กระดานสุขภาพ
กระเทียมสกัด กับยาลดไขมัน | |
---|---|
22 สิงหาคม 2558 04:10:40 #1 ผมเป็นคนมีไขมันสูงเฉลี่ย 250 ตอนนี้กินยาลดไขมัน Atorvastatin 20 mg. Sandoz มาเกือบปีแล้วครับ ผลไขมันลงเหลือ 160 น่าพอใจ แต่เกรงกลัวสารเคมีตกค้าง จึงอยากเลิก แล้วหันมากินกระเทียมโทนสกัด อยากทราบว่าสรรพคุณพอกันมั๊ยครับ ขอคำแนะนำด้วยครับ **ถ้ายังกินยาเดิมต่อ จะเป็นไขมันพอกตับมั๊ยครับ ****กระเทียมควรกินวันละกี่เม็ดครับ |
|
อายุ: 51 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 52 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.31 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
29 สิงหาคม 2558 13:36:11 #2 เรียน คุณ aun07, ขออภัยที่ตอบคำถามล่าช้านะครับ เนื่องจากต้องสืบค้นข้อมูลทางยาเพิ่มเติม จากข้อมูลที่ได้สืบค้น มีความหลากหลายในวิธีการสกัดสารสำคัญ และขนาดของสารสกัดที่ใช้เพื่อลดไขมัน เมื่อเปรียบเทียบกับสารเคมีที่ใช้ในการลดไขมัน ที่แพทย์มักเรียกสั้น ๆว่ากลุ่มสแตติน - หากมีความจำเป็น อาจใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อช่วยลดโคเลสเตอรอลได้ เนื่องจากหากต้องการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ควรมีปริมาณไขมันดี HDL > 40-45 และ ไขมันชนิดเลว LDL 100-120 ไม่แนะนำให้หยุดยา A... ทันที ก่อนเริ่มรับประทานผลิตภัณฑ์กระเทียมสกัด ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ เนื่องจากสารสกัดกระเทียม อาจส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงได้ และยังส่งผลให้เลือดไหลแล้วหยุดยากด้วย ดังนั้น ต้องพิจารณาว่ามีปฏิกิริยาระหว่างกันกับยาอื่นที่คุณใช้รักษาตัวด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดกระเทียม มีผลต่อการสร้างเอนไซม์ที่ใช้ในการกำจัดยาที่ตับด้วย จึงอาจลดระดับยา หรือเพิ่มระดับยาอื่น ๆ ส่วนขนาดน้้นมีหลากหลายมากครับ ตั้งแต่ 500 - 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน แตกต่างกันในวิธีการสกัด รูปแบบยา (เป็นผง เป็นน้ำมัน) - ส่วนตัวยา A.... ที่คุณกังวลนั้น มีการกำจัดยาที่ตับและขับออกทางไต หากภาวะการทำงานของตับหรือไตยังคงทำงานได้เป็นปกติ ไม่ต้องกังวลเรื่องการสะสมนะครับ ส่วนเรื่องไขมันพอกตับ ต้องขึ้นกับผลการตรวจร่างกายของคุณก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะไขมันในเลือดสูง หรือมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ปรึกษาแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาคุณจะทราบข้อมูลดีที่สุดครับ ขอแนะนำเพิ่มเติม การลดปริมาณไขมันในเลือดนั้น หากต้องการให้ยั่งยืนและไม่จำเป็นต้องรับประทานยามากโดยไม่มีความจำเป็น ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมสุขภาพ - ควบคุมอาหาร ปรับเปลี่ยนเป็นอาหารจำพวกปลา ไก่(ไม่เอาหนัง) เน้นการนึ่ง ต้ม อบ มากกว่าทอด เพิ่มผักสด ผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด พยายามเลือกใช้ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าวสกัด ฯ - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ อย่างน้อยวันละ 30 นาที - นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เข้านอนก่อนเวลา 23.00 น. เพื่อให้สมองมีการหลั่งฮอร์โมน ที่ชื่อ Growth Hormone ที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และลดการหลั่งฮอร์โมนเครียด คอร์ติซอลที่เป็นจำพวกสเตียรอยด์ทีมักทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ ความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลและไขมันในเลือดสูง เป็นต้น เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) แพทย์หญิง สลิล ศิริอุดมภาส วว. พยาธิวิทยากายวิภาค ไขมันพอกตับ (Fatty liver) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ข้อมูลอ้างอิง |
Aun0*****7 |
1 กันยายน 2558 03:05:33 #3
ขอบคุณมากครับ สำหรับคำแนะนำดี ๆ
|
Aun0*****7