กระดานสุขภาพ
ยาคุมฉุกเฉินหลังวันไข่ตก | |
---|---|
27 พฤศจิกายน 2557 10:17:18 #1 คุณหมอครับถ้าหากวันตกไข่วันที่15 แล้ววันที่16ทายยาคุมฉุกเฉินแบบนี้ยาคุมฉุกเฉินจะมีผลไหมครับ หรือถ้าวันไข่ตก16ทานยาคุมฉุกเฉินวันที่16แบบนี้ละครับ คือทั้ง2กรณีแบบนี้ยาคุมฉุกเฉินจะมีผลไหมครับ |
|
อายุ: 17 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 166ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.77 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
29 พฤศจิกายน 2557 14:24:10 #2 Dear Khun bukuz, ไม่ทราบวัตถุประสงค์ของการสอบถามครับ ใครเป็นผู้ใช้ยา ใช้ยาไปแล้วหรือยัง ดังนั้นขอแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน เพื่อประกอบการตัดสินใจครับ 1. ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน มีส่วนประกอบสำคัญ คือ levonorgestrel เม็ดละ 750 ไมโครกรัม ตัวยาเป็นฮอร์โมนเพศ ชนิดโปรเจสติน 2. ข้อบ่งใช้ เมื่อเกิดเหตุจำเป็นทางการแพทย์ เช่นถูกข่มขืน หรือเมื่อการคุมกำเนิดปกติผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยปริแตก หรือฉีกขาด. โอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์ 8-15% 3. กลไกการออกฤทธิ์ หลักๆ คือ _ เพิ่มความข้นเหนียวของมูกที่ปากมดลูก เพื่อลดโอกาสที่ตัวอสุจิจะผ่านเข้าไป _ ลดการบีบตัวของท่อนำไข่ ลดโอกาสที่ไข่จะเดินทางมาพบกับตัวอสุจิ _ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะสมที่ตัวอ่อน หากมีการผสมของไข่กับอสุจิ 4. วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง ต้องรับประทานยาหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ต้องไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยิ่งทิ้งช่วงเวลานาน โอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น หากเกิน 120 ชั่วโมง จะใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน 4.1 รับประทานยาเม็ดแรกทันที จากนั้นอีก 12 ชั่วโมงรับประทานยาเม็ดที่สอง ข้อดี คือ อาการข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ด้านคลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้องจะน้อยกว่าวิธีที่สอง. แต่ข้อเสีย อาจลืมรับประทานยา เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ 4.2 รับประทานยาพร้อมกันสองเม็ดทันที เพื่อป้องกันการลืมรับประทานยา แต่มักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดมวน แน่นท้องมากกว่าวิธีแรก 5. อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ที่พบบ่อย คือปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง ง่วงซึม ปวดมวน แน่นท้อง ท้องอืด เลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนมาล่าช้า 7-14 วัน 6. ข้อควรระวังจากบริษัทยา _ ห้ามใช้แทนยาคุมกำเนิดปกติ เนื่องจากโอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง ปริมาณฮอร์โมนสูงมากกว่าชนิดปกติหลายเท่า เปรียบเทียบ 1,500 ไมโครกรัม กับชนิดปกติ 50-75 ไมโครกรัม _ ห้ามใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเกิน 2 กล่องต่อเดือน เนื่องจากอาจเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งมักพบที่ท่อนำไข่ (จากกลไกที่สอง ที่ทำให้ท่อนำไข่บีบตัวน้อยลง) เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะตกเลือดในช่องท้อง เหตุจากท่อนำไข่ฉีกขาด แต่จากการศึกษาวิจัยย้อนหลังพบว่า สตรีที่ได้รับประทานยาคุมกำเนิดมากเกินกว่า 3 ครั้ง "ตลอดชีวิต" จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่ออวัยวะต่างๆสูงหลายเท่าเมื่อเทียบกับสตรีที่ไม่เคยได้รับยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมาก่อนหรือเคยได้รับแต่เพียงยาคุมกำเนิดปกติตัวอย่างเช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก/รังไข่ ตับ เป็นต้น สรุปคำตอบ คือ ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังไข่ตก ประสิทธิภาพยาก็จะใกล้เคียงกันครับ แต่จากข้อมูลส่วนบุคคล. แนะนำให้ใช้วิธีการสวมถุงยางอนามัย ซึ่งนอกจากจะช่วยคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย เช่น หนองใน ซิฟิลิส หนองในเทียม/แผลริมอ่อน เริม ไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี พยาธิในช่องคลอด หรือโชคร้ายสุด คือ เอชไอยราหรือเอดส์ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีทางรักษา นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไวรัสเอชพีวีซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งองคชาติในเพศชาย เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดีๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ |
Buku*****z