การจัดการภาวะแทรกซ้อนยาต้านรีโทรไวรัส ตอน 14
- โดย ภก.วิชญ์ภัทร ธรานนท์
- 12 พฤศจิกายน 2561
- Tweet
สาเหตุ
อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นผลอาการไม่พึงประสงค์จากยาต้านรีโทรไวรัสที่พบบ่อยและควรต้องได้รับการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือ ยาปฏิชีวนะหรือยาอื่นๆ การมีพยาธิสภาพของสมอง โรคทางเดินอาหารส่วนอื่น ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ การตั้งครรภ์ภาวะกรดแลกติคสูง หรือมีการติดเชื้อของกระเพาะอาหารและลำไส้เฉียบพลัน ยากลุ่มเอ็นอาร์ทีไอ (NRTIs) ที่ทำให้คลื่นไส้และหรืออาเจียนมากกว่ายาชนิดอื่นๆ ในกลุ่ม คือ ดีดาโนซีน (didanosine; ddI) และซิโดวูดีน (zidovudine; AZT) ยากลุ่ม INSTIs คือเอทิกราเวียร์ (elvitegravir) ซึ่งผสมอยู่กับยาอื่นๆ คือ โคบิซิสแตท/ทีโนโฟเวียร์/เอ็มตริไซตาบีน (cobicistat/tenofovir disoproxil fumarate/emtricitabine)
อาการคลื่นไส้ อาเจียน การรับประทานยาต้านรีโทรไวรัสในช่วงท้องว่างมักทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาจเจียน ดังนั้นควรแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาส่วนใหญ่พร้อมอาหารได้ เพื่อลดผลอาการไม่พึงประสงค์ลงได้ และช่วยเพิ่มการดูดซึมยาด้วย ยกเว้นยาดีดาโนซีน (didanosine)อินดินาเวียร์ (indinavir) เอฟฟาไวเร็นซ์ (efavirenz) ที่ควรรับประทานขณะท้องว่าง นอกจากนี้การรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งสามารถช่วยได้ รวมถึงหลีกเลี่ยงกาแฟ เครื่องดื่มแอลกฮอล์ อาหารรสจัด การสูบบุหรี่
อาการท้องเสียจากยาต้านรีโทไวรัส เป็นอีกอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะยาดีดาโนซีน (didanosine; ddI) ชนิดเม็ดเคี้ยว (buffer formulation) และยากลุ่ม PIs ทุกชนิดทำให้ท้องเสียได้ โดยที่ทำให้เกิดบ่อยสุด คือ ริโทรนาเวียร์ (ritonavir)อินดินาเวียร์ (indinavir) และ โลปินาเวียร์/ริโทรนาเวียร์ (lopinavir/ritonavir)รองลงไป คือ ดารุนาเวียร์ (darunavir) และ อะทาซานาเวียร์ (atazanavir) ส่วนสาเหตุอื่นๆที่พบได้บ่อยของภาวะท้องเสียเฉียบพลันที่พบบ่อยในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย หากผู้ป่วยประสบภาวะท้องเสีย ควรพิจารณาปรึกษาแพทย์ หากได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการหนักขึ้น
การป้องกัน
หากผู้ป่วยได้รับยาต้านรีโทรไวรัสอยู่ แล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวข้างต้น หรือมีความผิดปกติอื่นๆ ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
การรักษา
ผลอาการไม่พึงประสงค์นี้จะเกิดในช่วงแรกหลังจากที่เริ่มยาไป 4 – 6 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้นเอง แต่หากยังมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยได้รับยาไปนานแล้ว ควรต้องหาสาเหตุอื่นๆเพิ่มเติม ควรประเมินว่าอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ และอาเจียน และท้องเสียเป็นจากยาต้านรีโทรไวรัสหรือไม่ ถ้าเป็นจากยาให้พิจารณาเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่นๆ
อาการคลื่นไส้อาเจียนมาก สามารถรักษาโดยการใช้ยาเมโทรโครพามายด์ ( metoclopramide) ออนแดนซีทรอน (ondansetron) หรือ รานิทิดีน (ranitidine) โดยให้ยาดังกล่าวก่อนให้ยาต้านรีโทรไวรัส 30 นาที ทั้งนี้ ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียนทุกวันไปจนกว่าอาการจะดีขึ้น เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้วจะพิจารณาลดยาลง ข้อควรระวัง คือ การใช้ยากลุ่มลดกรดในกระเพาะอาหารกลุ่มยับยั้งตับรับฮีสตามีน 2 หรือกลุ่มโปรตอนปั๊มอินฮิบิเตอร์ (Histamine-2 blocker, proton pump inhibitor) ร่วมกับยาอะทาซานาเวียร์จะส่งผลลดการดูดซึมยาอะทาซานาเวียร์อาจทำให้เกิดการรักษาล้มเหลวได้
ในกรณีที่มีอาการท้องเสียเฉียบพลันหรือเป็นรุนแรง การรักษาอันดับแรก คือ การให้สารน้ำและเกลือแร่ทดแทนที่เสียไป ผู้ป่วยบางรายอาจมีการขาดเอนไซม์แลคโทสร่วมด้วย แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาการที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงหรือหวานจัด การใช้เอนไซม์ตับอ่อน (pancrelipase) มีประสิทธิภาพในการทำให้ผู้ป่วยท้องเสียจากยากลุ่ม PIs อาการดีขึ้น หรือการใช้ calcium carbonate 500 มิลลิกรัม/วัน ก็มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียจากยากลุ่ม PIs ทั้งนี้ แคลเซียม (calcium carbonate) สามารถเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาต้านรีโทรไวรัสได้ จึงควรทานแคลเซียมห่างจากยาต้านรีโทรไวรัสประมาณ 2 ชั่วโมง และอาจให้ยาโลเพอร์ลาไมด์ (loperamide) เพื่อยั้บยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้ รักษาอาการท้องเสียที่ไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย
บรรณานุกรม:
- Department of disease control, Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2017. availavle from http://www.thaiaidssociety.org/images/PDF/ hiv_thai_guideline _2560.pdf.
- Cohen DE, Mayer KH. Primary care issues for HIV-infected patients. Infect Dis Clin N Am 21 (2007): 49–70.
- วีรวัฒน์ มโนสุทธิ. Current management of complication of antiretroviral therapy. ใน: ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์, ณัฏฐดา อารีเปี่ยม, แสง อุษยาพร, บรรณาธิการ. Pharmacotherapy in infectious disease VII. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558, หน้า 198-201.
- Group TISS. Initiation of Antiretroviral Therapy in Early Asymptomatic HIV Infection. New England Journal of Medicine. 2015;373(9):795-807.
- Group TTAS. A Trial of Early Antiretrovirals and Isoniazid Preventive Therapy in Africa. New England Journal of Medicine. 2015;373(9):808-22.
- Ayoko R. Bossou SC, Karen K. O’Brien, Catherine A. Opere, Christopher J. Destache. Preventive HIV Vaccines: Progress and Challenges. US Pharmacist. 2015 OCTOBER 16, 2015:46-50.
- รัชนู เจริญพักตร์ และ ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์. Current update on HIV/AIDs treatment guideline in 2017. ใน: ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์, โชติรัตน์ นครานุรักษ์, และ แสง อุษยาพร, บรรณาธิการ. Pharmacotherapy in infectious disease IX. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560, หน้า 342-364.
- Wada N JL, Cohen M, French A, Phair J, Munoz A. Cause-specific life expectancies after 35 years of age for human immunodeficiency syndrome-infected and human immunodeficiency syndrome-negative individuals followed simultaneously in long-term cohort studies, 1984-2008. Am J Epidermol. 2013; 177: 116-125.
- Department of Health and Human Services. Guidelines for the Use of Antiretroviral Agents in Adults and Adolescents Living with HIV Available from: https://aidsinfo.nih.gov/guidelines.
- O'Brien ME, Clark RA, Besch CL, Myers L, Kissinger P. Patterns and correlates of discontinuation of the initial HAART regimen in an urban outpatient cohort. Journal of acquired immune deficiency syndromes (1999). 2003;34(4):407-14.
- Kiertiburanakul S, Luengroongroj P, Sungkanuparph S. Clinical characteristics of HIV-infected patients who survive after the diagnosis of HIV infection for more than 10 years in a resource-limited setting. Journal of the International Association of Physicians in AIDS Care (Chicago, Ill : 2002). 2012;11(6):361-5.
- Wiboonchutikul S, Sungkanuparph S, Kiertiburanakul S, Chailurkit LO, Charoenyingwattana A, Wangsomboonsiri W, et al. Vitamin D insufficiency and deficiency among HIV-1-infected patients in a tropical setting. Journal of the International Association of Physicians in AIDS Care (Chicago, Ill : 2002). 2012;11(5):305-10.
- Wilde JT, Lee CA, Collins P, Giangrande PL, Winter M, Shiach CR. Increased bleeding associated with protease inhibitor therapy in HIV-positive patients with bleeding disorders. British journal of haematology. 1999;107(3):556-9.
- European AIDS Clinical Society. EACS Guidelines version 8.1-October 2016. Available from http://www.eacsociety.org/files/guidelines_8.1-english.pdf.
- ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล. การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบบผู้ป่วยนอก.กรุงเทพฯ : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557
- Morse CG, Mican JM, Jones EC, Joe GO, Rick ME, Formentini E, et al. The incidence and natural history of osteonecrosis in HIV-infected adults. Clinical infectious diseases : an official publication of the Infectious Diseases Society of America. 2007;44(5):739-48.
- Woodward CL, Hall AM, Williams IG, Madge S, Copas A, Nair D, et al. Tenofovir-associated renal and bone toxicity. HIV medicine. 2009;10(8):482-7.
- Wang H, Lu X, Yang X, Xu N. The efficacy and safety of tenofovir alafenamide versus tenofovir disoproxil fumarate in antiretroviral regimens for HIV-1 therapy: Meta-analysis. Medicine. 2016;95(41):e5146.
- Redig AJ, Berliner N. Pathogenesis and clinical implications of HIV-related anemia in 2013. Hematology American Society of Hematology Education Program. 2013;2013:377-81.
- Assefa M, Abegaz WE, Shewamare A, Medhin G, Belay M. Prevalence and correlates of anemia among HIV infected patients on highly active anti-retroviral therapy at Zewditu Memorial Hospital, Ethiopia. BMC Hematology. 2015;15:6.
- de Gaetano Donati K, Cauda R, Iacoviello L. HIV Infection, Antiretroviral Therapy and Cardiovascular Risk. Mediterranean Journal of Hematology and Infectious Diseases. 2010;2(3):e2010034.
- Group TDS. Class of Antiretroviral Drugs and the Risk of Myocardial Infarction. New England Journal of Medicine. 2007;356(17):1723-35.
- Tsiodras S, Mantzoros C, Hammer S, Samore M. Effects of protease inhibitors on hyperglycemia, hyperlipidemia, and lipodystrophy: a 5-year cohort study. Archives of internal medicine. 2000;160(13):2050-6.
- วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์. Diagnosis and classification of Diabetes Mellitus. ใน: ธิติ สนับบุญ, บรรณาธิการ. แนวทางเวชปฏิบัติทางต่อมไร้ท่อ. กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560, หน้า 1-9.
- ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์. Clinical management for dyslipidemia in HIV-infected patients. ใน: ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์ และ ณัฏฐดา อารีเปี่ยม, บรรณาธิการ. Pharmacotherapy in infectious disease VI. กรุงเทพมหานคร. คอนเซ็พท์พริ้นท์. 2557, หน้า 198-201.
- Dube MP, Stein JH, Aberg JA, Fichtenbaum CJ, Gerber JG, Tashima KT, et al. Guidelines for the evaluation and management of dyslipidemia in human immunodeficiency virus (HIV)-infected adults receiving antiretroviral therapy: recommendations of the HIV Medical Association of the Infectious Disease Society of America and the Adult AIDS Clinical Trials Group. Clinical infectious diseases : an official publication of the Infectious Diseases Society of America. 2003;37(5):613-27.
- Hoffman RM, Currier JS. Management of antiretroviral treatment-related complications. Infectious disease clinics of North America. 2007;21(1):103-32, ix.
- Husain NEOS, Ahmed MH. Managing dyslipidemia in HIV/AIDS patients: challenges and solutions. HIV/AIDS (Auckland, NZ). 2015;7:1-10.
- Kiertiburanakul S, Sungkanuparph S, Charoenyingwattana A, Mahasirimongkol S, Sura T, Chantratita W. Risk factors for nevirapine-associated rash among HIV-infected patients with low CD4 cell counts in resource-limited settings. Current HIV research. 2008;6(1):65-9.
- Murphy RL. Defining the toxicity profile of nevirapine and other antiretroviral drugs. Journal of acquired immune deficiency syndromes (1999). 2003;34 Suppl 1:S15-20.
- Department of Health and Human Services. HIV and Lactic Acidosis. Available from: https://aidsinfo.nih.gov/understanding-hiv-aids/fact-sheets/22/68/hiv-and-lactic-acidosis.
- Grinspoon S, Carr A. Cardiovascular Risk and Body-Fat Abnormalities in HIV-Infected Adults. New England Journal of Medicine. 2005;352(1):48-62.
- Simpson D, Estanislao L, Evans S , McArthur J, Marcusd K, Truffa M et,al. HIV-associated neuromuscular weakness syndrome. AIDS (London, England). 2004;18(10):1403-12.
- Hall AM, Hendry BM, Nitsch D, Connolly JO. Tenofovir-associated kidney toxicity in HIV-infected patients: a review of the evidence. American journal of kidney diseases : the official journal of the National Kidney Foundation. 2011;57(5):773-80.
- Chaisiri K, Bowonwatanuwong C, Kasettratat N, Kiertiburanakul S. Incidence and risk factors for tenofovir-associated renal function decline among Thai HIV-infected patients with low-body weight. Current HIV research. 2010;8(7):504-9.
- Schwarzwald H, Gillespie S. Management of Antiretroviral-Associated Complications. Available from: https://bipai.org/sites/bipai/files/5-Mgt-assoc-complications.pdf
- ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล. Practical management of complication-associated with ARVใน: นารัต เกษตรทัต, ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์ และ ณัฏฐดา อารีเปี่ยม, บรรณาธิการ. Pharmacotherapy in infectious disease VI. กรุงเทพมหานคร. คอนเซ็พท์พริ้นท์. 2554, หน้า 317-346.