กระดานสุขภาพ

สอบถาม
Nn_s*****n

24 กรกฎาคม 2559 01:35:03 #1

ขอสอบถามด้วยนะคะ พอดีไปเสริมจมูกมาแล้วหมอให้ทานยาclindamycin. แล้วฉันก็นอนเลย ไม่ได้รอเวลาตามที่ใบกำกับยาบอก. สักพักเริ่มมีอาการทัองไส้ปั่นป่วน กินอะไรลงไปอวกหมดเลย เลยสงสัยว่าเป็นอาการแพ้ยาหรืออาการผลข้างเคียงของยาคะ?? แล้วจะทานต่อดีไหม??
อายุ: 22 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 58 กก. ส่วนสูง: 159ซม. ดัชนีมวลกาย : 22.94 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

29 กรกฎาคม 2559 03:46:17 #2

ยาที่คุณสอบถามมานั้น เป็นยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดกว้าง (ครอบคลุมได้หลายเชื้อ)

แต่เนื่องจากคุณไม่ได้ให้ข้อมูลว่าขนาดยาที่ใช้เป็นเท่าใด มียาอื่นร่วมกันหรือไม่หรืออาจเป็นอาการข้างเคียงของยาช่วยสงบ หรือยาดมสลบก็เป็นได้ครับ จึงขออนุญาตให้ข้อมูลเฉพาะตัวยาที่สอบถามมาเท่านั้น

- วิธีการรับประทานยา ให้รับประทานครั้งละ 150-300 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง อาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมยา
แต่ควรรับประทานยานี้หลังอาหารทันที เพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาด้านอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด แน่นท้อง และควรดื่มน้ำตามมาก ๆ เพื่อป้องกันการติดของแคปซูลกับหลอดอาหาร และช่วยในการกำจัดยาออกทางปัสสาวะ

หลังจากรับประทานยาประมาณ 30 นาที ไม่ควรเอนตัวลงนอนทันที เนื่องจากอาจส่งผลให้แคปซูลยาลอยขึ้นมาติดที่หลอดอาหาร แล้วเกิดการระคายเคืองจากความเข้มข้นของยาได้ จึงควรอยู่ในท่าตรง (นั่ง/ยืน หรือเดิน)
หากปฏิบัติดังนี้แล้ว อาการข้างเคียงยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับเปลี่ยนยาปฏิชีวนะ ชนิดอื่น ๆต่อไป

การรับประทานยาทุกชนิดควรรับประทานร่วมกับน้ำเปล่าสะอาดเท่านั้น เนื่องจากเครื่องดื่มบางชนิดอาจทำให้ตัวยามีการละลายลดลง ตกตะกอน ร่างกายไม่สามารถดูดซึมยาได้ เช่น ชา (รวมถึงชาเขียว ชาแดง ชาไข่มุกฯ) กาแฟ โกโก้ นม (รวมถึงโยเกิร์ตชนิดพร้อมดื่ม) น้ำเต้าหู้ น้ำนมถั่วเหลือง น้ำอัดลม โซดา หรือกระทั่งน้ำแร่ (สำหรับยาบางชนิด เช่นยาปฏิชีวนะกลุ่มควิโนโลน หรือยาป้องกันกระดูกพรุน) ฯ หรือน้ำผลไม้บางชนิดอาจกระตุ้นให้ตับที่เป็นแหล่งในการกำจัดยา ผลิดเอนไซม์หรือน้ำย่อยเพิ่มขึน จึงกำจัดยาได้มากและเร็วขึ้น จนตัวยาอาจไม่ได้ผลในการรักษา หรือ อาจเกิดเป้นสารที่เป็นพิษได้เพิ่มขึ้น เช่น น้ำเกรปฟรุต (รวมถึงส้มโอ) น้ำส้มคั้น น้ำแอปเปิ้ล น้ำแครนเบอร์รี เป็นต้น

ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง ควรอ่านฉลากให้เข้าใจ หรือสามารถสอบถามได้จากเภสัชกรประจำสถานพยาบาลหรือร้านยาใกล้บ้าน ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจช้าไม่ทันการ หรือไม่ตรงกับข้อมูลยาอื่นที่มีใช้ร่วมกัน หรือโรคอื่น ๆที่เป็นอยู่

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่

ยาคลินดามัยซิน (Clindamycin)
เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร