กระดานสุขภาพ
ยาคุมฉุกเฉิน | |
---|---|
14 มกราคม 2559 09:46:43 #1 บาคุมฉุกเฉินกิน แล้วกี่วันประจำเดือนจะมา |
|
อายุ: 20 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 54 กก. ส่วนสูง: 159ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.36 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
21 มกราคม 2559 12:56:59 #2 เรียน คุณ 548c1, ก่อนตอบคำถามของคุณ ขออนุญาตให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนะครับ ยาคุมกำเนิดชนิดฉุกเฉิน หรือเรียกสั้น ๆว่ายาคุมฉุกเฉินนั้น ประกอบด้วยตัวยา 750 ไมโครกรัมต่อเม็ด 1 กล่องมีตัวยา 2 เม็ด ข้อบ่งใช้ เมื่อไม่สามารถใช้วิธีการคุมกำเนิดตามปกติได้ เช่น เมื่อถูกข่มขืน หรือเมื่อถุงยางอนามัยฉีกขาด รั่วซึม* ข้อควรระวัง: ไม่ควรใช้แทนการคุมกำเนิดตามปกติ เนื่องจากตัวยาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับชนิดปกติ (2 เม็ด = 1500 ไมโครกรัม เทียบกับชนิดปกติ 50-75 ไมโครกรัม) และมีอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์สูงกว่าเมื่อเทียบกับชนิดปกติ คือ 8-15 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับปกติ น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ต้องระวังในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับบกพร่อง หรือโรคหลอดเลือด หัวใจและสมอง หรือหลอดเลือดอุดตันที่ขาอีกด้วย วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง มี 2 วิธี คือ 1. รับประทานยา 1 เม็ดภายใน 48-72 ชั่วโมงของการมีเพศสัมพันธ์ จากนั้นอีก 12 ชั่วโมง จึงรับประทานยาเม็ดที่สอง ข้อดี - อาการคลื่นไส้ อาเจียน ค่อนข้างน้อย และ หากมีเพศสัมพันธ์อีกหลังรับประทานยาเม็ดแรกยังไม่ถึง 12 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นอีก ข้อเสีย - มักลืมรับประทานยา เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ 2. รับประทานยาพร้อมกัน 2 เม็ด หลังจากมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ข้อดี - ป้องกันการลืมรับประทานยา ข้อเสีย - อาการคลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืดสูงกว่าวิธีแรก แพทย์มักให้ยาต้านอาเจียนก่อนหน้ารับประทานยาคุมฉุกเฉินนี้ หากมีเพศสัมพันธ์อีก หลังรับประทานยานี้ จะต้องใช้วิธีการสวมถุงยางอนามัยแทน ไม่แนะนำให้รับประทานยานี้ซ้ำอีก อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย - คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องอืด เลือดประจำเดือนมาผิดปกติ (มาช้า หรือมาปริมาณน้อย) กลับมาที่คำถามของคุณ ส่วนใหญ่ภายหลังรับประทานยา 5-7 วัน จะมีเลือดออกมาทางช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการฉีกขาดและหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก แต่ไม่ใช่เลือดประจำเดือนตามปกติ โดยประจำเดือนมักมาล่าช้าจากกำหนดเดิม 7-14 วัน แต่หากเกิน 3 สัปดาห์แล้ว ประจำเดือนยังไม่มาตามปกติ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่ หรือเกิดจากสาเหตุอื่น จากข้อมูลของบริษัทยา ไม่แนะนำให้รับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเกิน 2 กล่องต่อเดือน เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียชีวิตจากการตกเลือดภายในช่องท้อง แต่จากข้อมูลจากการศึกษาวิจัย พบว่าสตรีที่ได้รับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเกินกว่า 3 ครั้ง "ตลอดชีวิต" จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่ออวัยวะต่าง ๆ สูงกว่าสตรีที่ได้รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดปกติ หรือไม่เคยรับประทานยาคุมกำเนิดมาก่อนมากกว่าหลายเท่า ที่พบได้บ่อย คือ มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก/รังไข่ หรือมะเร็งตับ เป็นต้น จากข้อมูลส่วนบุคคล หากคุณยังไม่ได้แต่งงาน แนะนำให้ใช้วิธีการสวมถุงยางอนามัยจะปลอดภัยกว่านะครับ ซึ่งนอกจากจะช่วยคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย เช่น หนองใน ซิฟิลิส แผลริมอ่อน พยาธิในช่องคลอด ไวรัสตับอักเสบชนิดบี/ซี หรือโชคร้ายสุด คือ เอชไอวี ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ ที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด และยังช่วยป้องกันไวรัสเอชพีวี ที่เป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง และ หูดหงอนไก่ / มะเร็งองคชาติในเพศชายได้อีกด้วย นอกจากนี้คุณก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่มีความจำเป็นอีกด้วย เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill) แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา สูตินรีแพทย์ ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กามโรค (STD: Sexually transmitted disease) รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วรลักษณ์ สมบูรณ์พร สูตินรีแพทย์ |
Anonymous