กระดานสุขภาพ

ไีพโบล่าร์ กับการกินยาตลอดชีวิต ใช่หรือไม่?
Tenz*****a

29 พฤษภาคม 2562 10:04:04 #1

รักษา ไพโบล่าร์มานานค่ะ เป็น 10ๆปีค่ะ อยากทราบว่า มันมีโอกาสรักษาหายขาด มั้ยค่ะ หรือต้องกินยาไปตลอดชีวิตค่ะ เคยหูแว่ว ค่ะ หมอให้กินยาตัวนึงค่ะ กินแล้วดีขึ้น อาการปกติ หมอให้เลือกว่า จะกินต่อ หรือ หยุดกินยา เราเลยตอบไปว่า กินต่อค่ะ เพราะเรากินดักไว้ก่อนที่มันจะกลับมามีอาการหูแว่วอีกค่ะ หูแว่ว ทรมานมากค่ะ มียาที่ ทานแล้วรักษาหายขาดมีมั้ยค่ะ
อายุ: 29 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 75 กก. ส่วนสูง: 156ซม. ดัชนีมวลกาย : 30.82 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

30 พฤษภาคม 2562 16:39:10 #2

เรียน คุณ Tenza,

คำถามของคุณตอบได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากขึ้นกับผลการตอบสนองและอาการของผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์จะพิจารณาปรับเปลี่ยนการรักษาไปตามผู้ป่วย

ที่ปัจจุบันมักเรียกว่า เวชศาสตร์สั่งตัด (Personalized medicine) ผู้ป่วย ก. ก็อาจจะตอบสนองต่อยาและการรักษา ไม่เหมือน ผู้ป่วย ข.

คงตอบได้ในเบื้องต้นว่า เป็นไปได้ 3 แนวทาง และนอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว ต้องมีการรักษาด้วยการทำจิตบำบัดร่วมด้วย

  • 1. อาการผู้ป่วยไม่สามารถลดขนาดหรือปรับเปลี่ยนยาได้ โดยหลังจากการรักษาด้วยยาแล้ว ประมาณ 6-12 เดือน แพทย์อาจพิจารณาปรับลดขนาดยา หรือปรับยาเป็นชนิดอื่น ๆ แต่หากผู้ป่วยยังมีอาการกำเริบเป็นระยะ ๆ ก็ต้องรักษาด้วยยาไปตลอด
  • 2. อาการผู้ป่วยดีขึ้น หลังจากปรับลดขนาดยา หรือปรับเปลี่ยนการรักษา แต่ยังคงมีอาการกำเริบเป็นระยะ ๆ จิตแพทย์อาจพิจารณาให้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะควบคุมอาการของโรคได้
  • 3. อาการผู้ป่วยดีขึ้น หลังจากค่อย ๆปรับลดขนาดยาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีอาการกลับมากำเริบซ้ำในเวลา 5-10 ปี แพทย์อาจพิจารณาให้ค่อย ๆลดขนาดยา จนไม่ต้องรับประทานยาในที่สุด

ตามที่แจ้งในเบื้องต้นว่านอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว ต้องมีการรักษาด้วยการทำจิตบำบัด ในทางต่างประเทศพบว่าการนั่งสมาธิ กำหนดจิต ให้ทราบถึงอาการ และปัจจัยเสี่ยง ไม่ให้กลับมากระทบจิตใจ จะช่วยลดอาการและความรุนแรงลงได้บางส่วน ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น ภาวะเครียด (การงาน การเรียน การนอนดึก การอดนอน การอดอาหาร ฯ) นอกจากนี้ไม่ควรซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆมาใช้เอง โดยที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เนื่องจากสารเคมีบางชนิดอาจกระตุ้นให้อาการกลับมากำเริบซ้ำได้อีก

หากมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา/ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆ สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรประจำสถานพยาบาลได้ทันที ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจขาดข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการพิจารณาแก้ปัญหาด้านยา หรือในบางครั้ง อาจช้าเกินไป ไม่ทันเวลา เสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา "ยาตีกัน" หรือการใช้ยาซ้ำซ้อนกัน จนเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่

  • อารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพล่า (Bipolar disorder)
  • นพ.ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล
  • จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
  • ยารักษาทางจิตเวช ยาจิตเวช (Psychotropics drugs)
  • ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
  • เภสัชกร