก้หมัน หลายโรงพยาบาลอนุญาตให้ทำหมัน การท่องเที่ยวทางการแพทย์ได้รับการตรวจสอบจากบางรัฐบาลเพื่อคุณภาพในการดูแลและปัญหาด้านการดูแลหลังผ่าตัด

  • คดีการยิงอันดรูว์ ไรน์ (Andrew Rynne)

ในปี ค.ศ. 1990 แอนดรูว์ ไรน์น์ ประธานสมาคมวางแผนครอบครัวไอร์แลนด์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการทำหมันคนแรกของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ได้ถูกยิงโดยลูกค้าเก่า แต่เขารอดชีวิต เหตุการณ์นี้ ถูกใช้สร้างหนังสั้นชื่อ The Vasectomy Doctor โดยพอล เว็บสเตอร์

อ่านตรวจทานโดย ศ. คลินิก นพ. พนัส เฉลิมแสนยากร

แปลและเรียบเรียงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Vasectomy [2024, July 3] โดย กันตนพ วงษ์สว่าง