กระดานสุขภาพ
ไอเรื้อรัง | |
---|---|
16 กันยายน 2562 12:11:27 #1 ผมไอเรื้อรังมาเปนเวลาครึ่งปีเป็นๆหายบางวันก็ไม่ค่อยไอ รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ข้างในเลยอยากไอออกมา ไม่เคยมีไข้ ป่วยผมเป็นอะไรหรอครับเกี่ยวการอาบน้ำดึกไหมครับ |
|
อายุ: 23 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 55 กก. ส่วนสูง: 166ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.96 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
21 กันยายน 2562 15:28:10 #2 อาการไอเรื้อรังในผู้ใหญ่ หมายถึง อาการไอต่อเนื่องนานมากกว่า 2 เดือน สาเหตุของอาการไอเรื้อรังในผู้ใหญ่ 1. Upper airway cough syndrom เป็นกลุ่มอาการ ที่เกิดจากโรคจมูกและ/หรือไซนัส เช่น โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้(allergic rhinitis) โรคจมูกอักเสบ ที่ไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ (nonallergic rhinitis) โรคไซนัสอักเสบที่มีหรือไม่มีริดสีดวงจมูกร่วมด้วย 2. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 3. Post - infection cough ส่วนใหญ่เป็นอาการไอที่เกิดตามหลังการติดเชื้อในระบบ ทางเดินหายใจส่วนบน (upper respiratory tract infection) 4. Chronic aspiration ควรสงสัยสาเหตุนี้เมื่อผู้ป่วยมีอาการไอที่สัมพันธ์กับมื้ออาหาร ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีปัญหาการสำลัก อาจเกิดปอดอักเสบจากการสูดสำลักได้ 5. อาการไอจากการสูบบุหรี่ 6. โรคหืด (asthma) เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ (reversible airflow obstruction) และมีความไวของหลอดลมเพิ่มขึ้น 7. Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) ผู้ป่วย COPD ส่วนใหญ่จะสูบบุหรี่มานาน 8. Gastroesophageal reflux disease ผู้ป่วยมักมีอาการเรอเปรี้ยวเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หรืออาจรู้สึกเหมือนมีอะไรจุกอยู่ที่คอ ผู้ป่วยที่มีกรดไหลย้อนขึ้นมาถึงบริเวณกล่องเสียง และคอ (laryngopharyngeal reflux) จะมีกล่องเสียงอักเสบ และเสียงแหบได้ 9. อาการไอที่ไม่ททราบสาเหตุ (idiopathic cough) ไอเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดหลังจากได้พยายามค้นหาสาเหตุแล้ว ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะถูกจัดอยู่ใน กลุ่มอาการไอที่ไม่ทราบสาเหตหรือchronic cough hypersensitivity syndromeผู้ป่วยกลุ่มนี้ มักพบในผู้หญิง มักไอไม่ค่อยมีเสมหะ มักจะมีสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการไอได้มากกว่า 1 ชนิด เช่น การพูด อากาศเย็น กลิ่น ผู้ป่วยมักรู้สึกว่ามีอาการคันหรือระคายคอ (laryngeal hypersensitivity) ก่อนมีอาการไอ และโรคนี้มักทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง การวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการไอ เนื่องจาก ร้อยละ 20 ของผู้ป่วยไอเรื้อรังอาจมีสาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้นได้หลายอย่าง ดังนั้นแพทย์ต้องซักประวัติ ตรวจร่างกายและสืบค้นเพื่อหาสาเหตุต่างๆ ให้ครบถ้วน 1. การซักประวัติ ควรซักถึง - การใช้ยา ACEI - การสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ - ความเครียด หรือความวิตกกังวล - การสูบบุหรี่ สิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ - เหตุกระตุ้นให้เกิดอาการไอ เช่น สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ฝุ่น ควัน อากาศเย็น หลังออกกำลังกาย หลังรับประทานอาหาร - อาการทางจมูก และ/หรือไซนัส การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน - อาการของโรคกรดไหลย้อน เช่น เรอเปรี้ยว ท้องอืด เจ็บหน้าอก - อาการนอนกรน และ/หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ - ประวัติโรคภูมิแพ้ (atopy) ของผู้ป่วย และคนในครอบครัว เช่น โรคเยื่อบุตาอักเสบ ภูมิแพ้(allergic conjunctivitis)โรคแพ้อากาศ(allergicrhinitis)โรคหดื (asthma) โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis) - ประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคมาก่อน - อาการของโรคมะเร็ง เช่นไอเป็นเลือด หรือมีเสมหะปนเลือด เบื่ออาหาร นำ้หนักลด 2. การตรวจร่างกาย ประกอบด้วย - การตรวจหู คอ จมูก - การตรวจปอด และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาการไอเรื้อรังในผู้ใหญ่ 3. การสืบค้นเพิ่มเติม ประกอบด้วย - การส่องกล้องตรวจทางเดินหายใจส่วนบน (upper airway endoscopy) โดยใช้ กล้องส่องชนิดแข็ง (telescope) หรืออ่อน (fiberoptic scope) - การถ่ายภาพรังสีจมูก ไซนัส และทรวงอก (plain x-ray of nose and paranasal sinus, chest x-ray, CT scans or magnetic resonance imaging (MRI) of sinus, high-resolution pulmonary CT) - Spirometry - Bronchoscopy - MBS - FEESST - Broncho provocation test - Allergy test - Sputum exam (เช่น หาว่ามีเชื้อวัณโรคหรือไม่) - Polysomnography 4. การลองรักษาเพื่อวินิจฉัยโรค (therapeutic diagnosis) เป็นการลองรักษาโรคที่อาจ เป็นสาเหตุของอาการไอเรื้อรัง แล้วดูว่าอาการไอนั้นดีขึ้นหรือไม่ ถ้าดีขึ้น อาจอนุมานได้ว่าผู้ป่วย น่าจะมีสาเหตุของอาการไอเรื้อรังเนื่องจากโรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การลองรักษา ต้องให้การรักษา เป็นระยะเวลาที่นานพอ ถึงจะบอกได้ และช่วยในการวินิจฉัย |
Anonymous