กระดานสุขภาพ
ขอคำแนะนำจากผลตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดครับ | |
---|---|
19 กันยายน 2558 02:38:50 #1 คือผมตรวจเลือดปรากฏว่าค่า RCB = 6.67 (สูงกว่าค่าปกติ) MCV = 72.0 (ต่ำกว่าปกติ) Aniso few คืออะไรครับ คุณหมอช่วยดูผล แล้วผมขอคำแนะนำหน่อยนะครับhttp://haamor.com/media/images/webboardpics/chontechpeem-24751-1.jpg |
|
อายุ: 21 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 67 กก. ส่วนสูง: 175ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.88 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Chon*****m |
19 กันยายน 2558 09:26:28 #2
เป็นอันตรายไหมครับผม และมีวิธีรักษาไหมครับ
|
ศ. พญ. อรุณี เจตศรีสุภาพ(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์และโลหิตวิทยา) |
21 กันยายน 2558 18:14:19 #3 หมอตรวจสอบผลเลือดของคุณพบว่า ความเข้มข้นของเลือด จำนวนเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ รูปร่างเม็ดเลือดแดงมีขนาดแตกต่างกัน เล็กน้อย คือ มี Aniso (anisocytosis) few ไม่ได้บอกว่า มีรูปร่างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ (poikilocytosis) หรือไม่ ในการวินิจฉัยกลุ่มพาหะแอลฟ่าธาลัสซีเมียต้องตรวจเลือดหาดีเอ็นเอคุณอาจกังวลว่าจะตรวจเวลาใดจึงจะเหมาะสม หมอขอแนะนำว่าหากคุณมีภรรยาและวางแผนจะมีบุตรให้ไปตรวจกรองว่าเป็นคู่เสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงหรือไม่ค่ะ เพราะหากคุณเป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดฮีโมโกลบินอี และคู่แต่งงานเป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดเบต้าที่รุนแรง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ถ้าฝ่ายหญิงไม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ก็ไม่ต้องตรวจเลือดต่อ แต่ไม่ได้หมายความว่าคู่ของคุณจะไม่เสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย หากทั้งคู่เป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดไม่รุนแรง อาจมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดไม่รุนแรงได้ สำหรับตัวคุณยกเว้นที่ตรวจเลือดพบว่ามีความผิดปกติเล็กน้อย คุณคือคนปกติดีทุกอย่าง มีชีวิตเช่นคนปกติ ทำงานได้ตามปกติ ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องกินยาอะไรค่ะ ออกกำลังกายได้ตามปกติ ไม่มีข้อห้ามในการกินอาหารที่มีธาตุเหล็ก ทำจิตใจให้เบิกบานผ่องใส เพราะประเทศไทยมีพาหะธาลัสซีเมียมาก ร้อยละ 30-40 แต่ขอให้ทราบว่าคู่สมรสทุกรายเมื่อวางแผนจะมีบุตร ควรตรวจว่าเป็นคู่เสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงหรือไม่ เด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงจะมีอาการซีดมากต้องให้เลือดเพื่อการมีชีวิตรอด คุณอาจยังไม่เข้าใจเรื่องโรคหรือพาหะธาลัสซีเมีย โดยสรุป โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของเลือด โดยมีบิดาและมารดาเป็นผู้นำความผิดปกติส่งต่อไปยังลูก ส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรคต้องรับความผิดปกติไปจากทั้งบิดาและมารดาทั้งสองฝ่าย อาการของโรคมีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการมากได้แก่อาการซีดเรื้อรัง ตัวเหลือง ตาเหลือง ตัวเล็ก หน้าตาเปลี่ยนแปลง ท้องโตเพราะตับและม้ามโต การรักษาที่สำคัญคือการให้เลือดในผู้ที่มีอาการซีดมาก และโรคนี้มักมีปัญหาเหล็กเกินตามมาต้องให้ยาขับธาตุเหล็ก หากมีความผิดปกติที่รับจากบิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายเดียวจะไม่เกิดโรค เรียกว่าเป็นพาหะของโรค ซึ่งสามารถดำเนินชีวิตเช่นเดียวกับคนปกติ ขออวยพรให้โชคดีค่ะ |
Chon*****m |
22 กันยายน 2558 03:39:19 #4
ขอบคุนมากๆเลยครับคุณหมอ
|
Chon*****m