กระดานสุขภาพ
สงสัยเรื่องยาคุมน่ะค่ะ | |
---|---|
2 สิงหาคม 2558 06:16:18 #1 สังเกตมาหลายครั้ง เห็นยาคุมแบบปกติมีหลายยี่ห้อ ทำไมมันถึงมีหลายยี่ห้อเหรอคะ เกี่ยวกับคุณภาพ ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดรึเปล่า |
|
อายุ: 18 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 45 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.58 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
4 สิงหาคม 2558 13:28:06 #2 เรียน คุณ bbd07, คำถามสั้น ๆแต่ตอบค่อนข้างยากนะครับ เปรียบคล้าย ๆกับข้าวราดแกงนะครับ เป็นประเภทข้าวเหมือนกัน แต่ต่างก็เหมาะสำหรับประเภทของผู้รับประทาน เช่น ยาคุมกำเนิดแบ่งได้ง่าย ๆเป็น 3 กลุ่ม 1. ชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว - เหมาะสำหรับผู้่ที่ไม่สามารถรับประทานยาคุมกำเนิดที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ เช่น หญิงตั้งครรภ์ หรือรับประทานยาแล้วมีอาการคัดตึงเต้านม ปวดท้องประจำเดือนมาก 2. ชนิดฮอร์โมนรวม - แตกต่างกันในเรื่องปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจน (15, 20 และ 30 ไมโครกรัม) ร่วมกับ ฮอร์โมนโปรเจสโตรเจน (desogestrel, levonorgestrel, drospirenone, chlormadione, cyproterone เป็นต้น) โดยแพทย์มักจะเลือกให้เหมาะกับลักษณะทางกายภาพและรูปแบบการมีประจำเดือน ยังมีแตกต่างในรายละเอียดอื่น ๆเช่น 21 หรือ 28 เม็ด (ชนิดมีตัวยา 21 เม็ด + เม็ดแป้ง 7 เม็ด หรือ 22 เม็ด + 6 เม็ด หรือ 24 + 4 เม็ด) หรือมีปริมาณฮอร์โมนเพศเท่ากันในแต่ละเม็ด กับชนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนเพศไล่ตามช่วงเวลา เป็น 2 ระยะ หรือ 3 ระยะ 2.1 ถ้ามีลักษณะรูปร่างอกเอวชัดเจน ผิวค่อนข้างแห้ง รูขุมขนค่อนข้างเล็ก เส้นขนบางหรือน้อย ประจำเดือนมาปริมาณค่อนข้างมาก (อาจต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยวันละหลายครั้ง) หรือมาหลายวัน เช่น 5-7 วัน มักมีอาการก่อนมีประจำเดือนร่วมด้วย (ปวดท้องน้อย ปวดศีรษะ คัดตึงเต้านม) เหล่านี้เข้าได้กับลักษณะผู้ที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเด่นชัด แพทย์มักจะเลือกยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณเอสโตรเจนค่อนข้างน้อย ร่วมกับ โปรเจสโตรเจนเด่น เพื่อปรับให้ฮอร์โมนในร่างกายเข้าสู่สมดุล 2.2 ถ้ามีลักษณะรูปร่างค่อนข้างตรง อกเอวไม่ค่อยชัดเจน ผิวค่อนข้างมัน รูขุมขนค่อนข้างกว้าง เป็นสิวง่าย ประจำเดือนมาปริมาณน้อย หรือจำนวนค่อนข้างน้อย ลักษณะเข้าได้กับผู้ที่มีปริมาณโปรเจสโตรเจนเด่นชัด แพทย์มักเลือกยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณเอสโตรเจนเด่นชัด เพื่อปรับให้ฮอร์โมนในร่างกายเข้าสู่สมดุล 3. ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน - ทางการแพทย์มีการนำไปใช้เฉพาะเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ไม่สามารถใช้ยาคุมกำเนิดตามปกติได้ เช่น เมื่อถูกข่มขืน หรือเมื่อถุงยางอนามัยฉีกขาด รั่วซึม (จากการใช้งานไม่ถูกต้อง เลือกผิดขนาด เก็บรักษาในที่ร้อน ถูกเล็บเวลาสวม สวมใส่โดยที่ไม่ได้บีบปลายกระเปาะเพื่อไล่อากาศออกก่อน หรือถอดขณะที่อวัยวะเพศอ่อนตัว อาจไหลซึมด้านข้างได้) ไม่นิยมนำมาใช้แทนยาคุมกำเนิดตามปกติ เนื่องจากมีปริมาณฮอร์โมนค่อนข้างสูง (1,500 ไมโครกรัม เทียบกับปกติ 50-75 ไมโครกรัม) และมีอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง (8-15 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับชนิดปกติ น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์) ยานี้มีข้อจำกัดคือ ห้ามใช้เกิน 2 กล่องต่อเดือน เนื่องจากเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการตกเลือดในช่องท้อง เหตุจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก และจากการศึกษาวิจัยพบว่าสตรีที่ได้รับยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมากเกินกว่า 3 ครั้ง ตลอดชีวิต มีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่ออวัยวะต่าง ๆสูงกว่า หญิงที่ได้รับยาคุมกำเนิดตามปกติ ที่พบได้่บ่อย เช่น มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก / รังไข่ หรือมะเร็งตับ เป็นต้น ยังไม่รวมชนิดฉีดฮอร์โมนเดี่ยว หรือฮอร์โมนผสม หรือชนิดห่วงทองแดงใส่ในช่องคลอด หรือยาฝังใต้ผิวหนัง หรือแผ่นแปะผิวหนังคุมกำเนิด และ ห่วงยาใส่ในช่องคลอด ซึ่งทั้งหมดนี้ได้มีการออกแบบตัวยาแต่ละตัวให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและระดับฮอร์โมนในร่างกาย หรือต่างกันในแต่ละสภาวะ เช่น หลังคลอด กำลังให้นมบุตร แพ้ฮอร์โมนบางชนิด หรือใช้เพื่อการรักษาโรคได้ด้วย เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ชอคโกแลตซิสต์ ผู้ที่มีอาการปวดก่อนประจำเดือนมาก หรือเพื่อปรับสภาพฮอร์โมนให้เข้าสู่สมดุล ส่วนประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันมาก ยกเว้นว่าเกิดจากการลืมรับประทานยา หรือ ไปใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ที่จะมีอัตราเสี่ยงในการตั้งครรภ์สูงกว่าชนิดปกติ เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill) แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา สูตินรีแพทย์ |
Anonymous