กระดานสุขภาพ
ยาคุมฉุกเฉิน | |
---|---|
9 พฤศจิกายน 2560 04:50:10 #1 ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินจะทำให้มีเลือดคล้ายประจำเดือนไหลออกมาหลังทานได้ประมาณ1สัปดาห์ อาการแบบนี้จะเป็นทุกคนไหมคะ และถ้าไม่มีเลือดดังกล่าวแสดงถึงการตั้งครรภ์ได้ไหมคะ |
|
อายุ: 20 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 42 กก. ส่วนสูง: 150ซม. ดัชนีมวลกาย : 18.67 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
12 พฤศจิกายน 2560 18:34:22 #2
ก่อนตอบคำถามของคุณ ขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนะครับ ในทางการแพทย์ จะใช้ยานี้ก็ต่อเมื่อ ไม่สามารถใช้การคุมกำเนิดได้ตามปกติ เช่น เมื่อถูกข่มขืน หรือถุงยางอนามัยมี การฉีกขาด รั่วซึม (ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ เพราะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด เนื่องจากนับเป็นเครื่องมือแพทย์ ส่วนที่เกิดฉีกขาด รั่วซึมขึ้นนั้น มักเกิดจาก
กลไกการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน คือ
วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง ควรรับประทานยาทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือช้าสุดไม่เกิน 48 ชั่วโมง เนื่องจากยิ่งทิ้งเวลานาน จะยิ่งเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ การรับประทานมี 2 แบบ คือ
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา : เวียนศีรษะ มึนงง คัดตึงเต้านม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด แน่นท้อง ประจำเดือนผิดปกติ (มาช้ากว่ากำหนดหรือไม่มา) เลือดออกกะปริบกะปรอย ข้อควรระวัง - ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแทนการคุมกำเนิดปกติ เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนเพศค่อนข้างสูง คือ 1500 ไมโครกรัม (เทียบกับชนิดปกติ คือ 50-75 ไมโครกรัม) และมีอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง คือ 8-15 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับชนิดปกติ คือ น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการตกเลือดในช่องท้อง เหตุจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก (จากกลไกการออกฤทธิ์ข้อ 2. ที่ทำให้ท่อนำไข่บีบตัวช้าลง) กลับมาที่คำถามของคุณ ส่วนใหญ่จะมีเลือดคล้ายประจำเดือนออกมา เนื่องจากเมื่อหมดฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศ จึงเกิดฉีกขาดหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก อาจจะมีมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่ละบุคคล ซึ่งบางครั้งอาจน้อยมากจนไม่ทันสังเกต เมือเวลาเข้าห้องน้ำ หรือขึ้นกับรูปแบบเดิมของการประจำเดือนว่ามาล่าช้าเกิน 28 วันหรือไม่ หรือเกิดจากภาวะเครียด ทั้งการงาน การเรียน การอดนอน การอดอาหาร ขาดสารอาหาร เป็นต้น หากเกิน 3 สัปดาห์หลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้ว ประจำเดือนยังคงไม่มาตามปกติ อาจใช้อุปกรณ์ตรวจการตั้งครรภ์เพื่อทดสอบว่าเกิดจากการตั้งครรภ์หรือไม่ หากไม่ใช่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล
แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill) แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา |
Anonymous