กระดานสุขภาพ
ยาลดไขมัน ซิมวา สะเตติน | |
---|---|
15 ธันวาคม 2558 08:16:29 #1 เมื่อวันที่1ตุลาคม ไขมันสูง290หมอจ่ายยาซิมวามาให้ทานและนัดอีกครั้งวันที่22ธค.นี้ ทานยาไปได้2เดือนไปตรวจโรคอื่นกับหมออีกท่าน เจาะเลือดไขมันเหลือ158 หมอบอกหยุดยาได้แล้ว และก็หยุดยามาได้2สัปดาห์วันนี้ไปเจาะเลือดเองค่ะเพราะอยากรู้ ผลว่าไขมันขึ้นเป็น248 ไม่ทราบว่าทานซิมวาต่อได้ไหมคะ แล้ววันที่22ก็ไปพบหมอตามนัด |
|
อายุ: 51 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 50150 กก. ส่วนสูง: 150ซม. ดัชนีมวลกาย : 22288.89 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
17 ธันวาคม 2558 03:14:18 #2 ตอนนี้คงแก้ไขอะไรไม่ได้มาก เนื่องจากการสร้างหรือสะสมไขมันในเลือด ต้องใช้ระยะเวลา ดังนั้นการจะลดปริมาณก็ต้องใช้เวลาเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่ทางการแพทย์จะใช้ระยะเวลา 3 เดือน เป็นข้อกำหนดคร่าว ๆ เพื่อดูผลการรักษา ดังนั้ัน 1. แจ้งแพทย์ที่เป็นผู้สั่งใช้ยาลดไขมันในเลือดให้กับคุณว่า คุณไม่ได้กินยามาตลอด งดยาไปช่วงหนึ่ง และเพิ่งกลับมาเริ่มต้นรับประทานยาใหม่ 1 สัปดาห์ เพื่อให้แพทย์ทราบว่าผลการเจาะเลือดในครั้งนี้ ไม่สามารถประเมินผลการรักษาจากการใช้ยาลดไขมันได้ แพทย์จะได้ยังไม่ปรับเปลี่ยนขนาดยา 2. คุณไม่ได้ให้ข้อมูลมาว่ามีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากโรคอื่น ๆเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงต้องนำมาประเมินร่วมด้วยว่าระดับไขมันในเลือดควรจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์เท่าใด จึงจะลดอัตราเสี่ยงจากการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เหมาะสม เช่น หากมี 2 ปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย ระดับไขมันในเลือดตัวเลว (LDL) ควรจะมีค่าอยู่ในช่วงน้อยกว่า 130 mg/dL ดังนั้น หากคุณไม่ได้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาลดไขมันในเลือด ก็ไม่ควรหยุดยาหรือปรับเปลี่ยนขนาดยาเอง นอกจากไม่ส่งผลต่อการรักษาแล้ว ยังทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการตายหรือพิการจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย สรุป ช่วงนี้รับประทานยาในขนาดปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเอง เนื่องจากไม่ช่วยเร่งการลดไขมันในเลือดแล้ว ยังส่งผลเสียให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับยาขนาดสูงเกินไป อาจเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผิดปกติต่อการทำงานของไตได้ ร่วมกับการควบคุมอาหาร - เน้นผักสด ผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด เนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูง ก็เปลี่ยนเป็นไขมันในเลือดได้ - โปรตีนที่ดี ย่อยง่าย ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา (ถ้าเป็นปลาทะเลก็ยิ่งดี เพราะจะได้รับน้ำมันปลา ที่ช่วยในการลดไขมันในเลือดได้อีกส่วนหนึ่ง) เนื้อไก่ (ไม่เอาหนัง) - ลดอาหารจำพวกแป้งที่ผ่านการขัดสี ปรับเป็นข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต - ปรับสัดส่วนอาหารให้เป็น "หนัก-เช้า" "เบา-เที่ยง" "เลี่ยง-เย็น" "เว้น-ดึก" โดยหลัง 18.00 น. ไม่ควรรับประทานอาหารใด ๆอีก ยกเว้นว่าจะหิวจัด อาจรับประทานพวกผักต้ม หรือน้ำซุปใสได้บ้าง - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที และ 5 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี ไม่เกิดคราบตะกรันหรือไขมันสะสมบริเวณหลอดเลือด เสี่ยงต่อการแตกและไปอุดตันหลอดเลือดสมอง/หัวใจ เสี่ยงต่อการตายหรือพิการได้ ส่วนความหนัก-เบา ต้องสอบถามแพทย์ที่ทำการตรวจร่างกายคุณนะครับ - นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีการนำข้อมูลที่ได้รับระหว่างวัน ไปเรียบเรียงเก็บเป็นความจำในสมอง แต่มีข้อแม้ว่า ควรเข้านอนก่อน 23.00 น. เนื่องจากช่วงที่ร่างกายหลับสนิท เวลา เที่ยงคืน ถึง ตึสอง จะเป็นช่วงที่มีการเรียบเรียงความจำในสมอง ต่อมใต้สมองมีการหลั่ง Growth Hormone ที่เรียกว่าฮอร์โมนแห่งวัยเยาว์ ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ลดการทำลายคอลลาเจน แต่หากอดนอน หรือนอนดึกบ่อย ๆ จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะเครียด ต่อมหมวกไตจะมีการหลั่งฮอร์โมน Cortisol หรือฮอร์โมนแห่งความเครียดและการเอาชีวิตรอด จะปรับร่างกายให้เพียงแค่มีชีวิตรอด โดยจะเก็บเกลือเข้าสู่ร่างกาย แทนการกำจัดทิ้ง ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง น้ำตาล - เสี่ยงต่อเบาหวาน ไขมัน - โรคไขมันและหลอดเลือด, อ้วนลงพุง มีการสลายแคลเซียมจากกระดูก - โรคกระดูกบาง/พรุน นอกจากนี้ปัจจุบันยังพบว่า มีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง ทำให้เชื่อมประสานงานกันไม่ดี เสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อมหรือพาร์กินสันได้ เป็นกำลังใจให้นะครับ แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) : ตอน ไขมันในเลือดสูงควบคุมอย่างไร ตอนที่ 1 ซิมวาสแตติน (Simvastatin) |
Anonymous