กระดานสุขภาพ
ยาคุมฉุกเฉิน | |
---|---|
20 พฤศจิกายน 2560 08:13:56 #1 อ่านเจอมาในกระทู้คะ มีหลายคนกินยาคุมฉุกเฉินแล้วท้อง ทั้งๆที่กินภายใน6ชมบ้าง8ชมบ้าง การกินยาคุมฉุกเฉินแล้วจะไม่ท้อง ประสิทธิภาพประมาณ 85% ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการกินและระยะของการตกไข่ คือถ้ากินยาคุมฉุกเฉินในช่วงทีไข่ยังไม่ตกก็จะปลอดภัยใช่มั้ยคะะ อยากทราบว่าทำไมกินยาคุมฉุกเฉิกแล้วยังท้องคะ |
|
อายุ: 21 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 43 กก. ส่วนสูง: 150ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.11 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
23 พฤศจิกายน 2560 12:06:11 #2 เรียน คุณ abf65, ก่อนตอบคำถามของคุณ ขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดชนิดฉุกเฉินว่าเป็นยาที่ใช้ต่อเมื่อไม่สามารถใช้การวางแผนคุมกำเนิดตามปกติได้ เช่น เมื่อถูกข่มขืน หรือถุงยางอนามัยฉีกขาด รั่วซึม* ซึ่งเกิดได้ยากมากๆ เนื่องจากเป็นเครื่องมือแพทย์ต้องมีการทดสอบประสิทธิภาพและความทนทานก่อนการวางจำหน่ายทุกล็อตการผลิต (จากการเลือกซื้อ - เล็กไปหรือใหญ่ไป / การเก็บรักษา - ไม่เก็บในที่ร้อน ชื้นหรือถูกกดทับเป็นเวลานาน / การเปิดซอง - ไม่ใช้ของมีคม เช่น มีด กรรไกร ฟันกัด / การสวมใส่ต้องสวมขณะอวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่ และบีบไล่อากาศตรงปลายกระเปาะเก็บอสุจิ เพื่อลดโอกาสที่ลมจะดันให้ถุงยางแตก เลือกใช้สารหล่อลื่นที่เป็นสูตรน้ำเท่านั้น ไม่ใช้ครีม โลชั่น วาสลีน เพราะจะทำให้ฉีกขาดได้ง่ายเมื่อมีการเสียดสี / การถอดออกต้องก่อนที่อวัยวะเพศชายจะอ่อนตัวลง และควรใช้กระดาษชำระพันรอบปลายโคนถุงยางอนามัยก่อนถอด) ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ไม่มีการนำมาใช้แทนยาคุมกำเนิดปกติ เนื่องจากอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง คือ 8-15 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับชนิดปกติ คือ น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ และ ปริมาณฮอร์โมนค่อนข้างสูง คือ 1500 ไมโครกรัม เทียบกับชนิดปกติ 50-75 ไมโครกรัม กลไกการออกฤทธิ์ หลัก ๆ คือ 3 ประการ คือ
การรับประทานยาที่ถูกต้อง ควรรับประทานยาทันทีหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไม่เกิน 48 ชั่่วโมง มีได้ 2 แบบ คือ 1. รับประทานยา 1 เม็ด หลังจากนั้นอีก 12 ชั่วโมงให้รับประทานยาเม็ดที่สอง
2. รับประทานยาพร้อมกัน 2 เม็ดทันที
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา - เวียนศีรษะ มึนงง คัดตึงเต้านม คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืด ประจำเดือนผิดปกติ (มาช้าหรือไม่มาตามปกติ) เลือดออกกะปริบกะปรอย ข้อควรระวังพิเศษ - ห้ามรับประทานยาเกินกว่า 2 ชุดต่อเดือน เนื่องจากเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการตกเลิอดในช่องท้อง เหตุจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก (จากกลไกที่ 2) หากคุณยังไม่ได้แต่งงาน และไม่ได้มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ การใช้ถุงยางอนามัยจะเหมาะสมมากกว่านะครับ เพราะนอกจากจะช่วยในการคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย เช่น หนองใน ซิฟิลิส แผลริมอ่อน พยาธิในช่องคลอด ไวรัสเริม ไวรัสตับอักเสบชนิด บี/ซี หรือโชคร้ายสุด คือ ไวรัสเอชไอวีที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ ที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด และยังช่วยป้องกันไวรัสเอชพีวี (HPV - human Papillomavirus) ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง หรือ หูดหงอนไก่ / มะเร็งองคชาติในเพศชาย กลับมาที่คำถามของคุณ ตามกลไกการออกฤทธิ์ หากไม่ได้เป็นช่วงที่มีไข่ตก อัตราเสี่ยงก็จะน้อยลงครับ แต่เนื่องจากแต่ละบุคคลมีการทำงานของร่างกายแตกต่างกัน มากบ้าง น้อยบ้าง ทำให้ไม่สามารถป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เช่น อาจมีไข่ตกมากกว่า 1 ฟองต่อเดือน หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีปฏิกิริยาระหว่างกัน "ยาตีกัน" จนทำให้ลดระดับยาคุมกำเนิดได้ หากต้องการวางแผนคุมกำเนิด แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป กรณีมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา สามารถสอบถามได้จากแพทย์หรือเภสัชกร ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจช้าไม่ทันการ เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์หรือเกิดอันตรายจากการใช้ยาไม่ถูกต้องได้
เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล
แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ การคุมกำเนิด (Contraception) แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill) แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา ยาที่ลดประสิทธิภาพยาคุมกำเนิด (Common medications that reduce efficacy of birth control medications) |
Anonymous