กระดานสุขภาพ

ความเสี่ยง
Skyl*****7

29 ธันวาคม 2562 14:02:12 #1

สวัสดีครับคุณหมอ
ผมมีเรื่องอยากจะปรึกษาเกี่ยวกับ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จำพวก เริม ซิฟิลิส โดยเมื่องันที่ 2 ธันวาคม ผมได้ไปใช้บริการทางเพศกับหญิงบริการแห่งหนึ่ง ซึ่งเริ่มแรกฝ่ายหญิง
ในช่วงแรกทางฝ่ายหญิงได้ขึ้นคร่อมบนตัวผม (Woman On Top) และใช้อวัยวะเพศของฝ่ายหญิงตรงส่วนขนอวัยวะเพศ และตรงปากช่องคลอดถูไถตรงปลายสาวนหัวองคชาติจนผมสำเร็จความใคร่ในรอบแรก จากนั้นฝ่ายหญิงเริ่มเล้าโลมผมด้วยการเลียที่หัวนม และนำถุงยางอนามัยมาส่วมใส่ที่อวัยเพศของผม และสอดใส่ไปเข้าไปยังอวัยวะเพศฝ่ายหญิง โดยอยู่ในลักษณะ Woman On Top โดยมีเพศสัมพันธ์จนผมสำเร็จความใคร่เป็นรอบที่สอง ซึ่งลักษณะของถุงยางไม่มีการแตกหรือรั่ว
1.จากเหตุหชการณ์ข้างต้นผมมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด
2.การถูไถสามารถติดเชื้อ HIV หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่
3.กรณีสวมใสถุงยางหากไม่มีการแตกหรือรั่ว ในเหตการณ์นี้ถือว่าปฃอดภัยหรือไม่
4.หากหลังมีความเสี่ยงมา 20 วันผมสามารถไปตรวจเลือดที่คลินิกนิรนามได้หรือไม่ และผลที่ออกมาสามารถเชื่อถือได้หรือไม่

อายุ: 34 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 62 กก. ส่วนสูง: 173ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.72 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคผิวหนัง

30 ธันวาคม 2562 19:53:07 #2

  • สำหรับการติดต่อของโรคเอดส์
  • 1.มีการร่วมเพศโดยไม่ใช้ถุงยางกับคนที่ติดเชื้อเอดส์
  • 2.ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนที่ติดเชื้อเอดส์
  • 3. ได้รับเลือดบริจาคที่มีเชื้อเอดส์
  • และ 4 ติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ขณะตั้งครรภ์
  • สำหรับการติดต่อนั้นโดยหลักการคือต้องมีการสัมผัสสารคัดหลั่งหรือเลือดที่มีเชื้อเอดส์อยู่
  • เชื้อเอดส์จะเข้าสู่ร่างกายผ่านเซลล์ที่อยู่บริเวณหนังที่เป็นเยื่อบุอ่อนหรือถ้าเป็นผิวหนังจะต้องมีแผลหรือมีรอยที่เชื้อจะผ่านเข้าไปแล้ว
  • มีการแบ่งตัวเข้าสู่กระแสเลือดทำให้มีการติดเชื้อเกิดขึ้น สารคัดหลั่งที่พบเชื้อได้ในผู้ติดเชื้อ คือ เลือด น้ำอสุจิ ตกขาวหนือสารคัดหลั่งในช่องคลอดหรือปากมดลูก สารคัดหลั่งในทวารหนัก น้ำนมของแม่ที่ติดเชื้อเอดส์ สำหรับในกรณีที่คุณถามเกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยงในการติดเชื้อเอดส์นั้น ถ้าเป็นการถูไถภายนอกถือว่าไม่เสี่ยง ส่วนการสอดใส่ร่วมเพศถ้าใช้ถุงยางและถุงยางไม่รั่วไม่ฉีดขาดก็ถือว่าไม่เสี่ยงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ การใช้ชีวิตประจำวันเช่น การเรียนหนังสือ การทำงาน การกินข้าวร่วมโต๊ะกับผู้ติดเชื้อ ก็ ไม่มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน ในกรณีที่มีความเสี่ยงตามข้อ 1-4 สามารถตรวจเลือดโดยใช้สิทธิบัตรทองหรือประกันสังคม ไม่เสียค่าตรวจ สามารถยืนยันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่โดยการตรวจเลือด วิธีที่ตรวจได้เร็วที่สุดหลังมีความเสี่ยงคือการตรวจด้วยด้วยวิธี NAAT คือการตรวจส่วนของเชื้อไวรัสเอชไอวีสามารถตรวจได้เร็วขึ้น คือประมาณ 1 อาทิตย์หลังมีความเสี่ยง แต่จะมีตรวจเฉพาะห้องแล็บใหญ่ๆและมักใช้ในงานวิจัย เนื่องจากมีราคาแพง แนะนำให้ตรวจด้วยวิธีที่ใช้กันทั่วไป คือ GEN 4 ซึ่งเป็นการตรวจแอนติเจนและแอนติบอดี สามารถตรวจได้หลังมีความเสี่ยงประมาณ 3-4 อาทิตย์ ถ้าผลเป็นลบ ก็แสดงว่าไม่ติดเชื้อ แต่ควรตรวจซ้ำหลังเสี่ยงครบ 3 เดือน ซึ่งถ้าผลเป็นลบ ก็ไม่ติดเชื้อเอดส์ ส่วนเรื่องซิฟิลิสและเริมนั้น ถ้าฝ่ายหญิงมึแผลอยู่บริเวณอวัยวะเพศภายนอก และมีการถูไถสัมผัสก็อาจจะติดต่อได้ โดยซิฟิลิสจะมีระยะฟักตัว 10 -90 วันหลังเสี่ยง และเริมมีระยะฟักตัว 3-7 วันหลังเสี่ยง