กระดานสุขภาพ
ประจำเดือนหรือผลข้างเคียงจากยาคุมฉุกเฉิน | |
---|---|
26 กันยายน 2560 13:04:11 #1 ปกติประจำเดือนดิฉันจะมาวันที่ 28 ของทุกเดือน แต่เดือนนี้ดิฉันกินยาคุมฉุกเฉินไปวันที่ 16 แล้ววันที่ 23 ก็มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน ดิฉันไม่แน่ใจว่าเลือดนั้นคือเลือดจากอะไร มีวิธีสังเกตไหมคะ |
|
อายุ: 26 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 56 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.88 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Anonymous |
26 กันยายน 2560 18:44:36 #2 ยาคุมฉุกเฉินคือฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนในขนาดสูง หลังทานยา ยาจะไปออกฤทธิ์ที่บริเวณผนังเยื่อบุโพรงมดลูกทำให้มีความไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อนและทำให้เกิดการลอกหลุดของผนังเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเป็นประจำเดือนหรือเป็นเลือดที่ออกผิดปกติทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม ไม่เสมอไปที่สตรีที่ทานยาทุกคนจะต้องมีเลือดออกผิดปกติบางรายก็อาจจะไม่มีเลือดออกมาก็ได้และอาจจะทำให้รอบเดือนถัดไปมีความคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน ดังนั้น จึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าถ้ารอบเดือนไม่มาหรือไม่มีเลือดออกผิดปกติใน 7 วันจะต้องมีการตั้งครรภ์ ในกรณีที่คุณทานยาอย่างถูกวิธีก็ขอยืนยันว่าไม่ควรตั้งครรภ์ ทั้งนี้ จะต้องไม่มีการใช้ยาคุมฉุกเฉินบ่อยครั้งเกินไปด้วย เช่น ใช้เกิน 1 หรือ 2 ครั้งต่อเดือน เพราะจะมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ โดยเฉพาะการตั้งครรภ์นอกมดลูก คุณสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติไม่มีข้อห้ามในการกินแต่อย่างใด ในกรณีที่เกิดอาการไม่สบายหลังจากทานยาคุมฉุกเฉินคุณสามารถรักษาร่างกายได้ตามปกติ เพราะไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพในการทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินลดลงไป ในกรณีที่คุณไม่มั่นใจเรื่องการตั้งครรภ์ก็สามารถตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ได้หลังจากมีเพศสัมพันครั้งสุดท้ายไปแล้วนาน 3 สัปดาห์หรือ 21 วันเพราะจะเป็นช่วงที่สามารถตรวจการตั้งครรภ์ได้แน่นอนที่สุดด้วยการตรวจปัสสาวะ โดยปกติแล้วอสุจิจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง 1 วันในช่องคลอดและไข่จะอยู่ได้ประมาณ 2 วัน หมอคิดว่าได้ตอบคำถามคุณหมดแล้วในเรื่องของการออกฤทธิ์ของยาคุมฉุกเฉิน และอายุของอสุจิและไข่ ถ้าคุณไม่เข้าใจก็ค่อยสอบถามมาใหม่ค่ะ อ่านได้ที่ http://haamor.com/webboard/ห้องเพศศึกษา/38577/ |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
3 ตุลาคม 2560 17:25:30 #3 เรียน คุณ de354,
ไม่แนะนำให้ใช้แทนการคุมกำเนิดปกติ เนื่องจากมีอัตราเสี่ียงในการตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง 8-25 เปอร์เซ็นต์ (เทียบกับชนิดปกติ น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์) และยังมีฮอร์โมนค่อนข้างสูง 1,500 ไมโครกรัม เทียบกับชนิดปกติ 50-75 ไมโครกรัม - กลไกการออกฤทธิ์ คือ 1. ทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียว เพื่อลดโอกาสที่ตัวอสุจิจะไปพบกับไข่ 2. ทำให้ท่อนำไข่บีบตัวช้ากว่าปกติ เพื่อลดโอกาสที่ไข่จะมาพบกับตัวอสุจิ 3. ทำให้เยื่อบุผนังมดลูกบางจนไม่เหมาะที่ตัวอ่อน (หากมีการผสมของไข่กับตัวอสุจิ) จะมาฝังและเจริญเป็นตัวอ่อนได้ - วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง มี 2 แบบ คือ 1. รับประทานยา 1 เม็ดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทันที หรือช้าสุดไม่เกิน 48 ชั่วโมง (ยิ่งทิ้งเวลานาน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์) และรับประทานยาอีก 1 เม็ด หลังจากเม็ดแรก ครบ 12 ชั่วโมง 2. รับประทานยาพร้อมกัน 2 เม็ดทันที หลังจากมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่ควรเกิน 48 ชั่วโมง ส่วนใหญ่หลังรับประทานยาประมาณ 5-7 วันจะมีเลือดจากการฉีกขาดของเยื่อบุโพรงมดลูกที่บางลง แต่ไม่ใช่เลือดประจำเดือนตามปกติ ส่วนใหญ่เลือดประจำเดือนจะมาล่าช้ากว่าเดิม 7-14 วัน - ข้อควรระวัง - ไม่ควรรับประทานยาเกินกว่า 2 กล่องต่อเดือน เนื่องจากกลไกที่ 2 อาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการฉีกขาดของท่อนำไข่/ปีกมดลูก จนตกเลือดได้ หากคุณยังไม่ได้แต่งงาน ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำ แนะนำให้ใช้การสวมถุงยางอนามัยจะสะดวกและปลอดภัยต่อตัวคุณและคู่นอนมากกว่านะครับ นอกจากจะช่วยในการคุมกำเนิดแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย เช่นหนองใน ซิฟิลิส แผลริมอ่อน (หนองในเทียม) พยาธิในช่องคลอด เริม ไวรัสตับอักเสบ บี/ซ๊ หรือโชคร้ายสุดคือไวรัสเอชไอวี ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด และยังช่วยป้องกันไวรัสเอชพีวี (HPV - Human Papillomavirus) ที่เป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง หรือในเพศชาย เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่ มะเร็งองคชาติได้อีกด้วย หากคุณแต่งงานแล้ว อาจใช้การรับประทานยาคุมกำเนิดปกติ หรือยาฉีดคุมกำเนิด หรือใส่ห่วงทองแดงคุมกำเนิด แล้วแต่ความสะดวก โดยปรึกษาสูติ-นรีแพทย์ก่อนตัดสินใจครับ แนะนำเพิ่มเติม หากมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา สามารถสอบถามได้จากแพทย์หรือเภสัชกรร้านยาใกล้บ้าน โดยปรึกษา "ก่อน" การใช้ยา ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจช้าไม่ทันการ เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์หรือเกิดอันตรายถึงชีวิตได้
เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ การคุมกำเนิด (Contraception) แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา สูตินรีแพทย์ ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill) แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา สูตินรีแพทย์ |
Anonymous