กัวเนธิดีน (Guanethidine)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 5 มิถุนายน 2558
- Tweet
- บทนำ
- กัวเนธิดีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- กัวเนธิดีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- กัวเนธิดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- กัวเนธิดีนมีขนาดการบริหารยาอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- กัวเนธิดีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้กัวเนธิดีนอย่างไร?
- กัวเนธิดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษากัวเนธิดีนอย่างไร?
- กัวเนธิดีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
- ต้อหิน (Glaucoma)
- ยาหยอดตา (Eye drops)
- ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
- รักษาโรคความดันโลหิตสูงที่ความดันโลหิตสูงในระดับรุนแรงปานกลางจนถึงในระดับรุน แรงมาก
- รักษาความดันโลหิตสูงในภาวะวิกฤต (Hypertensive crisis)
- รักษาโรคต้อหิน (Open angle glaucoma)
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 10 และ 25 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาฉีด ขนาด 10 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
- ยาหยอดตา ขนาดความเข้มข้น 50 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
- ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของ Adrenaline
- Guanethidine monosulfate 1% + Adrenaline 0.2%
- Guanethidine monosulfate 3% + Adrenaline 0.5%
- ผู้ใหญ่: รับประทานวันละ 10 มิลลิกรัมในช่วงแรกของการรักษา จากนั้นแพทย์จะพิจารณา ค่อยๆปรับขนาดรับประทานเพิ่มขึ้น 10 มิลลิกรัมทุกๆ 5 - 7 วัน โดยพิจารณาการตอบสนองของผู้ ป่วยต่อยา ทั้งนี้ขนาดรับประทานสำหรับคงการรักษา คือ 25 - 50 มิลลิกรัมวันละครั้ง
- เด็ก: รับประทาน 0.2 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วันในช่วงเริ่มต้น จากนั้นแพทย์จะพิจารณาปรับขนาดรับประทานเพิ่มขึ้น 0.2 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมทุกๆ 7 - 10 วันจนการตอบสนองของร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ผู้ใหญ่: ฉีดเข้ากล้ามเนื้อขนาด 10 - 20 มิลลิกรัมครั้งเดียว
- เด็ก: ไม่แนะนำการใช้ยาฉีดกับเด็ก
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาหรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยากัวเนธิดีนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆ และ/หรือกับอาหารเสริมที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารกจน ก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคเนื้องอกต่อมหมวกไต (Pheochromocytoma) ผู้ป่วยด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่ไม่ได้เกิดจากความดันโลหิตสูง
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือด ผู้ที่มีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยโรคหืด
- เมื่อใช้ยานี้ควรระวังการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในขณะออกกำลังกายหรือภาวะที่ทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเช่น ออกแรงมากในที่อากาศอบอ้าวถ่ายเทอากาศไม่ได้
- ขณะใช้ยานี้ให้ระวังการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัด
- หากเป็นยาหยอดตาให้ระวังภาวะเยื่อตาบาดเจ็บ/อักเสบจากยา
- ระวังการใช้ยานี้กับเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
- การใช้ยากัวเนธิดีนร่วมกับยากลุ่ม MAOI และ Tricyclic antidepressants อาจทำให้ประ สิทธิภาพในการรักษาของยากัวเนธิดีนด้อยประสิทธิภาพลงและเป็นเหตุให้เกิดภาวะความดันโล หิตสูงตามมา หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยากัวเนธิดีนร่วมกับยา Minoxidil จะก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำร่วมกับมีภาวะ หัวใจเต้นช้า ปวดศีรษะ และวิงเวียนติดตามมา การจะใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดรับประทานเป็นกรณีไป
- การใช้ยากัวเนธิดีนร่วมกับยา Pseudoephedrine สามารถทำให้ฤทธิ์การรักษาของยาทั้ง 2 ตัวด้อยประสิทธิภาพลง หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกันแพทย์จะพิจารณาปรับขนาดรับประทาน หรือแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาคนละเวลากัน
- การใช้ยากัวเนธิดีนร่วมกับยากลุ่มสเตียรอยด์เช่น Prednisolone อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาร่วมกัน 1 สัปดาห์ขึ้นไป อาจพบอาการบวม น้ำหนัก เพิ่มตามมา หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นกรณีไป
- http://en.wikipedia.org/wiki/Guanethidine [2015,May16]
- http://www.drugs.com/sfx/guanethidine-side-effects.html [2015,May16]
- http://www.mims.com/USA/drug/info/guanethidine/guanethidine?type=full&mtype=generic#Dosage [2015,May16]
- http://www.druglib.com/druginfo/ismelin/interactions_overdosage_contraindications/[2015,May16]
- http://www.druglib.com/activeingredient/guanethidine/ [2015,May16]
- http://www.webmd.com/drugs/2/drug-8827/phenelzine-oral/details/list-interaction-details/dmid-1662/dmtitle-maois-guanethidine/intrtype-drug[2015,May16]
- http://www.druglib.com/druginfo/ismelin/interactions_overdosage_contraindications/ [2015,May16]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/guanethidine-index.html?filter=3&generic_only=[2015,May16]
- http://www.medindia.net/doctors/drug_information/guanethidine_monosulfate.htm [2015,May16]
- http://www.mhra.gov.uk/home/groups/spcpil/documents/spcpil/con1406874715758.pdf[2015,May16]
- https://www.medicines.org.uk/emc/medicine/10834[2015,May16]
- http://www.drugs.com/imprints/47-ciba-2995.html [2015,May16]
บทนำ
ยากัวเนธิดีน (Guanethidine) เป็นยาลดความดันโลหิตสูง มีกลไกลดการหลั่งสารจำพวก Catecholamines (สารที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ) เช่น Norepine phrine เป็นต้น ทางคลินิกได้นำยานี้มาใช้ลดความดันโลหิตสูงกับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาลดความดันโลหิตประเภทอื่น และยังนำมาใช้ลดความดัน โลหิตของสตรีตั้งครรภ์อีกด้วย ในแถบประเทศอังกฤษมีการใช้ยากัวเนธิดีนลดความดันโลหิตแบบวิกฤต/อาการรุนแรงมาก นอกจากนี้ยังมีการนำยากัวเนธิดีนมาใช้กับโรคต้อหินชนิด Open angle glaucoma
ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียงของการใช้ยานี้ที่โดดเด่นได้แก่ มีอาการบวมที่เท้าและขา มีอาการท้องเสีย วิงเวียน สมรรถภาพทางเพศเสื่อม เป็นต้น ปกติอาการข้างเคียงดังกล่าวไม่ต้องใช้ยารักษาแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องรอให้ร่างกายปรับตัวสักพักจนคุ้นเคย อาการข้างเคียงเหล่า นั้นจะค่อยๆทุเลาลดน้อยลงไป อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับอาการข้างเคียงอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดปัญหาต่อการดำรงชีวิต ขอแนะนำให้รีบกลับไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล เพื่อแพทย์ปรับแผนการรักษาใหม่น่าจะปลอดภัยกว่า
จากการศึกษาเรื่องการกระจายตัวของยากัวเนธิดีนในร่างกายมนุษย์พบว่า ตัวยาถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารน้อยกว่า 50% เมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือด ตัวยาเพียงบางส่วนจะถูกลำเลียงไปที่ตับ แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี ร่างกายต้องใช้เวลาถึง 5 วันเพื่อกำจัดยา 50% ออกจากกระแสเลือดโดยผ่านไปกับปัสสาวะ
รูปแบบยาแผนปัจจุบันของยานี้ที่พบเห็นได้จะเป็นยารับประทานเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนยาฉีดจะใช้ในกรณีที่เกิดความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤต และรูปแบบยาหยอดตาใช้รัก ษาอาการของโรคต้อหิน
เพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยากัวเนธิดีน ผู้ป่วยจะต้องใช้ยาตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่ง ครัด และห้ามมิให้ปรับขนาดการรับประทานยา/ใช้ยาด้วยตนเอง
กัวเนธิดีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยากัวเนธิดีนมีสรรพคุณดังนี้เช่น
กัวเนธิดีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยากัวเนธิดีนมีกลไกฤทธิ์โดยตัวยาจะยับยั้งและรบกวนการหลั่งสารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า Norepinephrine เป็นเหตุให้ความต้านทานของหลอดเลือดและปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง เป็นผลให้ความดันโลหิตลดลง
หากนำไปใช้เป็นยาหยอดตา ยากัวเนธิดีนจะลดการผลิตสารน้ำในลูกตา (Aqueous humor) ทำให้ลดความดันในลูกตาลงได้
กัวเนธิดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยากัวเนธิดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้เช่น
กัวเนธิดีนมีขนาดการบริหารยาอย่างไร?
ยากัวเนธิดีนมีขนาดการบริหารยา/การใช้ยาขึ้นกับแต่ละอาการของโรคที่แตกต่างกันไป ซึ่งจะเป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา ในที่นี้ขอยกตัวอย่างขนาดการใช้ยาเฉพาะในอาการความดันโลหิตสูงเท่านั้น
ก.สำหรับความดันโลหิตสูง:
* อนึ่ง เพื่อป้องกันการรบกวนการดูดซึมยาจากอาหาร ควรรับประทานยานี้ช่วงท้องว่าง หรือก่อนมื้ออาหาร 1 ชั่วโมงหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง
ข.สำหรับความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤต (Hypentensive crisis):
*****หมายเหตุ:
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยากัวเนธิดีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยากัวเนธิดีนสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
กัวเนธิดีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยากัวเนธิดีนสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้เช่น เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ท้องเสีย วิงเวียน อ่อนแรง เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นช้า สมรรถภาพทางเพศของผู้ชายถดถอย อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีอาการบวม อึดอัด/หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง คัดจมูก ตาพร่า ซึมเศร้า ตัวสั่น ผมร่วง ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน มีอาการผื่นคันทางผิวหนัง อาจมีอาการหอบหืด เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
สำหรับยาหยอดตาสามารถพบเห็นอาการข้างเคียงโดย พบเลือดออกในลูกตา รูม่านตาเล็กลง รู้สึกแสบคันในตา เปลือกตา/หนังตาหย่อน และกระจกตาอักเสบ เป็นต้น
มีข้อควรระวังการใช้กัวเนธิดีนอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยากัวเนธิดีนดังนี้เช่น
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากัวเนธิดีนด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
กัวเนธิดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยากัวเนธิดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้เช่น
ควรเก็บรักษายากัวเนธิดีนอย่างไร?
ควรเก็บยากัวเนธิดีนภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส (Celsius) ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
ยากัวเนธิดีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยากัวเนธิดีนที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นๆและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Ismelin (อิสเมลิน) | AMDIPHARM |
Esimil (เอสไซมิล) | Novartis |