กระดานสุขภาพ
Amoksiklav กับ Dicloxa | |
---|---|
9 มกราคม 2560 02:31:10 #1 โดนแมวกัดเวลาไปรพ.ฉีดยาหมอจ่ายยา Amoksiklav ให้แต่เวลาไปร้านขายยาเภสัช Dicloxaให้มันเหมือนกันมั้ยคะ ตัวไหนดีกว่า เพราะทุกทีกิน Amoksiklavกะหายดีทุกครั้ง |
|
อายุ: 34 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 48 กก. ส่วนสูง: 150ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.33 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
8 กุมภาพันธ์ 2560 04:45:57 #2 ก่อนตอบคำถามของคุณ ขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวยา 2 ตัว พอสังเขปนะครับ คือ - Amoksiklav เป็นตัวอย่างชื่อการค้า ของยาสูตรผสม co-amoxiclav ที่ประกอบด้วย amoxycillin และตัวยาที่ยับยั้งเอนไซม์ของเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ทำลายยานี้ คือ clavulanic acid หรือ clavulanate เหมาะกับการติดเชื้อที่ค่อนข้างดื้อยา หรือใช้ยาต้านแบคทีเรียเบื้องต้นแล้ว ไม่หายขาด เช่น เพนิซิลลิน อะม็อกซี่ซิลลิน ฯ ไม่เหมาะกับการใช้กับการติดเชื้อโดยทั่วไป เนื่องจากสารที่ยับยั้งเอนไซม์ มีคุณสมบัติกระตุ้นให้เชื้อแบคทีเรีย เกิดการดื้อยาได้ง่ายและเร็วขึ้น ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องรับประทานยานี้ ต้องรับประทานยาให้ครบตามขนาดและจำนวนตามที่แพทย์สั่ง มิฉะนั้นจะกระตุ้นให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาได้ ยานี้เหมาะกับการติดเชื้อแบคทีเรียหลายอวัยวะ เช่น ตา หรือทางเดินหายใจ หรือในระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง จึงมีการนำไปใช้หลากหลาย เสี่ยงต่อการเกิดการดื้อยาได้ง่าย หากมีการซื้อมาใช้เอง โดยที่ไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร - dicloxacillin เหมาะกับเชื้อแบคทีเรียกรัมบวก Staphylococcus aureus ที่มักทำให้เกิดแผล ฝี หนอง ที่ผิวหนัง จึงมีการใช้ที่จำเพาะเจาะจงมากกว่า ข้อเสีย คือ ต้องรับประทานยาขณะท้องว่าง ก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง และต้องรับประทานวันละ 3-4 ครั้ง (แล้วแต่ความแรง หรือมิลลิกรัมของยา) ดังนั้นหากคุณไม่ได้มีการติดเชื้อที่อวัยวะอื่นใดร่วมด้วย การรับประทานยา dicloxacillin เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอและเหมาะสม แต่หากคุณมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่อื่น ๆร่วมด้วย เช่น คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบ การรับประทานยาสูตรผสม co-amoxiclav ก็อาจได้ประโยชน์มากกว่า โดยที่ไม่ต้องรับประทานยาต้านแบคทีเรียหลายชนิด หากมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรประจำร้านยาใกล้บ้านได้ ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ ซึ่งอาจช้าหรือไม่ทันการ เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ คลาวูลาเนท (Clavulanate) หรือ กรดคลาวูลานิก (Clavulanic acid) ยาไดคลอกซาซิลลิน (Dicloxacillin) |
Anonymous