กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 17 กรกฎาคม 2564
- Tweet
เการวินิจฉัยโรค (ต่อ)
- ตรวจเอ็มอาร์ไอ เพื่อดูขนาด รูปร่าง และโครงสร้างของหัวใจ ทั้งยังดูสัญญานการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ
- ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiogram) เพื่อดูว่าหัวใจโต มีการสูบฉีดอย่างไร มีปัญหาเรื่องลิ้นหัวใจอย่างไร
- การตรวจเลือด เพื่อดูเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เม็ดเลือดแดง ระดับของเอนไซม์ที่สามารถระบุได้ว่ากล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายขนาดไหน ทั้งยังตรวจแอนติบอดี (antibody) ที่มีต่อเชื้อโรคว่ามีการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหรือไม่
- การตรวจสวนหัวใจ (cardiac catheterization) และ การตรวจชิ้นกล้ามเนื้อหัวใจ (endomyocardial biopsy) เพื่อดูการอักเสบหรือการติดเชื้อ
เสำหรับการรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอาจทำได้ด้วยการ
- บำบัดด้วยคอร์ดิโคสเตียรอยด์ (corticosteroid therapy) เพื่อลดการอักเสบ
- ให้ยารักษาหัวใจ (cardiac medications) เช่น ยา beta-blocker ยา ACE inhibitor หรือ ยา angiotensin receptor blockers (ARB)
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การพักผ่อน การจำกัดปริมาณของเหลว และการกินอาหารที่มีเกลือน้อย
- ใช้ยาขับปัสสาวะ (diuretic therapy) เพื่อขับของเหลวออก
- ใช้ยาปฏิชีวนะ (antibiotic therapy)
- ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (pacemaker)
- ฝังเครื่องกระตุกหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator = ICD)
เยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่ชัดเจน อย่างไรก็ดี การป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ก็น่าจะเป็นการช่วยป้องกันได้ เช่น
- การหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อหวัด
- รักษาสุขอนามัย เช่น ล้างมือบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยง เช่น การติดเชื้อเฮชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์หรือการใช้ยาเสพติด
- ฉีดวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน (rubella) และไข้หวัดใหญ่
แหล่งข้อมูล:
- Myocarditis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/myocarditis/symptoms-causes/syc-20352539 [2021, July 16].
- Myocarditis. https://www.healthline.com/health/heart-disease/myocarditis [2021, July 16].
- What You Should Know: Myocarditis. https://www.webmd.com/heart-disease/myocarditis [2021, July 16].