กระดานสุขภาพ
ลูกชายอายุ 5ขวบครึ่งแล้ว ยังอุจระไม่บอกทำไงดี | |
---|---|
21 ธันวาคม 2555 07:11:56 #1 ลูกชายอายุ 5 ขวบครึ่งแล้ว ยังอุจระไม่บอก แต่ปัสวะ สามารถทำเองได้ ใช้วิธีหลายวิธีแล้ว ทำไงดีค่ะ |
|
อายุ: 5 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 25 กก. ส่วนสูง: 110ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.66 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
น***** |
24 ธันวาคม 2555 16:12:34 #2 ก่อนอื่นคงจะต้องค่อยๆแยกปัญหาออกเป็นกรณีๆก่อน ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญหลักๆดังนี้คือ กรณีแรกถ้าหากว่า 1) เด็กไม่เคยขับถ่ายด้วยตัวเองได้เลยมาตั้งแต่เล็กๆ 1.1 กล่าวในรายละเอียด ควรนึกถึงความผิดปกติเกี่ยวข้องกับโรคหรือการทำงานของระบบทางเดินอาหารที่อาจทำให้สภาวะการทำงานของลำไส้ผิดเพี้ยนไป เช่น โรคทางเดินอาหารในเด็ก การรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีกาก การดื่มน้ำน้อย หรือ ภาวะการทำงานของต่อมไร้ท่อที่ผิดปกติ เช่น ต่อมธัยรอยด์ที่ทำงานน้อยผิดปกติ โรคทางระบบสมองและไขสันหลังที่มีพัฒนาการล่าช้าผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งภาวะเหล่านี้อาจส่งผลกระทบได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ทำให้การย่อยมีปัญหา ทำให้ท้องอืดและ ทำให้อุจจาระแข็ง เจ็บช่องทวารเวลาที่ขับถ่าย ในกรณีถัดมา ถ้าหากว่า 2) เด็กเคยขับถ่ายช่วยเหลือตัวเองได้แล้วอยู่ๆก็ทำไม่ได้ 2.1 กล่าวในรายละเอียด ควรคำนึงถึงความพร้อมทางด้านพฤติกรรม ด้านความคิด อารมณ์ สติปัญญา จิตใจและสิ่งแวดล้อม การฝึกให้เด็กขับถ่ายภายใต้บรรยากาศที่ไม่เป็นมิตร เข้มงวด และกดดันจนเกินไปอาจทำให้เด็กเครียดเกิดอารมณ์ต่อต้านซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเด็กไม่ยอมถ่ายตามมาได้ ในส่วนของความคิดผู้ปกครองต้องมั่นใจว่าบุตรหลานของท่านอยู่ในช่วงอายุและวุฒิภาวะที่เหมาะสมต่อการฝึกหัดในการควบคุมการถ่ายซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 1 1/2- 4 ขวบ นอกเหนือจากนั้นเด็กต้องมีทักษะในการสื่อสารและรับฟังคำสั่งได้ดีคือเด็กต้องสามารถที่จะบอกได้เวลาที่ตนเองปวดท้องและจำเป็นที่จะต้องถ่ายท้อง ถ้าเด็กยังบอกไม่ได้เช่นในกรณีเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางด้านสติปัญญาหรือการสื่อสารที่ล่าช้านอกเหนือจากกลไกการควบคุมการขับถ่ายที่อาจล่าช้าอยู่ก่อนแล้ว ควรต้องพามาพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินพัฒนาการโดยละเอียดเสียก่อน อีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญคือบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมที่ผ่อนคลายและเป็นมิตรเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำผิดพลาดหรือล้มเหลวในขั้นตอนการฝึกโดยไม่ต้องถูกตำหนิหรือลงโทษจะมีส่วนในการช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้น ในบางกรณีถ้าเด็กมีความเครียดสะสมมากๆอาจมีอาการแทรกซ้อนเป็นลักษณะของการกลัวห้องน้ำ หรือกลัวส้วมเกิดขึ้นร่วมด้วยได้ กรณีสุดท้าย 3) การใช้ยาบางตัวที่ทำให้ท้องผูกเป็นเวลานานๆ 3.1 กล่าวในรายละเอียด เช่นยาในกลุ่ม ยาแก้แพ้ ยาแก้ปวดต้านอักเสบ (NSAIDs) ยาลดกรด (Antacid) ยารักษาโรคลมชัก (Anticonvulsant) ยารักษาโรคจิตซึมเศร้า (Antidepressant) ยาลดความดันโลหิตสูง ยาขับปัสสาวะ ธาตุเหล็ก กลุ่มยาที่เข้าฝิ่น ยาคลายการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ยารักษาโรคประสาท เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับหรือเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นๆที่อาจมีผลข้างเคียงน้อยกว่า ในส่วนของแนวทางในการช่วยเหลือ
นพ ชลภัฏ จาตุรงคกุล |
Noo_*****2