กาบา (GABA: Gamma aminobutyric acid)

บทความที่เกี่ยวข้อง
กาบา

กาบา (GABA: Gamma aminobutyric acid) เป็นสารสื่อประสาทที่ทำงานเป็นตัวต้านกระแสประสาทจึงช่วยลดการกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมอง เซลล์สมองจึงเกิดสมดุลในการทำงาน ส่งผลให้สมองลดการตื่นตัวเกินเหตุ ทำให้สมองเกิดความสงบ ลดความวิตกกังวล เพิ่มการเข้าใจการรับรู้ และยังช่วยควบคุมการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ จึงช่วยให้ร่างกายเกิดการผ่อนคลาย การนอนหลับ นอกจากนั้นยังเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง และอาจสัมพันธ์กับการทำงานของฮอร์โมนจากต่อมไพเนียลที่ชื่อว่า Melatonin ที่ควบคุมการนอนหลับหรือภาวะกลางวันกลางคืนของร่างกาย

ทั้งนี้ การทำงานของGABA ต้องอาศัย ตัวรับกาบา(GABA receptor ย่อว่า GABA R) ที่มีกระจายอยู่ตามเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ แต่ที่มีมากที่สุดคือ อยู่ในอวัยวะระบบประสาทส่วนกลาง

GABA receptor: ตัวรับ(Receptor)คือสารที่สามารถรับสัญญาณจากสารต่างๆเพื่อให้สารนั้นๆทำงานได้และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ตัวรับกาบา (GABA receptor)” คือสารเคมีที่จะทำให้ GABA สามารถทำงานได้และทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวรับกาบา มี 2 ชนิด คือ GABA-A และ GABA-B

ก. GABA-A receptor ย่อว่า GABA AR อีกชื่อ คือ Ionotropic receptor ส่วนใหญ่จะมีในระบบประสาทส่วนกลางมีหน้าที่ต้าน/ยังยั้งการทำงานของสารสื่อประสาท GABA/เพิ่มการทำงานของ GABA receptor

ข. GABA-B receptor ย่อว่า GABA BR อีกชื่อคือ Metabotropic receptor เป็นตัวรับที่มีอยู่ในระบบประสาทส่วนกลางรวมถึงในระบบประสาทอัตโนมัติ ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของ GABA receptor

บรรณานุกรม

  1. http://www.denvernaturopathic.com/news/GABA.html [2018,March24]
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/GABA_receptor [2018,March24]
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/GABAA_receptor [2018,March24]
  4. https://en.wikipedia.org/wiki/GABAB_receptor [2018,March24]
Updated 2018,March24