การจัดการภาวะแทรกซ้อนยาต้านรีโทรไวรัส ตอน 22
- โดย ภก.วิชญ์ภัทร ธรานนท์
- 7 มกราคม 2562
- Tweet
สาเหตุ
ยากลุ่ม NRTIs ที่มีผลต่อระบบประสาท คือ สตาวูดีน (stavudine) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการอ่อนแรงอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า ascending neuromusculare weakness ซึ่งคล้ายกับ Guillain-Barre syndrome แต่พบได้น้อยมาก บางรายอาจมีอัมพาตของกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับการหายใจร่วมด้วย และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจช่วย จะตรวจพบกรดแลคติกสูง anion gap กว้าง ค่าพีเอชในเลือดต่ำ ระดับคาร์บอนไดออกไซค์ในเลือดต่ำ และ CPK สูง เชื่อว่าเกิดจากภาวะเป็นพิษต่อ ไมโทคอนเดรีย ยาอื่นในกลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (NRTIs) ก็อาจเป็นสาเหตุได้ นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย จากยากลุ่ม NRTIs โดยเฉพาะสตาวูดีน (stavudine) ที่พบได้มากกว่าไดดาโนซีน (didanosine) ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดปลายประสาทหรือชาที่เท้าหรือขามากกว่าแขน ผู้ป่วยมักจะมด้วยอาการชาที่ปลายมือ ปลายเท้าเท่าๆกันทั้งสองข้าง อาจมีความรู้สึกปวด หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรมาทิ่ม บางรายที่รุนแรงอาจจะเดินไม่ได้ อาการจะเกิดภายหลังรับประทานยาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน แต่อาการอาจเกิดเร็วถ้ามีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลายอยู่แล้ว ปัจจัยเสี่ยง คือ เคยมีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลายมาก่อน อายุมาก เป็นเบาหวาน จำนวน CD-4 ต่ำ (น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.) ได้สตาวูดีน ร่วมกับ ไดดาโนซีน หรือได้ ไดดาโนซีน ร่วมกับ ทีโนโฟเวียร์ (tenofovir disoproxil fumarate; TDF) หรือ ไรบาไวรีน (ribavirin) การขาดวิตามินบี 12 การดื่มแอลกฮอล์ การได้รับยาอื่นที่มีผลต่อระบบประสาท เช่น ยาไอโซไนอะซิด (isoniazid) สำหรับรักษาวัณโรค/การติดเชื้อแบคทีเรีย
ยากลุ่มเอ็นเอ็นอาร์ทีไอ (NNRTIs) ที่มีผลต่อระบบประสาท คือ เอฟฟาไวเร็นซ์ (efavirenz) ซึ่งทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับง่วงนอน ฝันแปลกๆ มึนงง ไม่มีสมาธิ ซึมเศร้า เป็นโรคจิต และมีความคิดฆ่าตัวตาย อาการเหล่าสนี้มักจะดีขึ้นและหายไปภายใน 2 – 4 สัปดาห์หลังเริ่มยา ความเสี่ยงในการเกิดผลอาการไม่พึงประสงค์จากยา คือ ประวัติความเจ็บป่วยทางจิตมาก่อน ใช้ยาอื่นที่มีผลต่อจิตประสาทร่วม นอกจากนี้ การรับประทานยาพร้อมอาหารอาจทำให้ยาดูดซึมเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาเอฟฟาไวเร็นซ์สามารถปรับลดขนาดยาจาก 600 มิลลิกรัมต่อวัน เป็น 400 มิลลิกรัมต่อวันได้ ยกเว้น กรณีสตรีมีครรภ์ หรือกำลังใช้ร่วมกับยาไรแฟมปิซิน (rifampicin) อยู่ นอกจากนี้ยา ยังมีรายงานยาริวพิไวรีน (rilpivirine) มีผลต่อภาวะซึมเศร้า ความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย อาการนอนไม่หลับ ถ้าผู้ป่วยยังมีอาการ อาจพิจารณาเปลี่ยนยา เอฟฟาไวเร็นซ์ป็นยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน เช่น เอนทราไวรีน (entravirine) หรือยากลุ่มโปรติเอส อินฮิบิเตอร์ (PIs)
ยากลุ่ม INSTis ที่มีผลต่อระบบประสาท คือ raltegravir ทำให้ซึมเศร้าได้ แต่พบไม่บ่อย
การป้องกัน
ยาที่อาจช่วยทำให้ผลข้างเคียงของระบบประสาทลดลง คือ ลอราซีแปม (lorazepam) และ ฮาโรเพอริดอล (haloperidol) สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการฝันร้าย หรือมีความตกใจ (panic attack) แต่ยาทั้งสองชนิดควรใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจากการได้รับยาเอฟฟาไวเร็นซ์ (efavirenz)
สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ของระบบประสาทส่วนปลาย ยังไม่มีการรักษาจำเพาะ หากแพทย์นึกถึงภาวะนี้ ควรรีบเปลี่ยนยาที่อาจเป็นสาเหตุ สำหรับยาที่อาจบรรเทาอาการชา เช่น อะมิทริปไทลีน (amitriptyline) กาบาเพนติน (gabapentine) เมทามีโซล (metamizole) และ ยากลุ่มโอพิออยด์ (opioids) การให้วิตามินบีเสริม รวมถึงหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าคับ การยื่น หรือเดินนานๆ
บรรณานุกรม:
- Department of disease control, Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2017. availavle from http://www.thaiaidssociety.org/images/PDF/ hiv_thai_guideline _2560.pdf.
- Cohen DE, Mayer KH. Primary care issues for HIV-infected patients. Infect Dis Clin N Am 21 (2007): 49–70.
- วีรวัฒน์ มโนสุทธิ. Current management of complication of antiretroviral therapy. ใน: ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์, ณัฏฐดา อารีเปี่ยม, แสง อุษยาพร, บรรณาธิการ. Pharmacotherapy in infectious disease VII. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558, หน้า 198-201.
- Group TISS. Initiation of Antiretroviral Therapy in Early Asymptomatic HIV Infection. New England Journal of Medicine. 2015;373(9):795-807.
- Group TTAS. A Trial of Early Antiretrovirals and Isoniazid Preventive Therapy in Africa. New England Journal of Medicine. 2015;373(9):808-22.
- Ayoko R. Bossou SC, Karen K. O’Brien, Catherine A. Opere, Christopher J. Destache. Preventive HIV Vaccines: Progress and Challenges. US Pharmacist. 2015 OCTOBER 16, 2015:46-50.
- รัชนู เจริญพักตร์ และ ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์. Current update on HIV/AIDs treatment guideline in 2017. ใน: ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์, โชติรัตน์ นครานุรักษ์, และ แสง อุษยาพร, บรรณาธิการ. Pharmacotherapy in infectious disease IX. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560, หน้า 342-364.
- Wada N JL, Cohen M, French A, Phair J, Munoz A. Cause-specific life expectancies after 35 years of age for human immunodeficiency syndrome-infected and human immunodeficiency syndrome-negative individuals followed simultaneously in long-term cohort studies, 1984-2008. Am J Epidermol. 2013; 177: 116-125.
- Department of Health and Human Services. Guidelines for the Use of Antiretroviral Agents in Adults and Adolescents Living with HIV Available from: https://aidsinfo.nih.gov/guidelines.
- O'Brien ME, Clark RA, Besch CL, Myers L, Kissinger P. Patterns and correlates of discontinuation of the initial HAART regimen in an urban outpatient cohort. Journal of acquired immune deficiency syndromes (1999). 2003;34(4):407-14.
- Kiertiburanakul S, Luengroongroj P, Sungkanuparph S. Clinical characteristics of HIV-infected patients who survive after the diagnosis of HIV infection for more than 10 years in a resource-limited setting. Journal of the International Association of Physicians in AIDS Care (Chicago, Ill : 2002). 2012;11(6):361-5.
- Wiboonchutikul S, Sungkanuparph S, Kiertiburanakul S, Chailurkit LO, Charoenyingwattana A, Wangsomboonsiri W, et al. Vitamin D insufficiency and deficiency among HIV-1-infected patients in a tropical setting. Journal of the International Association of Physicians in AIDS Care (Chicago, Ill : 2002). 2012;11(5):305-10.
- Wilde JT, Lee CA, Collins P, Giangrande PL, Winter M, Shiach CR. Increased bleeding associated with protease inhibitor therapy in HIV-positive patients with bleeding disorders. British journal of haematology. 1999;107(3):556-9.
- European AIDS Clinical Society. EACS Guidelines version 8.1-October 2016. Available from http://www.eacsociety.org/files/guidelines_8.1-english.pdf.
- ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล. การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบบผู้ป่วยนอก.กรุงเทพฯ : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
- Morse CG, Mican JM, Jones EC, Joe GO, Rick ME, Formentini E, et al. The incidence and natural history of osteonecrosis in HIV-infected adults. Clinical infectious diseases : an official publication of the Infectious Diseases Society of America. 2007;44(5):739-48.
- Woodward CL, Hall AM, Williams IG, Madge S, Copas A, Nair D, et al. Tenofovir-associated renal and bone toxicity. HIV medicine. 2009;10(8):482-7.
- Wang H, Lu X, Yang X, Xu N. The efficacy and safety of tenofovir alafenamide versus tenofovir disoproxil fumarate in antiretroviral regimens for HIV-1 therapy: Meta-analysis. Medicine. 2016;95(41):e5146.
- Redig AJ, Berliner N. Pathogenesis and clinical implications of HIV-related anemia in 2013. Hematology American Society of Hematology Education Program. 2013;2013:377-81.
- Assefa M, Abegaz WE, Shewamare A, Medhin G, Belay M. Prevalence and correlates of anemia among HIV infected patients on highly active anti-retroviral therapy at Zewditu Memorial Hospital, Ethiopia. BMC Hematology. 2015;15:6.
- de Gaetano Donati K, Cauda R, Iacoviello L. HIV Infection, Antiretroviral Therapy and Cardiovascular Risk. Mediterranean Journal of Hematology and Infectious Diseases. 2010;2(3):e2010034.
- Group TDS. Class of Antiretroviral Drugs and the Risk of Myocardial Infarction. New England Journal of Medicine. 2007;356(17):1723-35.
- Tsiodras S, Mantzoros C, Hammer S, Samore M. Effects of protease inhibitors on hyperglycemia, hyperlipidemia, and lipodystrophy: a 5-year cohort study. Archives of internal medicine. 2000;160(13):2050-6.
- วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์. Diagnosis and classification of Diabetes Mellitus. ใน: ธิติ สนับบุญ, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติทางต่อมไร้ท่อ. กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560, หน้า 1-9.
- ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์. Clinical management for dyslipidemia in HIV-infected patients. ใน: ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์ และ ณัฏฐดา อารีเปี่ยม, บรรณาธิการ. Pharmacotherapy in infectious disease VI. กรุงเทพมหานคร. คอนเซ็พท์พริ้นท์. 2557, หน้า 198-201.
- Dube MP, Stein JH, Aberg JA, Fichtenbaum CJ, Gerber JG, Tashima KT, et al. Guidelines for the evaluation and management of dyslipidemia in human immunodeficiency virus (HIV)-infected adults receiving antiretroviral therapy: recommendations of the HIV Medical Association of the Infectious Disease Society of America and the Adult AIDS Clinical Trials Group. Clinical infectious diseases : an official publication of the Infectious Diseases Society of America. 2003;37(5):613-27.
- Hoffman RM, Currier JS. Management of antiretroviral treatment-related complications. Infectious disease clinics of North America. 2007;21(1):103-32, ix.
- Husain NEOS, Ahmed MH. Managing dyslipidemia in HIV/AIDS patients: challenges and solutions. HIV/AIDS (Auckland, NZ). 2015;7:1-10.
- Kiertiburanakul S, Sungkanuparph S, Charoenyingwattana A, Mahasirimongkol S, Sura T, Chantratita W. Risk factors for nevirapine-associated rash among HIV-infected patients with low CD4 cell counts in resource-limited settings. Current HIV research. 2008;6(1):65-9.
- Murphy RL. Defining the toxicity profile of nevirapine and other antiretroviral drugs. Journal of acquired immune deficiency syndromes (1999). 2003;34 Suppl 1:S15-20.
- Department of Health and Human Services. HIV and Lactic Acidosis. Available from: https://aidsinfo.nih.gov/understanding-hiv-aids/fact-sheets/22/68/hiv-and-lactic-acidosis.
- Grinspoon S, Carr A. Cardiovascular Risk and Body-Fat Abnormalities in HIV-Infected Adults. New England Journal of Medicine. 2005;352(1):48-62.
- Simpson D, Estanislao L, Evans S , McArthur J, Marcusd K, Truffa M et,al. HIV-associated neuromuscular weakness syndrome. AIDS (London, England). 2004;18(10):1403-12.
- Hall AM, Hendry BM, Nitsch D, Connolly JO. Tenofovir-associated kidney toxicity in HIV-infected patients: a review of the evidence. American journal of kidney diseases : the official journal of the National Kidney Foundation. 2011;57(5):773-80.
- Chaisiri K, Bowonwatanuwong C, Kasettratat N, Kiertiburanakul S. Incidence and risk factors for tenofovir-associated renal function decline among Thai HIV-infected patients with low-body weight. Current HIV research. 2010;8(7):504-9.
- Schwarzwald H, Gillespie S. Management of Antiretroviral-Associated Complications. Available from: https://bipai.org/sites/bipai/files/5-Mgt-assoc-complications.pdf
- ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล. Practical management of complication-associated with ARVใน: นารัต เกษตรทัต, ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์ และ ณัฏฐดา อารีเปี่ยม, บรรณาธิการ. Pharmacotherapy in infectious disease VI. กรุงเทพมหานคร. คอนเซ็พท์พริ้นท์. 2554, หน้า 317-346.